ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
ว่าด้วยการเรียนและการสอบ คอลัมน์ ฝ่ากำแพงเมืองจีน
บทความการศึกษา 1 พ.ค. 2559 เปิดอ่าน : 6,645 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

ว่าด้วยการเรียนและการสอบ คอลัมน์ ฝ่ากำแพงเมืองจีน
Advertisement

ฝ่ากำแพงเมืองจีน
ว่าด้วยการเรียนและการสอบ

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับชีวิตเด็กจีน ในวันสอบนั้นกำหนดพร้อมกันทั่วประเทศ และบรรดาคนในประเทศก็จะงดการใช้เสียง หลีกเลี่ยงการจราจรในระหว่างวันนั้น

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอยผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กมัธยมไทย ที่ได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างมากจนผู้ใหญ่ในรุ่นปัจจุบันแทบจะตามไม่ทัน การสอบในปัจจุบันที่เด็กนักเรียนจะไล่สอบกันหลายรอบหลายแห่งตลอดทั้งปี ต่างกับคนรุ่นเก่าๆ ที่ปีหนึ่งมีสอบเพียงครั้งเดียวรอบเดียว วัดดวงวัดความสามารถกันไปเลย ถ้าได้ก็ดี ไม่ได้รอใหม่อีกปี ซึ่งในแง่ความจริงที่ปรากฏก็คือ “ความเท่าเทียม” กันระหว่างคนรวยคนจน แต่แบบใหม่นี้คนรวยคงได้เปรียบในทุกๆ กรณี ไม่ว่าจะสามารถสอบกวาดไปทั่วทุกโครงการ ทุกคณะ ทุกสถาบัน ประกอบกับในปัจจุบันที่มีการศึกษาด้วยภาษาต่างประเทศที่มีค่าเล่าเรียนที่สูงมาก ตั้งแต่คณะแพทย์ศาสตร์ บัญชี เศรษฐศาสตร์ จนคณะอักษรศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่แข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายนั้น ที่ไม่ใช่แบบของไทย แต่ยังคงมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น และจีน เฉพาะในจีนนั้น การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับชีวิตเด็กจีน ในวันสอบนั้นกำหนดพร้อมกันทั่วประเทศ และบรรดาคนในประเทศก็จะงดการใช้เสียง หลีกเลี่ยงการจราจรในระหว่างวันนั้น เพื่อช่วยสนับสนุนการสอบของเด็กให้ผ่านไปอย่างราบรื่น

ในช่วงเวลาที่นักเรียนมัธยมปลายในจีน เตรียมตัวอ่านหนังสือสอบมักจะเกิดภาวะเครียดมาก จนในบางครั้งที่มีข่าวออกมาว่า มีเด็กลุกขึ้นมากระโดดตึกฆ่าตัวตายต่อหน้าเพื่อนทั้งห้องที่กำลังตั้งใจจดจ่อกับการอ่านหนังสือ เด็กจีนแทบทุกคนจะได้รับความกดดันและการแข่งขันที่สูงอย่างมากในการเตรียมตัวสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย

จึงแทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมคนจีนจึงเป็นคนที่เก่ง เมื่อเทียบกับคนชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเรียน การทำธุรกิจการค้า ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้นั่นคือ “ความขยัน” นอกเหนือไปจากความขยันแล้ว คนจีนยังเป็นคนที่มีทั้งความมุ่งมั่น ความอดทนและมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมาตลอดทั้งชีวิต และก็ไม่น่าแปลกว่าสังคมจีนนั้นเป็นสังคมที่มีความเครียดและความกดดันสูงมากแห่งหนึ่งในโลก

กล่าวเฉพาะในเรื่องของการศึกษาแล้วนั้น ประเทศจีนมีความเข้มข้นในเกณฑ์การรับสมัครตั้งแต่เด็ก เช่น เด็กที่สอบเข้าประถมหนึ่งจะต้องทำข้อสอบทั้งหมดถึง 200 ข้อ ภายในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ตั้งแต่เด็กเล็กต้องถูกพาไปเข้าคอร์สติวกันอย่างหนัก โดยจะต้องเรียนพิเศษมากมายไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ศิลปะ เปียโน และกีฬา ด้วยวัยอนุบาลเท่านั้น เพื่อจะได้สามารถสอบเข้าเรียนในโรงเรียนประถมที่ดีได้ และโรงเรียนประถมแทบทุกแห่ง นักเรียนระดับประถมจะมีการบ้านจำนวนมากมาย โดยเฉพาะในระดับประถมปลายที่จะต้องทำการบ้านจนเกือบถึงเที่ยงคืนทุกวันและต้องเรียนพิเศษต่อทั้งวันเสาร์และอาทิตย์

และเมื่อจบประถมศึกษาแล้ว แม้ว่าโรงเรียนนั้นจะมีการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่เด็กทั้งหมดก็จะต้องมาแข่งกันใหม่หมด เพื่อจะสอบเข้าเรียนต่อในระดับมัธยม ดังนั้นเด็กจีนจึงต้องอยู่ในภาวะตื่นตัวและขยันตั้งใจเรียนตลอด

เมื่อเรียนในระดับมัธยมก็จะมีความเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการแข่งขันก็รุนแรงเพิ่มขึ้น การบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย และเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ใช่การสิ้นสุดของการแข่งขัน แต่กลับเริ่มต้นแข่งกันต่ออีก

ในมหาวิทยาลัยที่จีนนั้น เราสามารถแยกได้ง่ายมาก ระหว่างนักศึกษาจีนและนักศึกษาต่างชาติ ทั้งนี้เพราะนักศึกษาจีนจะขยันมากๆๆกว่านักศึกษาต่างชาติ ซึ่งไม่ใช่ว่านักศึกษาต่างชาติไม่ขยัน เพราะในมหาวิทยาลัยชั้นนำในจีนนั้นการเรียนการสอนเป็นไปแบบเข้มข้นมาก เรียกได้ว่าระหว่างทางมีคนทั้งลาออกหรือถูกไล่ออกกันได้ตลอดเวลา หากแต่นักศึกษาจีนนั้นมีความมุ่งมั่นในการเรียนสูงมาก ทั้งนี้จะมีนักศึกษาจีนที่เรียนควบแบบ 2 ปริญญาจำนวนมากคือ ในขณะที่ตนเรียนคณะหนึ่งก็อาจจะไปลงเรียนอีกคณะหนึ่งพร้อมกัน เช่น เรียนวิชาเอกภาษาไทย และก็เรียนบริหารธุรกิจพร้อมกันไปด้วย จึงทำให้เมื่อจบการศึกษา นักศึกษาเหล่านี้จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า และน่าจะหางานได้ง่ายกว่า แต่ในความเป็นจริงที่โหดร้ายของสังคมจีน การหางานไม่ใช่ง่ายดายเช่นนั้น โดยเฉพาะตำแหน่งข้ารัฐการจีน มักจะมีคนมาสมัครเข้าแข่งกันสอบหลายพันคนสำหรับตำแหน่งที่รับเพียงตำแหน่งเดียว

นั่นจึงเป็นที่มาว่า “ทำไมคนจีนจึงเก่ง” และเป็นที่มาของการเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศที่แสนสบายเช่นประเทศไทย ยิ่งเมื่อเราเปิดกว้างเป็นประชาคมเดียวกัน พี่น้องจีนคงหลั่งไหลมาทำงานกันมหาศาล เผลอๆ คนไทยอาจจะต้องนั่งเฝ้าบ้านแทนการทำงาน เพราะถูกแย่งงานหมด งานในระดับที่ใช้แรงงานถูกเพื่อนบ้านรับทำหมด งานในระดับนั่งโต๊ะถูกคนจีนรับทำแทน คิดแบบไทย “สบายไปคนไทยที่มีคนช่วยทำงาน” หรือว่าในที่สุดแล้ว คนไทยควรจะช่วยหาทางสงวนอาชีพบางอาชีพให้คนไทยก่อนหรือไม่

................................

คอลัมน์ : ฝ่ากำแพงเมืองจีน

โดย “อ.ดร.ศิริเพ็ชร ทฤษณาวดี”

ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

 

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 พฤษภาคม 2559


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย

เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เปิดอ่าน 12,551 ครั้ง
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้
เปิดอ่าน 9,571 ครั้ง
ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ

ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ
เปิดอ่าน 15,563 ครั้ง
กรณีตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ

กรณีตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เปิดอ่าน 45,926 ครั้ง
การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง

การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง
เปิดอ่าน 17,908 ครั้ง
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ
เปิดอ่าน 11,966 ครั้ง
4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน

4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน
เปิดอ่าน 8,572 ครั้ง
ลดการสอบเพื่ออะไร ?

ลดการสอบเพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 9,256 ครั้ง
เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร

เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เปิดอ่าน 25,957 ครั้ง
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
เปิดอ่าน 16,000 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 7,372 ครั้ง
อยากเลี้ยงลูกให้ฉลาด ต้องไม่มีคำว่า....โดย ดร.สุพาพร เทพยวรรณ

อยากเลี้ยงลูกให้ฉลาด ต้องไม่มีคำว่า....โดย ดร.สุพาพร เทพยวรรณ
เปิดอ่าน 24,122 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา ระบบการผลิตครู

ปฏิรูปการศึกษา ระบบการผลิตครู
เปิดอ่าน 13,622 ครั้ง
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!

คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
เปิดอ่าน 6,672 ครั้ง
ศธ.ให้ความสำคัญครูคนแรกดึงพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งวันครู

ศธ.ให้ความสำคัญครูคนแรกดึงพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งวันครู
เปิดอ่าน 7,904 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
เปิดอ่าน 15,099 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย
เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย
เปิดอ่าน 7,354 ☕ คลิกอ่านเลย

"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
เปิดอ่าน 12,396 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักเกณฑ์ฯ เลื่อนวิทยฐานะครูใหม่ : ยิ่งแก้ ยิ่งวน
หลักเกณฑ์ฯ เลื่อนวิทยฐานะครูใหม่ : ยิ่งแก้ ยิ่งวน
เปิดอ่าน 12,157 ☕ คลิกอ่านเลย

"พ่อแม่รังแกฉัน"(ใครกันจะรังแกลูกได้เท่าพ่อแม่)
"พ่อแม่รังแกฉัน"(ใครกันจะรังแกลูกได้เท่าพ่อแม่)
เปิดอ่าน 13,041 ☕ คลิกอ่านเลย

งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 15,560 ☕ คลิกอ่านเลย

คอลัมน์: การศึกษา: ถึงคิว...พักงาน(ยาว) "ผอ.สมศ." ปลดล็อก..."ประเมินภายนอกรอบ 4"!!
คอลัมน์: การศึกษา: ถึงคิว...พักงาน(ยาว) "ผอ.สมศ." ปลดล็อก..."ประเมินภายนอกรอบ 4"!!
เปิดอ่าน 29,199 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประกาศแล้ว..ผลประกวดคำขวัญกรุงเทพ​ฯ
ประกาศแล้ว..ผลประกวดคำขวัญกรุงเทพ​ฯ
เปิดอ่าน 13,605 ครั้ง

อ่านอะไร...คนไทย?
อ่านอะไร...คนไทย?
เปิดอ่าน 7,299 ครั้ง

ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล
ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล
เปิดอ่าน 10,857 ครั้ง

เลี้ยงปลามงคลเสริมโชคลาภ
เลี้ยงปลามงคลเสริมโชคลาภ
เปิดอ่าน 20,423 ครั้ง

ความถี่และความบ่อย(ภาษาอังกฤษ)
ความถี่และความบ่อย(ภาษาอังกฤษ)
เปิดอ่าน 241,700 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ