ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 พ.ย. 2551 เปิดอ่าน : 16,048 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
Advertisement

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (United States presidential election)

เข้าใจการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างง่ายๆ

          ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร แม้แต่ชาวอเมริกันเองบางคนก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน เมื่อถูกขอให้อธิบายระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเขา แต่ที่แน่ๆ ก็คือ คนทุกอาชีพ (ที่สุจริต) มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดี อาทิเช่น

          นายแบบ-เจอร์รัลด์ ฟอร์ด คนเก็บขยะ-ลินดอน จอห์นสัน นักธรณีวิทยา-เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ คนงานบนเรือเฟอร์รี-เจมส์ การ์ฟิลด์ นักสำรวจ-จอร์จ วอชิงตัน นักแสดง-โรนัลด์ เรแกน และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนา เช่น มิลเลิร์ด ฟิลมอร์ อับราฮัม ลินคอล์น ยูลิซิส เอส แกรนท์ เบนจามิน แฮริสันวอร์เรน ฮาร์ดิง แคลวิน คูลลิดจ์ แฮร์รี ทรูแมน และจิมมี คาร์เตอร์ ก็มีโอกาสเป็นประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี

          รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ต้องอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด (โรบินฮู้ดหรือผู้อพยพที่ได้สัญชาติอเมริกันภายหลัง เช่น ผู้ว่าฯ อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์นั้นหมดสิทธิ) อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่น้อยกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย ฯลฯ

ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี 3 วิธี คือ

          1) อาจได้จากวิธีการแบบ primary ซึ่งหมายถึง การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ

          2) แบบ caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น

          3) แบบ state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค

          จาก 1 ใน 3 วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือก จากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory

การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

          ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ "วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของปีที่มีการเลือกตั้ง" เป็นวันลงคะแนนเสียงสำหรับผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วในเขตเลือกตั้งของตน ซึ่งครั้งนี้ตรงกับวันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2551 โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็คือ มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสัญชาติอเมริกัน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ฯลฯ

ผลการเลือกตั้ง

          จะมี 2 แบบ เรียกว่า popular vote กับ electoral vote เพราะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมิใช่การเลือกตั้งโดยตรง แต่ประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของเขา (popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral vote) อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คนที่ได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตน ที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา

          ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ใช้คณะผู้เลือกตั้งนี้ คือ กติกาที่ว่า ผู้ชนะได้ไปทั้งหมด (winner-take-all) ซึ่งหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากจากประชาชนในมลรัฐ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด ดังนั้น มลรัฐที่มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมากๆ ก็จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัคร เช่น แคลิฟอร์เนีย (55) เท็กซัส (34) นิวยอร์ก (31) ฟลอริดา (27) เพนซิลวาเนีย (21) เป็นต้น

          ซึ่งก็มีหลายครั้งที่คนชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ก็อดเป็นประธานาธิบดี เช่น แอนดรู แจ็กสัน แพ้ต่อ จอห์น อดัมส์, แซมมวล ทิลเดน แพ้ต่อ รูเธอฟอร์ด เฮย์ กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์ แพ้ต่อ เบนจามิน แฮริสัน และล่าสุดก็คือ อัล กอร์ ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสันติภาพ ก็แพ้ต่อ จอร์จ บุช จนมีเรื่องมีราวไปถึงศาลสูง (supreme court) นั่นเอง

การรับตำแหน่ง

          การรับตำแหน่งของประธานาธิบดีคนใหม่ จะรับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป โดยประธานาธิบดีคนเก่าจะอยู่ในตำแหน่งจนถึงเที่ยงวันของวันที่ 20 มกราคม

การสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี

          ในกรณีที่ประธานาธิบดีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งไปแล้ว แต่ต่อมาถูกกล่าวโทษ (impeachment) หรือ ตาย ผู้ที่จะสืบตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีจนหมดสมัย โดยไม่ต้องเลือกตั้งใหม่ คือ รองประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ

          ที่กล่าวมาพอสังเขปนี้คงพอทำความเข้าใจในเบื้องต้นของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้บ้าง อย่างน้อยก็สามารถติดตามข่าวสารการเลือกตั้งได้อย่างมีรสชาติไปจนถึงปลายปีนี้นะครับ

 

ที่มา มองมุมใหม่ : ชำนาญ จันทร์เรือง  กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008january16p1.htm


TAGS ที่เกี่ยวข้อง >> การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา << คลิกอ่านเพิ่มเติม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทาน
เปิดอ่าน 15,094 ครั้ง
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านกลาง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านกลาง
เปิดอ่าน 112,523 ครั้ง
"บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย

"บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย
เปิดอ่าน 27,841 ครั้ง
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
เปิดอ่าน 13,804 ครั้ง
หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ
เปิดอ่าน 27,566 ครั้ง
แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย

แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย
เปิดอ่าน 22,121 ครั้ง
ที่ราชพัสดุ คืออะไร?

ที่ราชพัสดุ คืออะไร?
เปิดอ่าน 56,411 ครั้ง
ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารรักษาพระองค์

ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารรักษาพระองค์
เปิดอ่าน 34,217 ครั้ง
การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์

การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์
เปิดอ่าน 102,580 ครั้ง
วันจักรี วันแห่งการระลึกถึงราชวงศ์จักรี 6 เมษายนของทุกปี

วันจักรี วันแห่งการระลึกถึงราชวงศ์จักรี 6 เมษายนของทุกปี
เปิดอ่าน 19,909 ครั้ง
ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด
เปิดอ่าน 76,385 ครั้ง
พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ
เปิดอ่าน 29,019 ครั้ง
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน

รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
เปิดอ่าน 17,311 ครั้ง
เส้นทางสายไหม

เส้นทางสายไหม
เปิดอ่าน 21,240 ครั้ง
อริยสัจ 4

อริยสัจ 4
เปิดอ่าน 1,256,588 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
เปิดอ่าน 13,940 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มาตราวัด มาตราชั่ง กับมาตราเงินของสยาม
มาตราวัด มาตราชั่ง กับมาตราเงินของสยาม
เปิดอ่าน 23,332 ☕ คลิกอ่านเลย

วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม วันพ่อ
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม วันพ่อ
เปิดอ่าน 20,074 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติจังหวัดนครพนม
ประวัติจังหวัดนครพนม
เปิดอ่าน 15,128 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมต้องใส่ชุดดำไปงานศพ
ทำไมต้องใส่ชุดดำไปงานศพ
เปิดอ่าน 58,190 ☕ คลิกอ่านเลย

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก
10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เปิดอ่าน 228,995 ☕ คลิกอ่านเลย

รวม ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิริมงคลคนไทยทุกคน
รวม ส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวง อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิริมงคลคนไทยทุกคน
เปิดอ่าน 19,756 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ดีปลี
ดีปลี
เปิดอ่าน 16,605 ครั้ง

การอ่านแบบ  Skimming
การอ่านแบบ Skimming
เปิดอ่าน 60,778 ครั้ง

ไม่ฟัง ไม่ได้แล้ว "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ " ทำไมประเทศไทย เปลี่ยนไม่ทันโลก ?
ไม่ฟัง ไม่ได้แล้ว "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ " ทำไมประเทศไทย เปลี่ยนไม่ทันโลก ?
เปิดอ่าน 26,057 ครั้ง

แผนที่แสดงอัตราการ ขาด-เกิน ข้าราชการครู/พนักงานราชการ (ภาพจังหวัด)
แผนที่แสดงอัตราการ ขาด-เกิน ข้าราชการครู/พนักงานราชการ (ภาพจังหวัด)
เปิดอ่าน 54,029 ครั้ง

เลเซอร์รักแร้ IPL vs YAG เลือกยังไงให้เหมาะกับผิวและได้ผลดีในระยาว
เลเซอร์รักแร้ IPL vs YAG เลือกยังไงให้เหมาะกับผิวและได้ผลดีในระยาว
เปิดอ่าน 1,257 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ