Advertisement
โรคเส้นเลือดขอด เป็น โรคของหลอดเลือดที่พบบ่อยที่สุด
คำว่า เส้นเลือดขอด หรือ Varicose vein นั้น หมายถึง การที่หลอดเลือดดำในบริเวณใต้ผิวหนังชั้นตื้น
(Superficial veins) มีการโต ขยายขนาด คดเคี้ยว ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าในขณะที่เรายืน
อุบัติการณ์ของโรค
โรคนี้ มักพบใน สตรี อุบัติการณ์ เพิ่มขึ้นตาม อายุ น้ำหนักตัว จำนวนบุตร
ความสัมพันธ์ กับ อาชีพที่ต้องยืนนั้น พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ ที่แน่นอน เช่น ยืนน้อย
อาจเป็นได้ ยืนมากๆ อาจเป็นน้อยกว่า อย่างไรก็ตามพบว่า การยืน หรือนั่งนานๆ ก็ มีส่วนที่ทำเกิด
สาเหตุ
ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุ แน่ชัดว่า สาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร มีสมมุติฐานมากมาย
สมมุติฐานที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ เกิดจากความผิดปกติ (Weakness) ของ ลิ้น(Valve)
และผนังหลอดเลือด ซึ่งลิ้นในหลอดเลือดดำนั้น เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ

หลอดเลือดดำ ปกติ
|
โดยปกติ ในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นภายในเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ
นั่นคือเมื่อเรายืน ลิ้นก็จะเป็นตัวป้องกันเลือดไหลย้อนลงมา ดังภาพซ้ายมือ
เมื่อมีความผิดปกติ ของ ลิ้นและ ผนังหลอดเลือด
เลือดไม่สามารถผ่านไปได้หมดทำให้เลือด
ไหลย้อนกลับทำให้ เกิด การขยายตัวของเส้นเลือด เกิดการเสื่อมของความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด
จนกลายเป็นเส้นเลือดขอดตามมา
หลอดเลือดดำผิดปกติ 
|

|
|
การรักษา
การรักษา แบ่งเป็น 2 อย่าง
1.การรักษาแบบ ประคับประคอง(Conservative treatment)
โดยทั่วไป จะใช้วิธีนี้ ซึ่งจะเน้นหนักไปทางการป้องกัน และรักษาตามอาการมากกว่า
ซึ่งสามารถทำได้โดย สวมถุงน่อง ชนิดพิเศษ ซึ่งจะมีความหนา และแน่น กว่าถุงน่องทั่วไป โดยทั่วไป
จะมี ความดัน อยู่ในช่วง 20-30 mmHg การสวมจะต้องสวมตั้งแต่ โคนขา ถึง ข้อเท้า สวมน้อยกว่านี้
เช่น เฉพาะตรงเส้นเลือด ไม่ได้ผล
2.การรักษาแบบเฉพาะ (Specific treatment)
ซึ่ง จะทำการรักษา แบบนี้ เมื่อ มีอาการมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น รวมทั้ง ในแง่ความสวยงาม
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเส้นเลือดขอด มีดังนี้
-เลือดออก
-มีแผลเรื้อรัง ไม่หาย
-มีผิวหนังอักเสบ
-มีภาวะเส้นเลือดอุดตัน
การรักษา แบบนี้ มี 2 อย่างคือ
1. การฉีดสาร Sclerosing เข้าไปในหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้ เส้นเลือดนั้น ฝ่อ แล้วยุบตัวไป
นิยมทำกันในเส้นเลือด ขนาดเล็กๆ ไม่ใหญ่มาก หรือ ใช้กับ เส้นเลือดที่หลงเหลือ หรือเป็นซ้ำ
หลังจากการผ่าตัด
ข้อดี คือ
-ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องนอน รพ.
ภาวะแทรกซ้อนจากการฉีด
-แพ้สารที่ฉีดได้
-อาจเกิด เส้นเลือดอุดตันได้
-มีผิวหนังอักเสบ ถ้ายาที่ฉีด
มีการซึมออกนอกเส้นเลือด
|

|
2. การผ่าตัด
เหมาะกับ หลอดเลือด เป็นยาวเกือบทั้งขา ขนาดใหญ่ ไม่สามารถฉีด Scerosing Agent ได้
ไม่ว่าจะรักษา ด้วยวิธีใด หลังจากนั้น ควรสวมถุงน่อง เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
สวมเวลาที่ต้องทำงาน ที่ยืน หรือเดิน
|
โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์
job http://www.thaiclinic.com/varicose.html
|
อาการ
-
อาจจะมีอาการปวดแบบไม่มีแบบแผนที่แน่ชัด(Non-specific),รู้สึกว่าขาหนักๆเป็นผล
มาจากการที่มีเลือดมา pool ที่ขา ทำให้เส้นเลือดที่ขาโป่งออก
-
อาการจะแย่ลง เมื่อยืน หรือ นั่งนานๆ จะดีขึ้นเมื่อยกขาสูงกว่าหัวใจ
-
ปกติ จะไม่มีบวม อาการบวมอาจเกิดจากมีความผิดปกติ ของหลอดเลือดชั้นลึกด้วย
-
อาการปวดกล้ามเนื้อเวลานอนมักไม่ค่อยมีถ้ามีอาจต้องสืบค้นเพิ่มเติมอาจมีเรื่อง ของหลอดเลือดแดงร่วมด้วยได้
วันที่ 19 ส.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) คลิกเลย👇👇
฿129https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 7,515 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,531 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,679 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,568 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,525 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,521 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,519 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,529 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,520 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,523 ครั้ง  เปิดอ่าน 9,415 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,518 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,523 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,537 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,525 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,517 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 7,517 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 7,539 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,523 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,530 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,525 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,511 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,504 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 25,671 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 57,291 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,099 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 33,996 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 83,022 ครั้ง |
|
|