Advertisement
❝ หนูทำความเสียหายแก่พืชผลได้ทุกชนิด สำหรับอ้อยหนูจะกัดทำลายอ้อยให้ได้รับความเสียหายเมื่ออ้อยมีอายุประมาณ 7 - 14 เดือน และจะกัดทำลายไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะพบร่องรอยของหนูบนต้นอ้อย ตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนถึงระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 45 เซนติเมตร โดยกัดเป็นรอยแหว่งตามปล้องเกือบตลอดทั้งท่อนอ้อย ❞
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกหากินในเวลากลางคืน ถ้าหากประชากรของหนูหนาแน่นมาก ก็อาจทำให้บางตัวออกหากินในเวลากลางวัน สิ่งที่ช่วยให้หนูสามารถออกหากินในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี คือ หนวด ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างใกล้จมูกทั้ง 2 ข้าง หนูจะใช้หนวดช่วยคลำทาง ดังนั้น หนูมักออกหากินตามทางเดินเสมอทำให้เกิดรอยทางเดิน นอกจากนี้หนูยังมีฟันหน้าที่คมและแข็งแรงใช้กัดแทะเมล็ดหรือเปลือกผลไม้ที่แข็งได้โดยง่าย และยังกัดแทะของแข็ง ๆ เช่น ไม้เพื่อลับฟันให้คมอยู่เสมอและทำให้ฟันแทะของมันไม่งอกยาวจนเกินไป หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว โดยปกติหนูจะโตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน ขึ้นไป เพศเมียตั้งท้องประมาณ 21 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว ในปีหนึ่ง ๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอก ซึ่งมีผู้คำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว อย่างไรก็ตามประชากรหนูก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากจนเกินไปเพราะปริมาณประชากรหนูจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ศัตรูธรรมชาติ อาหาร ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ ลักษณะการทำลาย หนูทำความเสียหายแก่พืชผลได้ทุกชนิด สำหรับอ้อยหนูจะกัดทำลายอ้อยให้ได้รับความเสียหายเมื่ออ้อยมีอายุประมาณ 7 - 14 เดือน และจะกัดทำลายไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะพบร่องรอยของหนูบนต้นอ้อย ตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนถึงระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 45 เซนติเมตร โดยกัดเป็นรอยแหว่งตามปล้องเกือบตลอดทั้งท่อนอ้อย หากหนูกัดที่โคนแหว่งมาก ๆ ต้นอ้อยจะล้มและแห้งตายในที่สุด รอยแห่งที่เกิดจากการกัดทำลายของหนูบนท่อนอ้อยเป็นแผลหากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อของอ้อย เช่น โรคลำต้นเน่าแดง ซึ่งอาจทำให้ต้นอ้อยแห้งและตายในที่สุด การป้องกันกำจัด 1. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของหนู โดยกำจัดวัชพืชหรือกองวัสดุเหลือใช้ เพื่อมิให้หนูใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือหลบกำ บังขณะออกหากินเวลากลางคืน 2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมหนู ได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ เช่น งูเห่า งูทางมะพร้าว งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์อื่นอีกหลายชนิดที่คอยจับหนูกินเป็นอาหาร เช่น พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก เป็นต้น 3. การใช้สารเคมีออกฤทธิ์ช้าระหว่างการปลูก เช่น โบรดิฟาคูม, โฟลคูมาเฟน, โบรมาดิโอโลน, ไดฟีทิอาโลน, คูมาเททราลิล ที่อยู่ในรูปเหยื่อพิษสำหร็จรูป ชนิดเป็นก้อน ทำการวางเหยื่อ 20 ก้อนต่อไร่ โดยวางเหยื่อพิษตามทางเดินของหนู หรือใส่ลงในรูหนูโดยตรง หรือวางตามแหล่งที่มีหนูระบาด อย่างไรก็ตามควรวางเหยื่อพิษในแนวป้องกันรอบ ๆ แปลงเพื่อป้องกันหนูเคลื่อนย้ายมาทำลายอาศัยของหนู เช่น รูหนู และรอยทางเดินของหนูด้วย
วันที่ 21 ส.ค. 2551
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) คลิกเลย👇👇
฿129https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 7,515 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,519 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,531 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,519 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,520 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,525 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,524 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,660 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,519 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,528 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,539 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,525 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,512 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,519 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,577 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,525 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 7,515 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 7,521 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,521 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,509 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,522 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,705 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,527 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 13,341 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 23,830 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 31,374 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 25,997 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,067 ครั้ง |
|
|