ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ไม่ธรรมดา ๆ ...> > ผักตบชวา ถูกตานักวิจัย ใช้เป็นขุมพลังงานเชื้อเพลิง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,247 ครั้ง
ไม่ธรรมดา ๆ ...> >  ผักตบชวา   ถูกตานักวิจัย  ใช้เป็นขุมพลังงานเชื้อเพลิง

Advertisement

❝ ร่วมคิด ร่วมสรร ร่วมกันพัฒนา ประชาไทย ได้อยู่ดี กินดี ❞

                                โปรดทราบ

ผักตบชวาเข้าตานักวิจัยแคลิฟอร์เนีย เล็งแปรเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง จับมือ วว. ร่วมพัฒนาเทคนิคการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวล เน้นใช้ของเหลือทิ้งทางเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก หวังอีก 3 ปี มีโรงงานต้นแบบในไทย ช่วยเพิ่มมูลค่าขยะเกษตร ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และเกิดความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาว
              
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ หรือ ยูซีอาร์ (The University of California Riverside: UCR) ประเทศสหรัฐอเมริกา ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ในการทำวิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันดีเซลเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวล เมื่อวันที่ 25 พ.ค.52 ที่ผ่านมา ณ วว. คลองห้า จ.ปทุมธานี โดยมีนายสุรพล วัฒนวงศ์ รักษาการผู้ว่าการ วว. ร่วมลงนามกับ ศาสตราจารย์โจเซฟ เอ็ม นอร์เบค (Prof.Joseph M. Norbeck) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมของยูอาร์ซี ซึ่งลงนามแทนอธิการบดีของยูซีอาร์
       
       นายสุรพล กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้มีระยะเวลา 3 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแลกเปลี่ยนนักวิจัย แลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย องค์ความรู้ ระหว่างนักวิจัยของทั้งสองสถาบัน รวมทั้งพัฒนางานวิจัยร่วมกันในการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวล ซึ่งการค้นพบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยร่วมกันนี้ ก็จะดำเนินการจดสิทธิบัตรร่วมกัน ซึ่งประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือครั้งนี้เป็นอย่างมาก ช่วยให้ไทยมีเทคโนโลยีใหม่เป็นของตัวเอง ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และเกิดความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต
              ทั้งนี้ ความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศูนย์ต้นแบบระบบผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวล ที่ วว. จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ 2552-2555 ด้วยงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อให้เป็นศูนย์สำหรับเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากชีวมวล
              ด้าน รศ.ดร.คณิต วัฒนวิเชียร หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหารโครงการดังกล่าว เปิดเผยว่า เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลของทางยูซีอาร์นั้นเป็นเทคโนโลยีไฮโดรแก๊สซิฟิเคชัน (hydrogasification) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มากๆ โดยเป็นการนำชีวมวลที่เป็นของแข็ง มาทำให้เป็นก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรเจน โดยต้องควบคุมให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสม จากนั้นนำก๊าซสังเคราะห์ดังกล่าวเข้าสู่เตาปฏิกรณ์เพื่อแปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ต่อไป ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ไม่ต่างจากน้ำมันจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
              เทคนิคในการทำน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ มีการใช้อยู่แล้วในบริษัทผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ แต่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ และการทำแก๊สซิฟิเคชันจากชีวมวล โดยปกติแล้วจะต้องใช้ชีวมวลที่แห้ง ปราศจากน้ำและความชื้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งของเทคนิคดังกล่าว แต่ไฮโดรแก๊สซิฟิเคชันนั้นสามารถใช้กับชีวมวลที่ไม่ต้องแห้งได้ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการทำให้ชีวมวลแห้งก่อนนำมาใช้ได้ และในประเทศไทยก็มีชีวมวลเหล่านี้เป็นจำนวนมาก
              โดยเฉพาะ ผักตบชวา ซึ่งศาสตราจารย์นอร์เบคเห็นว่า เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย จึงสนใจจะนำมาศึกษาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำได้อีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังมีชีวมวลอื่นๆ อีกที่จะนำมาศึกษาด้วย เช่น ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว กะลาปาล์ม ซังข้าวโพด และน้ำเสีย เป็นต้น รวมถึงสาหร่ายที่ วว. กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้
              ส่วนเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชัน ที่มีการทำอยู่บ้างแล้วในประเทศไทยนั้นเป็นการเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นก๊าซสังเคราะห์ และใช้ในทันทีในรูปแบบของพลังงานความร้อน หรือใช้การผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งยังต้องใช้ชีวมวลที่แห้ง และพลังงานที่ได้ในรูปนี้ยังไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ ในขณะที่หากเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจะสามารถเก็บพลังงานไว้ในรูปแบบดังกล่าวและสามารถขนย้ายไปยังที่ต่างๆได้
              ทั้งนี้ ดร.สุทธิพร ชีวสาธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน วว. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า ขณะนี้ วว. ได้ส่งนักวิจัยไปเรียนรู้เทคโนโลยีดังกล่าวที่ยูซีอาร์แล้วจำนวน 2 คน และทางยูซีอาร์ก็จะส่งนักวิจัยมาร่วมทำวิจัยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้วยที่ประเทศไทย โดยจะมีการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลขนาดทดลองที่ วว. ในเร็วๆ นี้
              หลังจากเสร็จสิ้นโครงการวิจัยร่วมกันนี้ เราจะได้ข้อมูลถึงความเป็นไปได้ในการผลักดันให้เกิดเทคโนโลยีนี้ในประเทศไทยว่าชีวมวลใดเหมาะสมมากที่สุด และข้อมูลความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีโรงงานต้นแบบเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

 

  

ชุมชนการศึกษาออนไลน์ อันดับ 1http://blog.eduzones.com/futurecareer/25256 ขอบคุณครับ

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 2614 วันที่ 27 พ.ค. 2552


ไม่ธรรมดา ๆ ...> > ผักตบชวา ถูกตานักวิจัย ใช้เป็นขุมพลังงานเชื้อเพลิงไม่ธรรมดา...>>ผักตบชวาถูกตานักวิจัยใช้เป็นขุมพลังงานเชื้อเพลิง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เมื่อดอกไผ่บาน

เมื่อดอกไผ่บาน


เปิดอ่าน 6,243 ครั้ง
ความเชื่อ.....ศิริ  8  ประการ

ความเชื่อ.....ศิริ 8 ประการ


เปิดอ่าน 6,246 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดูเหตุการณ์แล้วไม่น่ารอด..!!!

ดูเหตุการณ์แล้วไม่น่ารอด..!!!

เปิดอ่าน 6,247 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เปิดอ่าน 6,241 ☕ คลิกอ่านเลย

วิกิพีเดีย....ความเหงา.....
วิกิพีเดีย....ความเหงา.....
เปิดอ่าน 6,247 ☕ คลิกอ่านเลย

ศิลปะบนกระจก
ศิลปะบนกระจก
เปิดอ่าน 6,242 ☕ คลิกอ่านเลย

 26  มิถุนายน 2552 ครบชาตกาล  "223" ปี   สุนทรภู่ ครู กวีโลก
26 มิถุนายน 2552 ครบชาตกาล "223" ปี สุนทรภู่ ครู กวีโลก
เปิดอ่าน 6,242 ☕ คลิกอ่านเลย

การพัฒนาหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง การป้องกันการเกิดความรุนแรง .(PPT)
การพัฒนาหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง การป้องกันการเกิดความรุนแรง .(PPT)
เปิดอ่าน 6,245 ☕ คลิกอ่านเลย

บทสวด มหากรุณิโก
บทสวด มหากรุณิโก
เปิดอ่าน 6,279 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มีครบหมดทุกป้าย..ยกเว้น......????
มีครบหมดทุกป้าย..ยกเว้น......????
เปิดอ่าน 21,383 ครั้ง

ตัดวงจรเครียด...ก่อนระเบิด
ตัดวงจรเครียด...ก่อนระเบิด
เปิดอ่าน 10,788 ครั้ง

รวมประกาศเกี่ยวกับการศึกษา
รวมประกาศเกี่ยวกับการศึกษา
เปิดอ่าน 25,361 ครั้ง

การฝังเข็ม ดีอย่างไร
การฝังเข็ม ดีอย่างไร
เปิดอ่าน 3,002 ครั้ง

ปวดตึงที่คอและไหล่ อย่าคิดว่ามันเรื่องเล็ก
ปวดตึงที่คอและไหล่ อย่าคิดว่ามันเรื่องเล็ก
เปิดอ่าน 10,816 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ