ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โปรดระวัง....ก่อนจะคีบ ตะเกียบไม้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,518 ครั้ง
Advertisement

โปรดระวัง....ก่อนจะคีบ ตะเกียบไม้

Advertisement



      อุปกรณ์หนึ่งในการกินก๋วยเตี๋ยวที่จะขาดเสียไม่ได้เลยก็คือ “ตะเกียบ” โดยส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาขาย หรือใช้กันอยู่ทุกวันนี้ทำจากวัสดุหลัก 2 ชนิด ได้แก่

    1. พลาสติก เป็นการนำเอาพลาสติกมาทำให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตะเกียบไม้ มีหลายสี ทั้งสีอ่อนคล้ายงาช้าง สีชมพู จนถึงสี
แดง ตะเกียบพลาสติกที่มีสีไม่เหมาะที่จะใช้กับอาหารที่ร้อนมาก ๆ หรืออาหารที่เป็นกรด เพราะทำให้สีและองค์ประกอบของพลาสติกเสื่อมจนละลายออกปะปนกับอาหาร

    2. ไม้ที่นิยมนำมาใช้ทำตะเกียบคือ ไม้ไผ่และไม้โมกข์ เนื่องจากมีสีขาว เนื้อละเอียด ไม่ทำให้อาหารมี สี กลิ่น รส ผิดเพี้ยนไป ส่วนใหญ่ไม่นิยมเคลือบหรือทาสีใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีผู้ผลิตบางรายที่เคลือบตะเกียบด้วยสีน้ำมัน เช่น สีแดงสลับดำ จึงไม่เหมาะที่จะใช้คีบอาหารที่ยังร้อนอยู่ อาหารที่มีน้ำมันมาก รวมถึงอาหารที่เป็นกรด เพราะสีที่เคลือบไว้จะละลายลงไปในอาหาร ซึ่งสีที่ใช้เคลือบนี้มีสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว เจือปนอยู่ เมื่อใช้ไปนาน ๆ สีจะหลุดร่อนกะเทาะออกมาปนอยู่ในอาหารเข้าสู่ร่างกายของเรา จนเกิดการสะสมในร่างกายปริมาณมาก

     นอกจากนั้นแล้วผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ “ตะเกียบอนามัย” ชนิดใช้แล้วทิ้ง ฟังชื่อแล้วทำให้มั่นใจว่าจะได้ตะเกียบที่สะอาด ปลอดภัย แต่แท้จริงแล้วตะเกียบชนิดนี้เป็นที่สะสมของสารเคมีอันตรายหลายชนิด โดยเฉพาะ “สารฟอกขาว” ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้แช่ถั่วงอก ที่มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ เมื่อสารชนิดนี้ถูกน้ำร้อนหรือของที่มีอุณหภูมิสูงจะเปลี่ยนเป็นสารซัลฟูริก ชนิดเดียวกับที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ เมื่อเราใช้ตะเกียบที่มีสารฟอกขาว ในอาหารที่ร้อนจัด เช่น สุกี้ หม้อไฟ หมูกระทะ เป็นต้น จะทำให้สารดังกล่าวละลายออกมาจากตะเกียบปะปนในอาหาร

     ในรายที่แพ้ง่ายหรือเป็นโรคหอบหืดจะมีอาการแสดงทันทีที่ได้รับสารนี้เข้าไป ส่วนในคนที่ร่างกายแข็งแรงจะยังไม่แสดงอาการ แต่จะค่อย ๆ สะสมในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงมีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่มีภูมิต้านทาน หากได้รับสารสะสมนานเข้าอาจกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง 

   ตะเกียบใช้แล้วทิ้งกว่าจะถึงมือผู้บริโภค

      เรารู้หรือไม่ว่า ตะเกียบไม้ใช้แล้วทิ้งที่แสนจะสะดวกสบายนั้น มีกรรมวิธีการผลิตรวมถึงการขนส่ง ที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย เริ่มตั้งแต่วิธี การผลิตตะเกียบไม้จากท่อนไม้เล็ก ๆ ให้เป็นตะเกียบ แล้วผ่านการฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อตากให้แห้งแล้วจึงทำการขนส่งทางเรือข้ามน้ำ ข้ามทะเล (ในกรณีที่ผลิตจากต่างประเทศ) ไปส่งยังผู้ค้า ในระหว่างนี้ตะเกียบที่เก็บ ไว้อาจโดนทั้งหนูและแมลงสาบแทะ เมื่อถึงมือผู้ค้าแล้วจะนำมาห่อใหม่โดยไม่ได้ฆ่าเชื้อ เราจึงมีโอกาสได้รับทั้งเชื้อโรคและสารตกค้างที่ติดอยู่ในรูพรุนของเนื้อไม้ ไปจนถึงเวลาใช้ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการท้องเสียและหอบหืด

  

เพื่อความปลอดภัยเมื่อต้องใช้ตะเกียบ

      วิธีการที่ช่วยให้เราเลี่ยงจากพิษภัยของสารเคมีในตะเกียบ เมื่อต้องใช้ตะเกียบกินของร้อน ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการนำตะเกียบไปแช่ในน้ำร้อนก่อนประมาณ 3-4 นาที แล้วเทน้ำทิ้งไป จึงค่อยนำตะเกียบ มาใช้ แต่ในความเป็นจริงการแช่ตะเกียบตามร้านอาหาร หรือร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางค่อนข้างยุ่งยาก และคนขาย ไม่อยากทำให้ ทางที่ดีคือ เราอาจนำตะเกียบส่วนตัวไป ใช้เอง หรือทำความสะอาดตะเกียบให้เรียบร้อยก่อนนำมาใช้ จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ



   ข้อมูลน่ารู้

    • นักเรียนในญี่ปุ่นทดลองนำน้ำที่แช่ตะเกียบ 7 วัน และมีกลิ่นเหม็นมาเพาะถั่วเขียว ผลปรากฏว่า ถั่วเขียวโตช้ากว่าปกติ และหยุดโตเมื่อต้นสูงได้ประมาณ 5-6 เซนติเมตร และตายลงในที่สุด

    • จากการทดสอบควันที่ได้จากการเผาตะเกียบพบว่ามีฤทธิ์เป็นกรด

    • เฉพาะในไต้หวัน แต่ละปีมีการใช้ตะเกียบ กว่า 1,000 ล้านคู่ นั่นหมายความว่า ต้นไม้ 29 ล้านต้น ต้องถูกตัดโค่นลง

    • เมื่อรวมปริมาณการใช้ตะเกียบทั่วทั้งโลก ต้นไม้กี่ล้านต้นที่จะถูกตัดโค่นลงเพื่อนำมาทำตะเกียบ ?





ที่มา ... วิชาการดอทคอม

 

 

 

 

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 7254 วันที่ 30 ก.ย. 2552

HY300 โปรเจคเตอร์ 1080P 4K มินิโปรเจคเตอร์ Project Android 12.0 5G WIFI บลูทูธ รองรับการมิเรอร์หน้าจอ เชื่อมต่อกับมือถือ

฿940 - ฿2,699

https://s.shopee.co.th/3LCRC5o6j5?share_channel_code=6


โปรดระวัง....ก่อนจะคีบ ตะเกียบไม้ โปรดระวัง....ก่อนจะคีบตะเกียบไม้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ได้บุญ..โดยไม่เสียเงิน..

ได้บุญ..โดยไม่เสียเงิน..


เปิดอ่าน 7,509 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


เปิดอ่าน 7,506 ครั้ง
"สิว"  บอกอะไรมากกว่าที่คิด

"สิว" บอกอะไรมากกว่าที่คิด


เปิดอ่าน 7,510 ครั้ง
รักต้องห้าม

รักต้องห้าม


เปิดอ่าน 7,523 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

กระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best  Practice)

กระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

เปิดอ่าน 7,515 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วิธีป้องกันตัวที่ช่วยคนมามากแล้ว
วิธีป้องกันตัวที่ช่วยคนมามากแล้ว
เปิดอ่าน 7,520 ☕ คลิกอ่านเลย

ชวนเที่ยว..อุทยานแห่งชาติ...ผาแต้ม..
ชวนเที่ยว..อุทยานแห่งชาติ...ผาแต้ม..
เปิดอ่าน 7,549 ☕ คลิกอ่านเลย

พีซ-สิตมน สาวผู้กุมหัวใจหนุ่ม ติ๊ก-เจษฎาภรณ์
พีซ-สิตมน สาวผู้กุมหัวใจหนุ่ม ติ๊ก-เจษฎาภรณ์
เปิดอ่าน 7,514 ☕ คลิกอ่านเลย

คู่มือเตรียมสอบช่างฝีมือทหาร  วิชาภาษาไทย 1
คู่มือเตรียมสอบช่างฝีมือทหาร วิชาภาษาไทย 1
เปิดอ่าน 7,504 ☕ คลิกอ่านเลย

นมผึ้ง.....อาหารสมอง.....
นมผึ้ง.....อาหารสมอง.....
เปิดอ่าน 7,508 ☕ คลิกอ่านเลย

ความดีที่คุณครูมี
ความดีที่คุณครูมี
เปิดอ่าน 7,519 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
เปิดอ่าน 25,986 ครั้ง

การปลูกต้นชวนชม ไม้คลาสสิค
การปลูกต้นชวนชม ไม้คลาสสิค
เปิดอ่าน 150,861 ครั้ง

จิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย
เปิดอ่าน 43,788 ครั้ง

เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป
เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป
เปิดอ่าน 15,836 ครั้ง

ภูเขาไฟใต้น้ำปะทุ พ่นลาวา-ขี้เถ้า กลายเป็นเกาะเกิดใหม่ (มีคลิป)
ภูเขาไฟใต้น้ำปะทุ พ่นลาวา-ขี้เถ้า กลายเป็นเกาะเกิดใหม่ (มีคลิป)
เปิดอ่าน 1,729 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ