ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,411 ครั้ง
โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี

Advertisement

โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี

ไม่นานมานี้ กรมสุขภาพจิตได้ออกแถลงการณ์การเตือนผู้ปกครอง เรื่องการติดโทรศัพท์ในเด็กวัยรุ่น เมื่อเด็กหญิงวัย 12 ขวบ ชาวสเปนต้องเข้ารับการรักษาโรคติดโทรศัพท์ ชนิดขาดไม่ได้ จนผู้ปกครองทนไม่ไหวต้องนำตัวเข้าพบจิตแพทย์

เคสการติดเครื่องไม้เครื่องมือไฮเทคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะโทรศัทพ์มือถือเพียงอย่างเดียว การติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาการติดเทคโนโลยีมากเกินไป นำมาซึ่งคำถามว่าทำไมเครื่องไม้เครื่องมือชิ้นเล็กๆ เหล่านี้ มีอะไรดีถึงขนาดดึงดูดความสนใจของคนเราให้เล่นอินเทอร์เน็ต ชนิดที่วันไหนไม่ได้เปิดจะรู้สึกแปลกๆ

หรืออาการเหล่านี้จะคล้ายตอนเด็กๆ เคยติดตุ๊กตาหมีเน่ากับหมอนข้างวง (น้ำลาย) ชนิดห่างกายเป็นต้องลงไปชักดิ้นชักงอ อาการติดสิ่งของเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรจิตแพทย์น่าจะเป็นผู้ให้คำตอบได้เป็นอย่างดี

** รู้จักรีวอรด์เซ็นเตอร์

รีวอร์ดเซ็นเตอร์ หรือแปลตรงตัวว่า ศูนย์รางวัล ไม่ได้ตั้งอยู่ที่ มาบุญครอง พารากอน เซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต หรือจุดรับแลกของรางวัลตามศูนย์การค้า ทว่า รีวอร์ดเซ็นเตอร์ที่ว่าตั้งอยู่ในสมองคนเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อหลั่งสารสร้างความพึงพอใจของเราออกมา เป็นศูนย์กลางทำงานที่สำคัญมากในสมองตัวหนึ่ง ถึงขนาดเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเราได้เลยทีเดียว

"พื้นฐานความต้องการของมนุษย์ก็คือ ความต้องการเพื่อการอยู่รอด โดยมีรีวอร์ดเซ็นเตอร์เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานเพื่อหลั่งสารความสุขออกมา อย่างเช่นเราหิวข้าวก็ไปรับประทานอาหาร เราก็เกิดความพึงพอใจ เรามีเซ็กซ์เราก็พึงพอใจ ทีนี้เมื่อพัฒนาการดำรงชีวิตของมนุษย์พัฒนาขึ้นมาจนพร้อมทุกอย่าง เราก็ไปแสวงหาความพึงพอใจอย่างอื่นมาแทน เสาะหาอาหารอร่อยๆ หาเหล้า หาบุหรี่ สร้างความพึงพอใจรูปแบบใหม่เรื่อยๆ

สำหรับตัวเทคโนโลยีเองไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมต่างๆ ผมมองว่ายังไม่น่ากลัวเท่ากับสารเสพติด เช่น เหล้า และบุหรี่ สารเหล่านี้มีฤทธิ์เข้าไปทำลายสมองโดยตรง และมันสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ได้

มีการทดสอบในหนูทดลองถึงฤทธิ์ของสารเสพติด ด้วยการให้หนูเดินเข้าไปกดแป้น ทันทีที่กดแป้นตู้จะปล่อยสารเสพติดออกมาให้หนูรู้สึกมีความสุข คราวนี้มีตัวเลือกระหว่างอาหาร หนูตัวเมีย และแป้นปล่อยสารเสพติด คุณว่าหนูจะเลือกอะไร" รศ.นพ.เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายพร้อมปล่อยถามคำถามกลับมาให้เราลองคิดตรึตรองดูว่าถ้าเราเป็นหนูทดลอง เราจะเลือกอะไรระหว่างสารเสพติด อาหาร และหนูตัวเมีย?

** ความพึงใจที่ไม่เพียงพอ

ย้อนกลับมาที่ปัญหาอาการติดเทคโนโลยีกันต่อ โดยเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมการเสพติด ซึ่งเกี่ยวข้องกับรีวอร์ดเซ็นเตอร์ ที่ นพ.เดชา อธิบายให้เราฟังเอาไว้คร่าวๆ

"คุณว่าแกะดำในหมู่แกะดำ มันจะรู้ตัวว่าแปลกจากตัวอื่นไหม" "แล้วคุณว่าการดื่มเหล้าซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งหลังเลิกงานทุกเย็นเป็นเรื่องผิดปกติหรือเปล่า" คุณหมอเดชาถามอีก ถามเราด้วย 2 คำถาม นำมาซึ่งความสงสัยอีกแล้วว่า 2 คำถามนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต ติดคุยโทรศัพท์ หรือติดเหล้า

"2 คำถามนี้ก็เหมือนกับเด็กเล่นเกมในหมู่เด็กติดเกมนั้นเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับแกะดำในหมู่แกะดำ อีกาในฝูงอีกา เช่นกัน คนติดเหล้า บุหรี่ นั่งสูบ นั่งดื่มหลังเลิกงานก็เป็นเรื่องปกติของสังคมทั้งที่มันเป็นสารเสพติด แต่เป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมาย

ทั้ง 2 อย่างรีวอร์ดเซ็นเตอร์ ให้รางวัลความสุขเหมือนกัน ต่างกันตรงที่เกมไม่ได้ทำลายสมอง แต่สารเสพติดทำลายสมองโดยตรง และมีผลให้รีวอร์ดเซ็นเตอร์ เปลี่ยนพฤติกรรมให้ผิดไปจากความต้องการทางธรรมชาติ ดังนั้น คำตอบของหนูทดลอง คือเลือกที่จะกดแป้นเสพติด มากกว่าจะหันไปหาอาหาร และหนูตัวเมีย ซึ่งเป็นความต้องการอยู่รอดขั้นพื้นฐาน

เหมือนที่เราเคยได้ยินข่าวเด็กเล่นเกมจนไม่เป็นอันกินอันนอน เล่นกันจนตายคาเครื่อง ก็เพราะเกมมีสิ่งเร้าที่สร้างความพึ่งพอใจให้กับเด็กมากกว่าอาหาร และเมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เด็กก็จะรู้สึกเบื่อไม่สนุก ไม่มีความสุข ก็ต้องเพิ่มปริมาณการเล่นเพื่อสร้างความพึงพอใจเท่าเดิม นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กวัยรุ่นถึงต้องเล่นเกมเป็นเวลานานๆ หรือเพิ่มปริมาณการใช้งานให้มากขึ้นเพื่อให้รีวอร์ดเซ็นเตอร์สร้างความสุขให้เท่าเดิม" คุณหมอเดชา อธิบายสาเหตุการติดเทคโนโลยีรวมทั้งพฤติกรรมการติดชนิดอื่นๆ ให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

** ตัวคัดกรองทางสังคม

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีพฤติกรรมการติดมากเกินไป รวมทั้งเราในฐานะคนรอบข้างจะช่วยคนที่มีอาการติดเหล่านี้ได้อย่างไร นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า อาการติดเหล่านี้เรายังไม่เรียกว่าเป็นโรคเป็นเพียงพฤติกรรมการติดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแบ่งได้ 3 ระดับ อย่างแรกคือรับการติดที่ไม่เป็นการรบกวนคนอื่นหรือทำให้ตัวเองเดือดร้อน ระดับนี้ถือว่าเป็นระดับปกติที่สามารถแก้ไขได้ ระดับต่อมาคือระดับที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนอย่างติดการใช้โทรศัพท์ต้องโทร.หาคนโน้นทีคนนี้ที หรือใช้โทรศัพท์จนมีค่าใช้จ่ายเดือนเป็นหมื่นๆ โดยไม่จำเป็นทำให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อน ตรงนี้ต้องมีการพูดคุยหาทางป้องกันแก้ไข และระดับสุดท้ายก็คือระดับการติดจนไม่เป็นอันกินอันนอน ร่างกายทรุดโทรมสุขภาพย่ำแย่เป็นการทำร้ายตัวเอง หากถึงขั้นนี้ควรได้รับการรักษาในที่สุด

ในขณะที่ นพ.เดชา บอกว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการทางสังคมจะเป็นตัวช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กๆ ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ เช่น เด็กที่ติดเล่นอินเทอร์เน็ตจนผลการเรียนตกต่ำและซ้ำชั้น เขาจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้สอบผ่านเหมือนไม่ซ้ำชั้นให้อายเพื่อนๆ อย่างไรก็ตาม ช่วงที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ช่วงวัยรุ่น ช่วงวัยอยากรู้อยากลอง มีความคิดเป็นของตัวเองไม่ฟังเหตุผลใคร

ตรงจุดนี้พ่อแม่ต้องประคับประคองไปจนลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย อยู่ในสังคมคนทำงาน มีเรื่องความรับผิดชอบเข้ามาเป็นตัวกำหนดควบคุมพฤติกรรมของเขาอีกทีหนึ่ง โดยทั่วไปจาก 100 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่มีพฤติกรรมการติดเกม ติดคอมพิวเตอร์ 50 เปอร์เซ็นต์ จะหายเองโดยอัตโนมัติ โดยเส้นแบ่งทางสังคมระหว่างสังคมวัยเรียนกับวัยทำงาน สังคมคนทำงานเขาไม่ได้มานั่งเล่นอินเทอร์เน็ต เล่นเกมคอมพิวเตอร์กันเป็นกิจวัตร

หากคุณยังเล่นอยู่คุณก็จะดูแปลกแตกต่างไปจากคนอื่นก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งพฤติกรรมการติดจะค่อยๆ หายไปเอง จนถึงวัยที่เริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้น สำหรับสังคมไทยแล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 25 ปี ในขณะที่ต่างประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 19-21 ปี เพราะสังคมไทยจะเลี้ยงดูแบบฟูมฟัก

ดังนั้น เรามักจะไม่พบคนที่มีพฤติกรรมการติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต หรือติดโทรศัพท์มือถือในกลุ่มคนวัยทำงาน เพราะเมื่อเขาติดเล่น งานการก็ต้องเสียไปเขาก็ต้องกลับมาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรงนี้คือความรับผิดชอบที่มีในคนแต่ละวัย

เมื่อได้ยินอย่างนี้แล้วเราก็สบายใจได้ครับว่า อาการติดเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากนัก อย่างน้อยๆ ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับเด็กติดยาเสพติด ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายสมองและเลิกได้ยาก ซึ่งเห็นทีจะจริงอย่างที่เด็กๆ ชอบบอกว่า ติดเกมดีกว่าติดยา แต่คิดว่าติดเล่นกีฬาน่าจะดีที่สุดครับ









ที่มา http://www.posttoday.com/

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 11 พ.ค. 2552


โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี โรค(ทาง)จิตติดเทคโนโลยี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เพี่อนรัก...เพื่อนเรา

เพี่อนรัก...เพื่อนเรา


เปิดอ่าน 6,422 ครั้ง
รู้ไหม FAMILY ย่อมาจากอะไร

รู้ไหม FAMILY ย่อมาจากอะไร


เปิดอ่าน 6,433 ครั้ง
ขอบคุณฟ้าที่ให้เจอ ...

ขอบคุณฟ้าที่ให้เจอ ...


เปิดอ่าน 6,432 ครั้ง
จับคู่อาหาร ....สุขภาพดี

จับคู่อาหาร ....สุขภาพดี


เปิดอ่าน 6,419 ครั้ง
ไขรหัสลับ S.O.S.

ไขรหัสลับ S.O.S.


เปิดอ่าน 6,499 ครั้ง
สวย..สวย...สวย..ด้วยส้ม 1ผล..!!!

สวย..สวย...สวย..ด้วยส้ม 1ผล..!!!


เปิดอ่าน 6,437 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดูสบายตา อ่านแล้วสบายใจ (5)

ดูสบายตา อ่านแล้วสบายใจ (5)

เปิดอ่าน 6,425 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
บันทึกการไปดูงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนใต้
บันทึกการไปดูงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนใต้
เปิดอ่าน 6,428 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณรู้จักมะตูม....ดีพอหรือยังเอ่ย?...
คุณรู้จักมะตูม....ดีพอหรือยังเอ่ย?...
เปิดอ่าน 6,480 ☕ คลิกอ่านเลย

ขำ ขำ)ข้อคิดดีๆจากพี่โน้ตอุดม
ขำ ขำ)ข้อคิดดีๆจากพี่โน้ตอุดม
เปิดอ่าน 6,428 ☕ คลิกอ่านเลย

เมื่อนางเอกพบ..นางวรรณคดี
เมื่อนางเอกพบ..นางวรรณคดี
เปิดอ่าน 6,437 ☕ คลิกอ่านเลย

- - ->>กลับมาแล้ว!!!!!!!!!!!
- - ->>กลับมาแล้ว!!!!!!!!!!!
เปิดอ่าน 6,427 ☕ คลิกอ่านเลย

?26 มิถุนายน วันสุนทรภู่?26 เรื่องน่ารู้ของครู?ภู่สุนทร?
?26 มิถุนายน วันสุนทรภู่?26 เรื่องน่ารู้ของครู?ภู่สุนทร?
เปิดอ่าน 6,451 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ส่งเครื่องมือไปพิสูจน์หลักฐานว่ามนุษย์โลกเป็น ลูกหลานดาวอังคาร
ส่งเครื่องมือไปพิสูจน์หลักฐานว่ามนุษย์โลกเป็น ลูกหลานดาวอังคาร
เปิดอ่าน 25,161 ครั้ง

ภูมิปัญญา "การแพทย์แผนไทย" สู้ภัยร้อนจัดของประเทศ
ภูมิปัญญา "การแพทย์แผนไทย" สู้ภัยร้อนจัดของประเทศ
เปิดอ่าน 10,780 ครั้ง

ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา
เปิดอ่าน 15,691 ครั้ง

มหกรรม "ติว" สนองตัณหาใคร เด็กได้อะไร
มหกรรม "ติว" สนองตัณหาใคร เด็กได้อะไร
เปิดอ่าน 14,285 ครั้ง

บันไดเลื่อนตัวแรกของไทย
บันไดเลื่อนตัวแรกของไทย
เปิดอ่าน 14,947 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ