ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ศิลปะการเห่เรือ


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 34,407 ครั้ง
Advertisement

ศิลปะการเห่เรือ

Advertisement

ศิลปะการเห่เรือ โดย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ

เห่เรือ คือ ทำนองหนึ่งของการร้องหรือ ออกเสียงประกอบการให้จังหวะแก่ฝีพายในการพายเรือ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง ในการพายเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ช่วยผ่อนแรงในการพายเรือระยะทางไกลๆ ได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ของการเห่เรือ

การเห่เรือในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ การให้จังหวะแก่ฝีพายจำนวนมากในการพายเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคให้พร้อม- เพรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย สง่างาม และ เป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกศิลปวัฒนธรรม ของชาติที่เกี่ยวกับพระราชประเพณีดั้งเดิมในการใช้กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจของพระมหา-กษัตริย์ไทยให้คงอยู่สืบไป

การเห่เรือของคนไทยแต่โบราณน่าจะไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหรือศาสนาแต่ประการใด หากแต่เป็นไป เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือปลุกเร้าฝีพายให้มีกำลังฮึกเหิม ไม่เหน็ดเหนื่อยง่าย อันจะส่งผลให้เกิดพลังและกำลังใจในการ ยกกระบวนพยุหยาตราเพื่อออกไปทำการ รณรงค์สงครามป้องกันพระราชอาณาเขต ดังปรากฏหลักฐานในลิลิตยวนพ่าย ความว่า

นอกจากนั้น ยังปรากฏหลักฐานว่ามีการเห่เรือในกระบวนทางชลมารค เพื่อความสำราญส่วนพระองค์ของเชื้อพระวงศ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป ดังบทเห่เรือที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์ขึ้นสำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อตามเสด็จไปยังพระพุทธบาท สระบุรี บทเห่เรือบรรยายการโดยเสด็จออกจากกรุงศรีอยุธยาในตอนเช้าถึงท่าเจ้าสนุกในตอนเย็นพอดี


ประวัติความเป็นมาของการเห่เรือ

ต้นกำเนิดของการเห่เรือน่าจะมีที่มาได้เป็น ๒ ทาง ดังที่ปราชญ์โบราณได้กล่าวไว้ดังนี้ คือ

๑. เป็นกิจกรรมที่คนไทยคิดขึ้นเอง และน่าจะมีควบคู่มากับการใช้เรือยาวเป็นพาหนะ เมื่อต้องใช้กำลังคนจำนวนมากในการออกแรงพายเรือ จึงต้องมีจังหวะสัญญาณเพื่อให้ฝีพายพายไปพร้อมๆ กัน จะได้แรงส่งที่มากขึ้นด้วย


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในนิทานโบราณคดี นิทานที่ ๖ เรื่อง ขานยาว ความว่า “...แต่เห่เรือเป็นประเพณีของไทย มิใช่ได้มาจากอินเดีย แต่มีมาเก่าแก่มากเหมือนกัน ข้อนี้พึงเห็นได้ในบทช้าละวะเห่ เป็นภาษาไทยเก่ามาก คงมีบทเห่อื่นที่เก่าปานนั้นอีก แต่คนชั้นหลังมาชอบใช้บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร... บทเก่าก็เลยสูญไป เหลือแต่ ช้าละวะเห่...”

๒. เป็นกิจกรรมที่ไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เนื่องจากมีคำศัพท์หลายคำในพิธีการเห่เรือที่เป็นคำภาษาอื่น สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ในอธิบายตำนานเห่เรือ ความว่า

“เวลาพายเรือข้ามแม่น้ำคงคา มีต้น บทคนหนึ่งชักบทเป็นภาษาสันสกฤตขึ้นด้วยคำว่า “โอมรามะ” แล้วว่าอะไรต่อไปอีกแต่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ พอหมดบท ฝีพายทั้งลำก็รับเสียงดัง “เย่อว” พร้อมกัน...ได้ความดังนี้ จึงสันนิษฐานว่า เห่เรือหลวงนั้นเห็นจะเป็นมนตร์ในตำราไสยศาสตร์ ซึ่งพวกพราหมณ์พาเข้ามาแต่ดึกดำบรรพ์ เดิมก็คงจะเห่เป็นภาษาสันสกฤต แต่นานมาก็เลือนไปจึงกลายเป็น “เหยอวเย่อว” อย่างทุกวันนี้ แต่ยังเรียกในตำราว่า “สวะเห่” “ช้าละวะเห่” และ “มูลเห่” พอได้เค้าว่ามาแต่อินเดีย”

นอกจากนั้นแล้ว ประยูร พิศนาคะ (ป. อังศุละโยธิน) ก็ได้สันนิษฐานไว้ในทำนองเดียวกันว่า ชาติไทยคงได้รับแบบแผนการ เห่เรือมาจากอินเดีย โดยพวกพราหมณ์นำเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อครั้งโบราณ ดังนั้น ข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของการเห่เรือจึงอาจ เป็นได้ทั้ง ๒ ทาง กล่าวคือ ถ้าเป็นการพาย เรือเล่นก็เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย หากเป็นการพายเรือหลวงก็อาจใช้รูปแบบและพิธีกรรมมาจากอินเดียก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาต่อไปให้ลึกซึ้ง ประเพณีการเห่เรือของไทยแสดงความเก่าแก่สืบทอดมายาวนาน จนแสดงความเป็นไทยได้อย่างแจ่มชัด และสะท้อนภาพวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำ มีการติดต่อสัญจรทางน้ำ และสร้างความบันเทิงในขณะประกอบกิจกรรมทางน้ำเพื่อความพร้อมเพรียงและผ่อนคลายไปในเวลาเดียวกัน จนพัฒนากลายเป็นพิธีกรรมที่ขรึมขลังในปัจจุบัน

 

ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30


ศิลปะการเห่เรือ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เทศกาล ไหว้พระจันทร์

เทศกาล ไหว้พระจันทร์


เปิดอ่าน 18,431 ครั้ง
ประเพณีสงกรานต์ล้านนา

ประเพณีสงกรานต์ล้านนา


เปิดอ่าน 23,454 ครั้ง
ประวัติจังหวัดนครพนม

ประวัติจังหวัดนครพนม


เปิดอ่าน 17,290 ครั้ง
หนังตะลุง

หนังตะลุง


เปิดอ่าน 36,641 ครั้ง
ตำนานพระโกศ

ตำนานพระโกศ


เปิดอ่าน 21,400 ครั้ง
ASEAN

ASEAN


เปิดอ่าน 14,748 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เปิดอ่าน 105,154 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
เปิดอ่าน 21,887 ☕ คลิกอ่านเลย

ตำนานนางสงกรานต์
ตำนานนางสงกรานต์
เปิดอ่าน 31,236 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่ราชพัสดุ คืออะไร?
ที่ราชพัสดุ คืออะไร?
เปิดอ่าน 60,611 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย
แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย
เปิดอ่าน 25,435 ☕ คลิกอ่านเลย

พระศิวะ
พระศิวะ
เปิดอ่าน 19,982 ☕ คลิกอ่านเลย

ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
เปิดอ่าน 29,982 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก
เปิดอ่าน 54,544 ครั้ง

กล้วยป่า
กล้วยป่า
เปิดอ่าน 15,450 ครั้ง

คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้
คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้
เปิดอ่าน 35,096 ครั้ง

เห็ดนางนวล
เห็ดนางนวล
เปิดอ่าน 12,655 ครั้ง

ชื่นชม เด็กสระแก้ว สร้างชื่อเสียง คว้ารางวัลชนะเลิศคัดลายมือระดับประเทศ
ชื่นชม เด็กสระแก้ว สร้างชื่อเสียง คว้ารางวัลชนะเลิศคัดลายมือระดับประเทศ
เปิดอ่าน 37,111 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ