Advertisement
อย. เตือนอย่าหลงเชื่อน้ำว่านหางจระเข้รักษาอีโบล่าได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
อย. เตือน อย่าหลงเชื่อน้ำว่านหางจระเข้ที่โฆษณาแพร่ทางโลกออนไลน์ว่ารักษาอีโบลาได้ พร้อมรุดตรวจสอบ เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยแล้ว
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์น้ำว่านหางจระเข้ S VERA ทางสื่อออนไลน์ ว่ามีการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถใช้รักษาอาการโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอีโบลาได้นั้น
สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผลิตภัณฑ์น้ำว่านหางจระเข้ S VERA มาขออนุญาตกับ อย.ในลักษณะเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ผลิตโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอก อโล ตั้งอยู่เลขที่ 23/1 หมู่ 7 ถนนมาลัยแมน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จัดจำหน่ายโดย บริษัท ซัคเซส เมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 10/1-2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ อย. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม จึงได้ตรวจสอบทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ว่าเป็นการโฆษณาโดยสมาชิกขายตรง ทางบริษัทฯ ไม่ทราบเรื่องแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ น้ำว่านหางจระเข้ S VERA ส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยตามประกาศฯ เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย และยาสเตรอยด์ที่อาจมีการลักลอบใส่ต่อไป
เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า น้ำว่านหางจระเข้ในเบื้องต้นเมื่อดูจากสูตรส่วนประกอบแล้ว และจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารไม่สามารถรักษาโรคได้ หากมีผู้หลงเชื่อซื้อมาบริโภคโดยหวังผลการรักษาโรคอาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาโรค จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาโดยทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความส่งต่อ ๆ กัน ซึ่งอาจทำให้หลงเชื่อและเข้าใจผิดว่าน้ำว่านหางจระเข้จะรักษาโรคอีโบลาได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวใดรักษาโรคดังกล่าวได้ เพียงอยู่ในขั้นของการทดลองเท่านั้น หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Advertisement
 เปิดอ่าน 12,257 ครั้ง  เปิดอ่าน 9,764 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,821 ครั้ง  เปิดอ่าน 9,433 ครั้ง  เปิดอ่าน 2,123 ครั้ง  เปิดอ่าน 26,811 ครั้ง  เปิดอ่าน 11,513 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,064 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,031 ครั้ง  เปิดอ่าน 17,301 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,951 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,285 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,999 ครั้ง  เปิดอ่าน 3,334 ครั้ง  เปิดอ่าน 10,658 ครั้ง  เปิดอ่าน 2,135 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 23,963 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 9,699 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,953 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,641 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 23,466 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,431 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 4,548 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 6,584 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,313 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,790 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 22,611 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,280 ครั้ง |
|
|