Advertisement
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย โดย ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
พระพุทธรูปสำคัญที่จัดเป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมือง ที่ควรกล่าวถึงมี ๒ องค์ คือ
|
|
หัวข้อ
๑. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ปัจจุบันประดิษฐานใน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน พระบรมมหาราชวัง
ประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกตปรากฏในตำนานของชาวล้านนา กล่าวว่าพระแก้วมรกตสร้างขึ้นในอินเดีย และได้อัญเชิญมายังเมืองนครศรีธรรมราช ละโว้ อยุธยา ชัยนาท สุโขทัย กำแพงเพชร จน กระทั่งมาถึงล้านนาตามลำดับ หลักฐานที่พบ และสามารถสืบค้นได้คือ ประวัติพระแก้ว-มรกตจากพงศาวดาร ซึ่งกล่าวว่า ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต ใน พ.ศ ๑๙๗๙ ตรงกับสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้ปกครองล้านนา โดยพบในเจดีย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งถูกฟ้าผ่าพังทลายลงมา
หลังจากที่ได้พบพระแก้วมรกตแล้ว ได้มีการอัญเชิญเพื่อจะนำมาประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ แต่ก็เกิดปาฏิหาริย์ จึงได้นำพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง จนมาถึงรัชกาลพระเจ้า- ติโลกราช ครั้นเมื่อสร้างวัดเจดีย์หลวงเสร็จแล้ว จึงโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจาก เมืองลำปาง มาประดิษฐานในจระนำซุ้มด้านทิศตะวันออกของเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระอุปราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง มาปกครองล้านนา เป็นเวลา ๒ ปี เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับไปครอง อาณาจักรล้านช้าง พร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังเมืองหลวงพระบาง และในภายหลังได้ย้ายมาประดิษฐานยังวัดพระแก้ว ในเมืองเวียงจันทน์ เป็นเวลานานกว่า ๒๐๐ ปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่ง กรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทน์ มายังกรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อย้ายราชธานีมายังกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นวัดสำคัญในเขตพระบรมมหาราชวัง
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานหน้ากระดาน เกลี้ยง ตามความจริงแล้ว เนื้อวัสดุนั้นไม่ใช่ มรกต แต่เป็นหินสีเขียว (หยก) ได้มีข้อสันนิษ-ฐานเกี่ยวกับการกำหนดอายุพระแก้วมรกตอยู่ ๒ ข้อ คือ ข้อแรก เชื่อว่าสร้างขึ้นในอินเดีย และได้อัญเชิญมายังเมืองต่างๆตามที่ปรากฏในตำนาน กับอีกข้อหนึ่งเชื่อว่า สร้างขึ้นในล้านนา ซึ่งความเป็นไปได้น่าจะสร้างขึ้นในล้านนามากกว่า เพราะการพบครั้งแรก รวมทั้งประวัติความเป็นมาล้วนแต่เกิดขึ้นในล้านนาทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีข้อสงสัยในขณะนั้นว่า รูปแบบของพระแก้วมรกตไม่เหมือนกับพระพุทธรูปกลุ่มใดๆในล้านนา
อย่างไรก็ตาม ได้พบหลักฐานสนับสนุนว่า พระแก้วมรกตน่าจะสร้างขึ้นในล้านนา และเป็นฝีมือช่างในแหล่งที่พบคือ แถบเมืองเชียงรายพะเยา กล่าวคือ ได้พบพระพุทธรูปหินทรายในสกุลช่างพะเยากลุ่มหนึ่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับพระแก้วมรกต ทั้งรูปแบบและวิธีการสร้าง รายละเอียดเกี่ยวกับอายุสมัยและรูป-แบบของพระแก้วมรกตนั้น เนื่องจากพระ-แก้วมรกตมีรูปแบบใกล้เคียงกับพระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรก แต่ก็มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยผสมแล้ว จึงเชื่อว่า พระแก้ว-มรกตเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะแรกที่รับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยในสมัยพระเจ้ากือนา ที่ได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา ใน พ.ศ. ๑๙๑๓ ดังนั้น ปีที่สร้าง พระแก้วมรกตจึงน่าจะอยู่ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๓ - ๑๙๗๙
ประกอบกับในตำนานที่กล่าวถึงพระ-แก้วมรกต ระบุว่า ได้มาปรากฏในล้านนาใน สมัยของท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นพระอนุชาของ พระเจ้ากือนา โดยพระองค์ได้เป็นผู้อัญเชิญพระ-แก้วมรกตจากเมืองกำแพงเพชรมาประดิษฐานยังเมืองเชียงราย จึงนับเป็นหลักฐานที่สัมพันธ์กับการแผ่อิทธิพลของสุโขทัยในล้านนาในช่วงระยะเวลานี้ พระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างพระพุทธรูปล้านนาระยะต่อๆมา โดยเฉพาะในกลุ่มพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาดังกล่าว ดังนั้น ระยะเวลาในการสร้างงานน่าจะมีความใกล้เคียงกันด้วยคือ อยู่ในราว ๆ ต้น - กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
[กลับหัวข้อหลัก]
|
|
๒. พระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ มีอยู่รวม ๓ องค์ที่มีชื่ออย่างเดียวกัน องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ส่วนองค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และองค์ที่ ๓ ประดิษฐานใน หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระพุทธสิหิงค์มีปรากฏอยู่ในตำนานของชาวล้านนา กล่าวว่า สร้างขึ้นในลังกาและได้อัญเชิญมายังนครศรีธรรมราช ละโว้ สุโขทัย อยุธยา ชัยนาท กำแพงเพชร ก่อนที่จะนำมายังล้านนา โดยท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย เป็นผู้ไปอัญเชิญมาจากเมืองกำแพงเพชร เมื่อราวๆต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
จากรูปแบบของพระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ องค์ที่พบ มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสกุลช่าง แตกต่างกัน และเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในแต่ละ ท้องถิ่น ดังนั้น ที่กล่าวว่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากลังกานั้น จึงเป็นเพียงตำนาน เมื่อแต่ละท้องถิ่นรับมา จึงได้มาสร้างพระ-พุทธรูปตามรูปแบบของตนเองขึ้น
- พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานใน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หรือศิลปะล้านนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย อายุราวๆพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวมาจรดพระนาภี
- พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาแบบที่เรียกว่า “เชียงแสน สิงห์หนึ่ง” อายุราวๆต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระเศียรเดิมถูกตัดไปแล้ว ปัจจุบันเป็นเศียรที่หล่อขึ้นใหม่ พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน
- พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระวรกายอวบอ้วนอย่างมาก นิยมเรียกว่าแบบ “ขนมต้ม” จัดเป็นสกุลช่างนครศรี-ธรรมราช มีอายุราวๆพุทธศตวรรษที่ ๒๒
ดูเพิ่มเติมเรื่อง การศาสนา เล่ม 5 ประติมากรรม เล่ม 14 พระไตรปิฎกและการชำระพระไตรปิฎก เล่ม 16 ศาสนาและระบบความเชื่อในประเทศไทย เล่ม 20 และวัดไทย เล่ม 28
|
เสื้อสวย คุณภาพดี ใส่แล้วสวยทันทีสำหรับสุภาพสตรีเลยล่ะ ลองดู Bella🌼เสื้อยืดผู้หญิง คอกลมแขนสั้น สีทึบ แฟชั่น ในราคา ฿40 - ฿47 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/7AMf4lLRRD?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 8,633 ครั้ง เปิดอ่าน 15,256 ครั้ง เปิดอ่าน 30,574 ครั้ง เปิดอ่าน 89,033 ครั้ง เปิดอ่าน 18,821 ครั้ง เปิดอ่าน 42,988 ครั้ง เปิดอ่าน 16,271 ครั้ง เปิดอ่าน 20,919 ครั้ง เปิดอ่าน 24,910 ครั้ง เปิดอ่าน 23,825 ครั้ง เปิดอ่าน 27,248 ครั้ง เปิดอ่าน 30,404 ครั้ง เปิดอ่าน 49,127 ครั้ง เปิดอ่าน 24,774 ครั้ง เปิดอ่าน 21,719 ครั้ง เปิดอ่าน 37,311 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 89,033 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,761 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,574 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,719 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,967 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,313 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,023 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 79,234 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,645 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,331 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,732 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,781 ครั้ง |
|
|