ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เคล็ดลับ.... ต่อต้านริ้วรอย


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,244 ครั้ง
เคล็ดลับ.... ต่อต้านริ้วรอย

Advertisement

เคล็ดลับ.... ต่อต้านริ้วรอย

คุณเคยรู้สึกแปลกใจบ้างไหมว่าเหตุใดผู้หญิงบางคนจึงมีประกายความงามโดดเด่น สะดุดตาคุณเหลือเกิน ทั้ง ๆ ที่เธอผู้นั้นก็ไม่ได้มีใบหน้าที่สวยสมบูรณ์แต่อย่างใด อันที่จริงแล้วคุณเองก็สามารถเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความงามโดดเด่นได้เช่นกัน เพียงเอาใจใส่และดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ

เคล็ดลับง่าย ๆ ของการมีผิวสวยใส ไร้ริ้วรอย คือ การรู้จักเลือกใช้ครีมบำรุงผิวอย่างเข้าใจ

เลือกใช้ครีมบำรุงผิวอย่างไรจึงจะดี
ครีมบำรุงผิวโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลัก คือ น้ำ น้ำมัน และสารอีมัลชั่น ซึ่งจะช่วยให้น้ำและน้ำมันเข้ากันเป็นเนื้อครีมอย่างที่เห็นโดยทั่วไป ครีมบำรุงผิวที่ดี เมื่อทาบนผิวหนังแล้ว เนื้อครีมควรจะเข้ากับผิวหนังได้ดี ไม่ทำให้รู้สึกเหนียวเหนอะหนะและเนื้อครีมควรกระจายได้ง่ายบนผิวหนัง ที่สำคัญต้องช่วยปกป้องผิวหนังได้นานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน องค์ประกอบของน้ำมันต้องซึมซาบได้ดี สามารถซึมลึกสู่ผิวหนังกำพร้าชั้นลึกลงไปได้ ปัจจุบันจึงมีการเลือกสรรชนิดของน้ำมันที่จะให้ประโยชน์ต่อผิวหนังมากกว่าการเป็นเพียงน้ำมันที่เป็นสารหล่อลื่นผิวหนังธรรมดา เช่น น้ำมันโจโจ้บา น้ำมันจากดอกทานตะวัน น้ำมันจากผลแตงกวา และอื่น ๆ น้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติเหล่านี้ อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ผิวหนัง นอกจากนี้ครีมบำรุงผิวที่ดีควรจะมีอาหารเสริมให้แก่ผิวหนังอีกด้วย วิตามินชนิดต่าง ๆ รวมถึงสมุนไพรที่ได้รับการวิจัย ค้นพบและรับรองว่าปลอดภัย เช่น วิตามินเอ, วิตามินอี, วิตามินซี, โคเอ็นไซม์ Q10 เป็นต้น

วิตามินเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ หรือสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. สารแอนตี้ออกซิแดนท์ชนิดเอนไซม์ (Enzymatic Anti-Oxidants) ปกป้องเซลล์ที่อยู่ภายในร่างกาย ได้แก่ ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (Super Oxide Dismutase - SOD) คาทาเลส (Catalase) กลูทาไทโอน เพอร์ออกซิเดส (Glutathione Peroxidases - GSHP) กลูทาไทโอน รีดักเทส (Glutathione Reductase) และกลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase - G-6-PD)

2. สารแอนตี้ออกซิแอนท์ที่ไม่ใช่เอนไซม์ (Non-Enzymatic Anti-Oxidants) มีโมเลกุลขนาดเล็ก ทำงานได้ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ แต่จะทำงานภายนอกเซลล์เป็นส่วนใหญ่ คือ ในเส้นเลือด และระหว่างชั้นเนื้อเยื่อ โดยแบ่งประเภทตามการละลายได้เป็น 2 ชนิด
2.1 ไฮโดรฟิลิก แอนตี้ออกซิแดนท์ (Hydrophilic Anti-Oxidants) คือ สารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในน้ำ เช่น กรดแอสคอร์บิกหรือวิตามินซี
2.2 ไลโพฟิลิก แอนตี้ออกซิแดนท์ (Lipophilic Anti-Oxidants) คือ สารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมัน ได้แก่ อัลฟ่า โตโกฟิรอล (Alpha Tocopherol) หรือวิตามินอี, เบต้าแคโรทีน (Beta Carotene), ยูบีควิโนน-ยูบีควินอล (Ubiquinone-Ubiquinol) และรีดิวส์ กลูทาไทโอน (Reduced Glutathione - GSHR)

ผิวชั้นนอก (Epidermis) มีปริมาณของสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากกว่าผิวชั้นใน (Dermis) หลายเท่า เนื่องจากเป็นส่วนที่ปกคลุมร่างกายชั้นนอกสุด จึงต้องมีระบบต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นปราการด่านแรกในการปกป้องผิวจากมลภาวะต่าง ๆ

คุณสมบัติสำคัญของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในอุดมคติที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นเพื่อนำมาใช้ผสมในครีมบำรุงผิวต่อต้านริ้วรอย คือ
1. มีหน้าที่สำคัญทางสรีรศาสตร์ต่อผิวหนัง
2. สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้หลายชนิด
3. หาง่าย ไม่เป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
4. ดูดซึมทางผิวหนังได้ดีในรูปของสารออกฤทธิ์
5. ผลิตภัณฑ์มีความคงตัว
6. ไม่เกิดการสันดาปกับออกซิเจนได้ง่าย ๆ ในบริเวณส่วนของผิวที่ต้องการการซ่อมแซมและปกป้อง

ส่วนผสมสำคัญในครีมบำรุงผิวและต่อต้านการเกิดริ้วรอย

วิตามินซี (Ascorbic Acid)
ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระและเป็นองค์ประกอบร่วมของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน เช่น เอนไซม์เฟอร์ริกและคิวปริกเมทัลเลี่ยนส์ (Ferric/Cupric Metalions Enzymes) ในขณะเดียวกันวิตามินซียังสามารถทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระได้หลายชนิด มีความเป็นพิษต่ำ และเป็นตัวดึงวิตามินอีมาจากโตโกฟิรอลแรดิคัลได้ แต่ข้อด้อยของวิตามินซี คือ ถูกทำลายได้อย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสง ความชื้น ออกซิเจน ความร้อน และด่าง

ร่างกายต้องการวิตามินซีประมาณวันละ 60 มก. ส่วนผู้หญิงมีครรภ์และผู้สูบบุหรี่ต้องการมากขึ้นเป็นประมาณวันละ 140 มก. อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยวและผักใบเขียว การรับประทานวิตามินซีค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากวิตามินซีละลายในน้ำได้ วิตามินซีที่รับประทานเข้าไปจะไปอยู่ในผิวชั้นนอกมากกว่าผิวชั้นในถึง 5 เท่า และมีผลในการช่วยลดปริมาณอนุมูลอิสระในผิว ช่วยสมานแผล ชะลอการร่วงโรยของผิว และป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง

วิตามินซีส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกรดแอล-แอสคอร์บิก (L-Ascorbic Acid) ได้แก่ แอสคอร์บิลพาลมิเทต และแอสคอร์บิลฟอสเฟต ซึ่งแอสคอร์บิลฟอสเฟตเป็นวิตามินซีที่ละลายน้ำได้ดีและคงตัวอยู่ได้นานถึง 6 เดือน จึงมีผู้นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด ส่วนแอสคอร์บิลพาลมิเทตนั้นละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน จึงใช้เป็นส่วนผสมในครีม โลชั่น และน้ำมัน ข้อดีของสารตัวนี้คือมีค่า pH หรือค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เป็นกลางจึงไม่ระคายเคืองต่อผิว

จากการทดสอบพบว่า การทาวิตามินซีบนผิวสามารถลดอาการบวมแดงหรืออาการไหม้จากแสงแดดได้ โดยหากผสมวิตามินอี ลงไปด้วยก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ได้ผลใกล้เคียงกับครีมกันแดดที่มีออกซิเบนโซนเป็นส่วนประกอบ และหากใช้วิตามินซี วิตามินอี และออกซิเบนโซน ร่วมกันก็จะสามารถป้องกันภาวะพิษจากแสงแดดได้เกือบ 100% อย่างไรก็ตาม วิตามินซีไม่สามารถป้องกันการหย่อนยานของผิวได้ รวมทั้งยังไม่มีผลการศึกษาและทดสอบกับคนจำนวนมาก เพื่อยืนยันว่าวิตามินซีมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดในเรื่องดังกล่าว

วิตามินอี (Alpha-Tocopherol)
วิตามินอีประกอบด้วยโทโคฟีโรลส์ (Tocopherols) และโทโคเทรียโนลส์ (Tocotrienols) ซึ่งพบในผัก น้ำมันพืช เมล็ดพืช ข้าวโพด ถั่ว แป้งสาลี เนยเทียม เนื้อสัตว์ และนม วิตามินอีเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์สำคัญในพลาสม่าและเม็ดเลือดแดงที่ช่วยปกป้องสารประกอบไขมัน (Lipid) ในเนื้อเยื่อเซลล์จากอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่า ผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า มีปริมาณวิตามินอีมากกว่าผิวหนังบริเวณแขนถึง 20 เท่า เนื่องจากต่อมไขมันคือช่องทางสำคัญในการนำวิตามินอีสู่ผิวหนัง วิตามินอีสามารถละลายได้ในไขมัน ทนความร้อนและความเป็นกรด-ด่างได้ดี แต่จะเสื่อมสภาพเมื่อสัมผัสกับแสงและออกซิเจน

ร่างกายสามารถรับวิตามินอีได้ถึงวันละ 3,000 มก. อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับผู้ที่มีอาการของความดันโลหิตและเบาหวาน ไม่ควรใช้ในขนาดสูงกว่า 4,000 มก. และพบว่ายาระบายและยาคุมกำเนิดมีฤทธิ์ต้านวิตามินอีด้วย วิตามินอีมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการรักษาความเยาว์วัยของผิว คือ ช่วยในเรื่องการสร้างตัวของเซลล์ใหม่ การทำงานของต่อมและฮอร์โมน รวมทั้งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป การขาดวิตามินอี ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเปราะ แตกง่าย และคอลลาเจนที่ผิวหนังลดลง จึงเกิดเป็นริ้วรอย และมีการสะสมของไขมันอย่างผิดปกติ

ผลการทดลองพบว่า วิตามินอี สามารถลดอาการไหม้จากแสงแดด ช่วยลดริ้วรอย และทำให้ผิวอ่อนนุ่มขึ้น ในการทดลองเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนัง การทาและการรับประทานวิตามินอีจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ ส่วนการรับประทานวิตามินเอและวิตามินอีอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถลดอัตราเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งขั้นพื้นฐานได้ถึง 70% และพบด้วยว่า การรับประทานวิตามินอีวันละ 400 มก. ในผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจะทำให้แผลหายเร็วกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอก แต่การทาวิตามินอีกลับไม่มีผลต่อความหนาและสภาพของแผลเป็น

วิตามินเอ (Retinol)
พบมากในพืชที่มีสีเขียวและเหลือง ไข่แดง เนย ตับ และน้ำมันตับปลา ร่างกายจะสะสมวิตามินเอไว้ในตับ วิตามินเอจะออกฤทธิ์เมื่อแปรสภาพเป็นกรดเรติโนอิก แต่จะเสื่อมสภาพจากแสง ออกซิเจน และค่า pH ที่เปลี่ยนแปลง สารธรรมชาติและอนุพันธ์สังเคราะห์จากวิตามินเอนั้นเรียกรวม ๆ ว่า เรตินอยด์ (Retinoids) เรตินอยด์ เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง อาทิ ช่วยควบคุมการเจริญเติบโต แยกความแตกต่างของเซลล์บุผิว ชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรค กระตุ้นการซ่อมแซมผิวหนังที่ถูกทำลายจากแสงแดด ช่วยยับยั้งกระบวนการสร้างเอนไซม์เมทาลโลโปรตีเนส (Metallo Proteinase Enzyme) ที่เป็นตัวการในการสลายคอลลาเจน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจนอีกด้วย การทาเรตินอยด์จะช่วยลดริ้วรอย ทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น กระ ฝ้า จางลง ลดจำนวนและขนาดของแอคตินิค เคราโตส (Actinic Keratoses)

เบต้าแคโรทีน (Beta Carotene)
สารตั้งต้นของวิตามินเอ ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระและปกป้องเนื้อเยื่อเซลล์จากอนุมูลอิสระไลพิดเพอร์ออกไซด์ (Lipid Peroxidation) พบมากในผักใบเขียว แครอท มันฝรั่งหวาน แคนตาลูป เนื้อสัตว์ เนย และเนยแข็ง และถูกดูดซึมสู่ร่างกายได้ดีเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมัน

ในการทดลองกับสัตว์พบว่า เบต้าแคโรทีน สามารถยับยั้งมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากแสงแดด แต่ประสิทธิภาพนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ในคน เราสามารถรับประทานเบต้าแคโรทีนได้ถึงวันละ 180 มก. โดยไม่เป็นอันตราย แต่หากรับประทานมากกว่า 30 มก. ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ผิวเป็นสีเหลืองได้

วิตามินบี 3 (Niacinamide)
วิตามินที่ละลายในน้ำ พบในเนื้อเยื่อ ทำหน้าที่เผาผลาญสารอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย มีคุณสมบัติในการสร้างคอลลาเจน เพิ่มอัตราการผลัดตัวของเซลล์ผิวเก่า และกระตุ้นการสร้างฟิแลกกริน (Filaggrin) และอินโวลูกริน (Involucrin) มีความคงตัวสูงเมื่อถูกแสง ออกซิเจน และความร้อน สามารถทำงานร่วมกับวิตามินอีได้ดี

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น และ โค คิวเท็น ยูบีควิโนน (Co-Enzyme Q10, Co Q10 Ubiquinone)
โคเอ็นไซม์ คิวเท็น เป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ที่มีอยู่ในเซลล์ของร่างกายตามธรรมชาติ ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อ 40 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็ได้มีการใช้โคเอ็นไซม์ คิวเท็นกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน พบมากในอวัยวะที่มีการเผาผลาญสูง ได้แก่ หัวใจ ไต และตับ หากขาดคิวเท็น เซลล์จะเสื่อมสภาพ เป็นผลให้ผิวพรรณทรุดโทรมและเกิดริ้วรอยก่อนวัย ส่วนยูบีควินอลซึ่งเป็นรูปลดทางเคมีของยูบีควิโนน มีคุณสมบัติเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ละลายในไขมันเพียงชนิดเดียวที่ร่างกายสร้างขึ้นมาได้เอง จะพบยูบีควินอลในบริเวณผิวหนังชั้นนอกมากกว่าผิวชั้นในถึง 10 เท่า

ในการทดสอบบนเซลล์ผิวหนังมนุษย์ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น สามารถป้องกันการสันดาปจากแสงยูวีเอ ช่วยชะลอความเสื่อมตามธรรมชาติ ให้เซลล์สร้างเส้นใยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ เพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรเนทที่ให้ความชุ่มชื้นในผิวชั้นใน ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ในเคราติโนไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผมและเล็บ มีความระคายเคืองต่ำแม้จะใช้ในปริมาณความเข้มข้นสูง สามารถใช้ในผิวบอบบาง แต่อาจมีอาการคันยิบ ๆ รอบจมูกเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องสำอางบางชนิด อย่างไรก็ตาม จากการทดลองกับหนู พบว่า โคเอ็นไซม์ คิวเท็น ไม่ได้ช่วยยืดอายุ และไม่มีผลต่อการสะสมตัวของกระสีที่เกิดจากไขมันในเนื้อเยื่อซึ่งพบในสิ่งมีชีวิตที่อายุมากแล้ว จากการทดลองทาโคเอ็นไซม์ คิวเท็น สังเคราะห์รอบดวงตาของอาสาสมัคร พบว่าสามารถลดรอยย่นรอบดวงตาได้ ในปัจจุบันมีการนำโคเอ็นไซม์ คิวเท็นมาใช้เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์เพื่อป้องกันและรักษาโรคหลายชนิด รวมทั้งชะลอความแก่

ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (Super Oxide Dismutase - SOD)
เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งในระบบป้องกันที่เป็นตัวทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาผลาญภายในของร่างกาย จากการทดลองพบว่า การเลี้ยงหนอนปกติด้วยสารสังเคราะห์ที่คล้ายกับซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส จะช่วยยืดอายุได้ถึง 44% และในหนอนที่แก่เร็วกว่าปกติจะช่วยยืดอายุได้ถึง 67%

สารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavanoids Compounds)
สามารถยับยั้งเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอนุมูลอิสระ เช่น แซนทีน ออกซิเดส (Xanthine Oxidase) และไลโปเปอร์ออกซิเดส (Lipo Peroxidase) นอกจากนี้ยังสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระและปกป้องการแตกตัวของดีเอ็นเอ (DNA) ได้ด้วย สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ รูติน (Rutin) พีโนจีนอล (Pynogenol) เควอเซติน (Quercetin) แคทเทชิน (Catechin) และแนรินกิน (Naringin) โดยที่สารรูตินและเควอเซติน มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีถึง 10 เท่า รูตินและกรดโคลโรเจนิก (Chlorogenic Acid - CGA) พบมากในใบยาสูบ ส่วนพีโนจีนอลหรือวิตามินพี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทนความร้อนได้ดี สกัดได้จากเปลือกสน (French Maritime Pine) และเมล็ดองุ่น

นอกจากวิตามินที่ผ่านการทดสอบมาอย่างมากมายแล้ว สมุนไพรไทย ๆ เช่น ว่านหางจระเข้ หรืออโลเวร่า ก็นับเป็นสมุนไพรหลักในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วไปว่ามีประโยชน์มหาศาลต่อผิวหนัง มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับวิตามินอีธรรมชาติ คือ ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ในผิวหนังชั้นลึกที่สุดของหนังกำพร้า มีผลทำให้ช่วยสมานแผล รวมถึงการใช้ทารักษาแผลน้ำร้อนลวก แผลเป็น ฯลฯ และมีการวิจัยพบว่า ส่วนผสมของวิตามินอี คือ ดีแอล-แอลฟ่า-โทโกเฟอรอล (DL-Alfa-Tocopharol) ร่วมกับอโลเวร่า ในครีมบำรุงผิวจะช่วยป้องกันผิวหนังจากดวงอาทิตย์ได้อีกด้วย

ควรใช้ครีมบำรุงผิวบ่อยแค่ไหน
การใช้ครีมบำรุงผิวควรใช้อย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุกครั้งที่อาบน้ำชำระร่างกาย เป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังแตกเป็นขุย บางคนผิวแห้งแตกเป็นขุยและมีอาการคันร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าหนาว มักจะเกิดการคันสาเหตุจากผิวหนังแห้งมากนั่นเอง การใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของวิตามินธรรมชาติและสารสกัดจากสมุนไพรก็จะช่วยเพิ่มประโยชน์และคุณค่าต่อผิวหนังมากยิ่งขึ้น

หากคุณรู้จักวิธีเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอดีแล้ว คราวนี้ตำแหน่งสาวงาม สวย สะดุดตา จะเป็นของคุณบ้างอย่างไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ ๆ...


 

 

ขอบคุณที่มา www.newunewlook.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=178790&Ntype=1

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 28 พ.ย. 2552


เคล็ดลับ.... ต่อต้านริ้วรอย เคล็ดลับ....ต่อต้านริ้วรอย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทำบุญ.....ให้ได้บุญ

ทำบุญ.....ให้ได้บุญ


เปิดอ่าน 6,249 ครั้ง
คำว่า "พอ"

คำว่า "พอ"


เปิดอ่าน 6,253 ครั้ง
ขอความคิดเห้นด้วยครับ

ขอความคิดเห้นด้วยครับ


เปิดอ่าน 6,253 ครั้ง
ธรรมะกับธรรมชาติ ...

ธรรมะกับธรรมชาติ ...


เปิดอ่าน 6,258 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

10  กฏทอง.....เพื่อความรักที่ยืนยาว

10 กฏทอง.....เพื่อความรักที่ยืนยาว

เปิดอ่าน 6,250 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำไมต้อง 2012
ทำไมต้อง 2012
เปิดอ่าน 6,250 ☕ คลิกอ่านเลย

+++@คำคมจากขงเบ้ง@+++(ตอน 2)
+++@คำคมจากขงเบ้ง@+++(ตอน 2)
เปิดอ่าน 6,271 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณรู้บ้างไหมว่า...ทำไมกระต่ายกินน้ำแล้วต้องตาย!!!
คุณรู้บ้างไหมว่า...ทำไมกระต่ายกินน้ำแล้วต้องตาย!!!
เปิดอ่าน 6,304 ☕ คลิกอ่านเลย

ทิพย์ทวน
ทิพย์ทวน
เปิดอ่าน 6,243 ☕ คลิกอ่านเลย

บทคัดยย่อ  รายงานการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  เรื่องการวัด  การชั่ง  การตวง
บทคัดยย่อ รายงานการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการวัด การชั่ง การตวง
เปิดอ่าน 6,244 ☕ คลิกอ่านเลย

การพัฒนานักเรียน
การพัฒนานักเรียน
เปิดอ่าน 6,248 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

‘คุณค่าของครู’ ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
‘คุณค่าของครู’ ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
เปิดอ่าน 49,605 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่รื้อรากความงมงาย
ปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่รื้อรากความงมงาย
เปิดอ่าน 11,856 ครั้ง

ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
เปิดอ่าน 26,410 ครั้ง

อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน
อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน
เปิดอ่าน 10,852 ครั้ง

ฉาวอีก! คลิปตำรวจไทย... "มาๆๆ ร้อยเดียวพอ"
ฉาวอีก! คลิปตำรวจไทย... "มาๆๆ ร้อยเดียวพอ"
เปิดอ่าน 11,760 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ