|
|
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโพนจานในภาพรวมและจำแนกรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) (2) การประเมินปัจจัยหรือทรัพยากร (Input Evaluation) (3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ (4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) 2) เพื่อประเมินระดับความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโพนจาน จำแนกรายด้าน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) ด้านการส่งเสริมนักเรียน (3) ด้านการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา (4) ด้านการส่งต่อ และ (5) ด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 165 คน ครูที่ปรึกษา จำนวน 14 คน และนักเรียน จำนวน 165 คน รวม 358 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนจานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย x̄ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินพบว่า การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ใน 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 (SD. = 0.53) ด้านผลผลิต (Output) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 (S.D. = 0.55) ด้านสภาพแวดล้อม (Context) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (S.D. = 0.50) และด้านกระบวนการ (Process) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 (S.D. = 0.52) ตามลำดับ และผลการประเมินด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ตามรายละเอียดดังนี้ 1.ด้านสภาพแวดล้อม (Context) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะชีวิตให้นักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 (S.D. = 0.52) รองลงมา โรงเรียนมีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถนักเรียนอย่างหลากลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 (S.D. = 0.49) และโรงเรียนมีโครงการ แผนงานกิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 (S.D. = 0.51) และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 9 ข้อ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนมีกิจกรรมให้ความรู้ บทบาทในการดำเนินงานตามโครงการแก่ครูและบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 (S.D. = 0.53) รองลงมา โรงเรียนมีกิจกรรมแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (S.D. = 0.51) โครงการสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจและประสงค์ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 (S.D. = 0.53) โครงการมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D. = 0.52) โรงเรียนมีกิจกรรมให้ความรู้ด้านการดำเนินงานตามโครงการแก่คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 (S.D. = 0.48) โรงเรียนให้การส่งเสริมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 (S.D. = 0.49) โรงเรียนมีการวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการพื้นฐาน เพื่อเป็นสารสนเทศในการวางแผนดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 (S.D. = 0.50) โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานภายนอกอย่างเข้มแข็ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 (S.D. = 0.48) และโครงการทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและความจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 (S.D. = 0.48) ตามลำดับ 2.ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนมีสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆตามโครงการ อย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 (S.D. = 0.51) รองลงมา โรงเรียนมีงบประมาณที่เหมาะสมตามกิจกรรมที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 (SD. = 0.52) และครูและบุคลากรผู้รับผิดชอบมีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 (S.D. = 0.52) และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 7 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีเครื่องมือในการคัดกรองที่เหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 (S.D. = 0.63) รองลงมา โรงเรียนมีห้องพยาบาลและการบริการรักษาสุขภาพเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 (S.D. = 0.55) หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญ และให้การสนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (S.D. = 0.53) ความสามารถของผู้ประสานงานโครงการกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D. = 0.50) ครู บุคลากร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 (S.D. = 0.53) โรงเรียนสนับสนุนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 (S.D. = 0.51) และผู้บริหารเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 (S.D. = 0.49) ตามลำดับ 3.ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีการสรุปรายงานผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 (S.D. = 0.51) รองลงมา มีการดำเนินงานตามแผนของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 (S.D. = 0.52) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 (S.D. = 0.52) และผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 12 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีการดำเนินงานตามแผนให้ความรู้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 (S.D. = 0.53) รองลงมา มีการดำเนินงานตามแผนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (S.D. = 0.54) มีการดำเนินงานตามแผนของการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาและแก้ไขไม่ได้ส่งต่อยังผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (S.D. = 0.50) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (S.D. = 0.52) มีการดำเนินงานตามแผนของการป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียนในทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 (S.D. = 0.51) มีการดำเนินงานตามแผนของการคัดกรองนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และมีปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D. = 0.50) และมีการวางแผนกระบวนการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D. = 0.52) มีการนิเทศติดตามการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระยะเวลาที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 (S.D. = 0.49) มีการวางแผนการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 (S.D. = 0.49) และมีการดำเนินงานตามแผนของการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 (S.D. = 0.63) มีการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 (S.D. = 0.50) และมีการนำผลสรุปรายงานมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (S.D. = 0.53) ตามลำดับ 4.ด้านผลผลิต (Output) โดยรวมมีผลการประเมินระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียนที่ได้รับการดูแล ป้องกันและมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 (S.D. = 0.52) รองลงมานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 (S.D. = 0.51) และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 (S.D. = 0.59) และผลการประเมินระดับการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก 10 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ครูกับนักเรียนสัมพันธภาพที่ดี มีความอบอุ่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 (S.D. = 0.63) รองลงมา นักเรียนที่มีปัญหายากต่อการแก้ไขได้รับการช่วยเหลือโดยการส่งต่อทั้งภายในและภายนอก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 (S.D. = 0.53) นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพและดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 (S.D. = 0.56) ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน มีความตระหนักความเข้าใจระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 (S.D. = 0.53) ครูและบุคลากรในโรงเรียนคัดกรองนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมและแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (S.D. = 0.56) และผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจและให้ความร่วมมือสนับสนุนงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (S.D. = 0.57) นักเรียนกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D. = 0.60) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนรู้จักข้อมูลนักเรียนรายบุคคลอย่างรอบด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 (S.D. = 0.55) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 (S.D. = 0.52) และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการเป็นไปอย่างทั่วถึงภายในและภายนอก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 (S.D. = 0.54) ตามลำดับ 5.สรุปผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนจาน ของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมมีผลการประเมินระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและความสนใจของตนเอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 (S.D. = 0.52) รองลงมา ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจในโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนจาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 (S.D. = 0.54) และมีการให้คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (S.D. = 0.52) และผลการประเมินระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 7 ข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 (S.D. = 0.64) รองลงมา นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่พึงพอใจของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสาธารณชนทั่วไป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 (S.D. = 0.66) มีการประชุมและประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (S.D. = 0.69) ครูที่ปรึกษาได้ออกเยี่ยมบ้าน และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างครอบคลุม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 (S.D. = 0.53) มีการกำกับติดตามช่วยเหลือนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D. = 0.50) นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 (S.D. = 0.53) และมีเครื่องมือในการคัดกรองนักเรียนและนักเรียนมีส่วนร่วมในการคัดกรอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 (S.D. = 0.48)
|
โพสต์โดย ปิ๋ม : [4 ส.ค. 2565 เวลา 11:11 น.] อ่าน [3644] ไอพี : 101.108.94.136
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 22,482 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,896 ครั้ง
| เปิดอ่าน 72,707 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,671 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,264 ครั้ง
| เปิดอ่าน 56,949 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,112 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,640 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,134 ครั้ง
| เปิดอ่าน 41,841 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,518 ครั้ง
| เปิดอ่าน 71,096 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,003 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,205 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,073 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 33,640 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,243 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,142 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,472 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,526 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|