Advertisement
นาซา/เอพี - วอยเอเจอร์ 2 ใกล้พ้นขอบสุริยะ เผยการสำรวจครั้งใหม่บ่งชี้ระบบสุริยะไม่กลมสม่ำเสมอ ซึ่งดูเหมือนถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กระหว่างดวงดาว
การค้นพบครั้งนี้ตามมาหลังจาก "วอยเอเจอร์ 2" (Voyager 2) ยานสำรวจอวกาศไร้มนุษย์อายุ 30 ปีขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้ท่องไปในอวกาศและเข้าสู่ขอบของระบบสุริยะเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาตามหลังยานคู่แฝด "วอยเอเจอร์ 1" (Voyager 1) ซึ่งผ่านบริเวณดังกล่าวไปเมื่อปี 2547
เอดวาร์ด สโตน (Edward Stone) นักวิทยาศาสตร์ประจำปฏิบัติการวอยเอเจอร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียหรือคาลเทค (California Institute of Technology: Caltech) กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์สงสัยกันมานานว่าระบบสุริยะจะโค้งงอและไม่มีหลักฐานแน่ชัดจนกระทั่งได้หลักฐานล่าสุดจากวอยเอจเจอร์ 2 นี้
วอยเอจเจอร์ 2 ได้ผ่านกำแพงของระบบสุริยะที่เรียกว่า "เทอร์มิเนชันชอค" (termination shock) ซึ่งห่างจากจุดที่วอยเอเจอร์ 1 ผ่านประมาณ 1.5 พันล้านกิโลเมตร ซึ่งในบริเวณดังกล่าวนั้นอนุภาคที่มีประจุจากดวงอาทิตย์จะลดความเร็วอย่างปัจจุบันทันด่วนเท่าที่อนุภาคเหล่านั้นชนเข้ากับอนุภาคอื่นและสนามแม่เหล็กในก๊าซระหว่างดวงดาว นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าความไม่สม่ำเสมอนี้เกิดจากสนามแม่เหล็กที่ทำมุมกับระนาบของกาแลกซีทางช้างเผือก (Milky Way)
"สนามแม่เหล็กนี้กำลังรบกวนพื้นผิวทรงกลมอื่นๆ" สโตนกล่าวและแม้ว่าวอยเอเจอร์จะเป็นยานลำที่ 2 ซึ่งผ่านเทอร์มินัลชอค แต่กระนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงตื่นเต้นกับเหตุการ์ณสำคัญนี้ วอยเอเจอร์ 2 มีอุปกร์ณทำงานที่ต่างจากยานคู่แฝดซึ่งสามารถวัดความเร็วและอุณหภูมิของลมสุริยะได้
ยานวอยเอเจอร์ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการขับเคลื่อน โดยวอยเอเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปก่อนเมื่อวันที่ 20 ส.ค.2520 จากนั้นวอยเอเจอร์ 1 ถูกส่งตามขึ้นไปเมื่อวันที่ 5 ก.ย.2520 โดยยานลำหลังนั้นทำสถิติเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งเดินทางได้ไกลที่สุดด้วยความเร็วในการเดินทาง 16 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนยานอีกลำก็มีความเร็วใกล้เคียงกัน
ทั้งนี้ต้องใช้เวลาราวทศวรรษกว่าที่ยานทั้งสองจะผ่านชั้น "เฮลิโอพอส" (heliopause) ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของขอบเขตระบบสุริยะที่เรียกว่า "เอลิโอสเฟียร์" (heliopause) อันจะเป็นการเริ่มต้นการเดินทางระหว่างดวงดาวในห้วงอวกาศและสิ้นสุดการเดินทางในระบบสุริยะของเรา ปัจจุบันยานทั้งสองยังคงส่งสัญญาณกลับมายังโลกซึ่งรับสัญญาณโดยจานดีพสเปซเน็ตเวิร์ก (Deep Space Network) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 เมตรของนาซาในโกล์ดสโตน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ
|
ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงขอบระบบสุริยะในหน่วยดาราศาสตร์ (AU) ซึ่งคิดจากระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลกนับเป็น 1 หน่วยดาราศาสตร์มีค่าประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร โดยระยะทางที่วอยเอจเจอร์เดินทางออกไปนั้นมีค่าประมาณ 100 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์หรือประมาณ 100 หน่วยดาราศาสตร์ |
|
จานรับสัญญาณดีพสเปซเน็ตเวิร์ก |
ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000146882
เตาปิ้งย่างไม่ง้อไฟฟ้า Lucky Flame เตาย่างปิคนิค ใช้แก๊สกระป๋อง ตะแกรงสแตนเลส LF-90G ในราคา ฿1,029https://s.shopee.co.th/10n3MpBmWf?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 12,685 ครั้ง เปิดอ่าน 37,389 ครั้ง เปิดอ่าน 13,553 ครั้ง เปิดอ่าน 33,571 ครั้ง เปิดอ่าน 7,405 ครั้ง เปิดอ่าน 15,736 ครั้ง เปิดอ่าน 21,827 ครั้ง เปิดอ่าน 13,464 ครั้ง เปิดอ่าน 142,792 ครั้ง เปิดอ่าน 15,319 ครั้ง เปิดอ่าน 62,362 ครั้ง เปิดอ่าน 34,693 ครั้ง เปิดอ่าน 14,874 ครั้ง เปิดอ่าน 37,731 ครั้ง เปิดอ่าน 26,475 ครั้ง เปิดอ่าน 21,037 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 24,864 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 37,669 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,207 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,403 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,392 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 97,412 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,685 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,327 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,817 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,853 ครั้ง |
เปิดอ่าน 42,652 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,770 ครั้ง |
|
|