ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เคล็ดลับดูสุริยุปราคา


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,150 ครั้ง
Advertisement

เคล็ดลับดูสุริยุปราคา

Advertisement

ดวงตาปลอดภัย

           ในการเสวนาทางวิชาการของสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่จัดให้แก่สมาชิก และครู อาจารย์ที่สนใจ เรื่อง สุริยุปราคาเต็มดวงแห่งศตวรรษ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้มีการแนะนำถึงวิธีการดูปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ให้ปลอดภัยต่อดวงตา
   
          นายสิทธิชัย จันทรศิลปิน นักวิชาการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้อง  ฟ้าจำลอง) กรุงเทพฯ ได้แนะเคล็ดลับการ ดูสุริยุปราคาให้ปลอดภัยต่อดวงตาว่า วิธีดูสุริยุปราคาที่ง่ายและดีที่สุด ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ราคาถูกหรือแพงนั่นก็คือ ต้องจำไว้ให้ขึ้นใจว่า ลดแสงจ้า อย่าดูนาน เพราะแสงอาทิตย์มีความรุนแรงและมีรังสีที่อันตรายต่อดวงตา หากจ้องมองนาน ๆ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต จักษุแพทย์บอกว่า เซลล์จอตาสามารถสร้างทดแทนขึ้นมาได้ หากไม่โดนทำลายอย่างรุนแรง
   
           วิธีการดูสุริยุปราคาที่ดีที่สุด นอกจากต้องใช้อุปกรณ์แล้ว ขณะดูให้นับหนึ่งถึงห้า แล้วหยุด มองสีเขียวหรือบรรยากาศทั่วไป เพื่อให้สายตาได้พัก แล้วค่อยดูใหม่ ก็นับหนึ่งถึงห้าอีกเช่นกัน
   
         อุปกรณ์ที่จะใช้ดูนั้น นักวิชาการจากท้องฟ้าจำลองบอกว่าถ้าทุนน้อยก็ใช้วิธีการแบบคนโบราณ ก็คือ เอากระจกใสมารมควันเทียนให้มืดสนิท วิธีตรวจสอบก็คือ เอากระจกที่รมควันเทียนมาส่องดูหน้าคน หากยังมองทะลุก็ต้องรมควันเทียนอีกที ให้แน่ใจว่ามองหน้าใครไม่เห็นแล้ว จึงจะเอาไปส่องดูดวงอาทิตย์ได้ แต่ก็มีข้อควรระวังก็คือ ต้องไม่ให้เกิดริ้วรอยขีดข่วนหรือรอยนิ้วมือบนบริเวณที่รมควัน เพราะจะทำให้แสงเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายต่อดวงตาได้ ต้องพึงระวังหากนำไปใช้กับเด็ก ๆ
   
       ใช้ฟิล์มถ่ายรูปขาวดำ วิธีการดั้งเดิมก็คือ ดึงฟิล์มออกจากกลักให้โดนแสงสว่างแล้วนำมาติดบนกระดาษแผ่นใหญ่ที่เจาะรูไว้แล้ว ให้กระดาษช่วยบังแสง แต่ในยุคการถ่ายรูปดิจิทัล ฟิล์มขาวดำกลายเป็นของหายากไปแล้ว
   
       ฟิล์มเอกซเรย์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เป็นอันตรายมากหากใช้ทั้งแผ่น เพราะแสงเล็ดลอดผ่านจุดที่มีภาพถ่าย ต้องใช้บริเวณขอบสีดำ ตัดออกมาเฉพาะส่วนนั้น หากนำมาส่องหน้าคนแล้วยังมองเห็นกันอยู่ก็ตัดมาซ้อนกันหลาย ๆ  แผ่น จนกว่าจะมองไม่เห็นใคร จึงจะใช้มองดวงอาทิตย์ได้อย่างปลอดภัย
   
       หากมีตังค์มากหน่อยก็ใช้แผ่นไมลาร์  ซึ่งเคลือบโลหะพิเศษมาปิดหน้ากล้อง แต่ก็อาจจะทำให้แสงโคโรน่าของอาทิตย์ไม่สวย ห้ามนำกล้องดูดาวมาใช้ส่องดูดวงอาทิตย์ เพราะเลนส์กล้องดูดาวเป็นจุดรวมแสง ทำให้ตาบอดได้ ต้องใช้แผ่นไมลาร์ปิดเลนส์ก่อน แต่ขณะใช้ก็ต้อง ระมัดระวังไม่ให้แผ่นไมลาร์เลื่อนหลุด
   
       กล้องรูเข็มก็เป็นอีกวิธี เพียงแค่เจาะ   รูกระดาษแล้วดูผ่านฉากจะช่วยถนอมสายตา  ได้ หรือใช้วิธีอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ หากในช่วงเกิด   สุริยุปราคา เราจะเห็นแสงลอดใบไม้เว้าแหว่งตามแสงดวงอาทิตย์ เวลาถ่ายรูปจะเกิดความสวยงามแบบแปลก ๆ ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้
   
      อุปกรณ์ที่ห้ามนำมาใช้เด็ดขาดก็คือ แว่นกันแดด ไม่ว่าจะใช้เลนส์สีเข้มแค่ไหน ก็เป็นอันตรายต่อดวงตา หากนำมาใช้มองดวงอาทิตย์
   
     แต่ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์แบบไหน ก็ต้องไม่ลืมกฎที่ว่า ลดแสงจ้า อย่าดูนาน ทุกครั้งที่ดูสุริยุปราคา ให้นับหนึ่งถึงห้าแล้วหยุดพักสายตา แล้วค่อยมาดูใหม่ใช้วิธีการเดิม
   
     เช้าวันพุธที่ 22 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 07.00-09.00 น. หากอยู่ในภาคเหนือ เช่น เชียง ราย ก็จะมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาบางส่วนมากหน่อย เห็นดวงอาทิตย์แหว่งถึง 69% ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ จะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งเพียง 42% ถ้าอยากดูแบบเต็มดวงก็ต้องไปอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศจีน ซึ่งโชคดีที่เป็นพื้นที่ในเงามืด ทำให้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงแห่งศตวรรษนาน 6 นาที 39 วินาที
   
เช้าวันพุธ ถ้าอากาศเป็นใจ ไม่มีเมฆฝนมาบัง เราจะได้เห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ หากทำงานดึก นอนตื่นสาย ก็ตัดใจตื่นเช้ากันสักวันน่า.

 

นสพ.ดอทคอม

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 923 วันที่ 21 ก.ค. 2552

พิเศษสำหรับคนรักสัตว์🐕🐈เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงของสุนัขแมวกระต่าย เสื้อแมวและสุนัข ในราคา ฿45 - ฿150 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VM0SRGuMT?share_channel_code=6


เคล็ดลับดูสุริยุปราคา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ดอกไม้แสนอร่อย!!

ดอกไม้แสนอร่อย!!


เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง
ระแวง...แต่ไม่ระวัง

ระแวง...แต่ไม่ระวัง


เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
รัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

รัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์


เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
มาแก้....กันดีกว่า

มาแก้....กันดีกว่า


เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
มะเมี้ยะ

มะเมี้ยะ


เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
"ปกร้อนแรงแห่งปี!!"

"ปกร้อนแรงแห่งปี!!"


เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

พระพุทธเจ้าทำนาย ไว้...

พระพุทธเจ้าทำนาย ไว้...

เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แต่งของเก่าไว้ใช้ใหม่.....Furniture Refinishing..คุณเป็นอีกคนที่รักการแต่งบ้านใช่ไหม
แต่งของเก่าไว้ใช้ใหม่.....Furniture Refinishing..คุณเป็นอีกคนที่รักการแต่งบ้านใช่ไหม
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย

ชื่อ - นามสกุล  นี้มีจริงหรือ????
ชื่อ - นามสกุล นี้มีจริงหรือ????
เปิดอ่าน 7,195 ☕ คลิกอ่านเลย

เห็ดฟาง.....อาหารสวรรค์..... ของคนความดันสูง
เห็ดฟาง.....อาหารสวรรค์..... ของคนความดันสูง
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำ 4 ข้อ ก็สุขได้
ทำ 4 ข้อ ก็สุขได้
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่มา...ของ คาถาเงินล้าน
ที่มา...ของ คาถาเงินล้าน
เปิดอ่าน 7,222 ☕ คลิกอ่านเลย

นิทานเวตาลเรื่องที่  ๓
นิทานเวตาลเรื่องที่ ๓
เปิดอ่าน 7,508 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จุ่มลวก (หรือลวง)
จุ่มลวก (หรือลวง)
เปิดอ่าน 12,487 ครั้ง

ติดกาแฟทั้งที อย่างนี้ต้องดื่มให้ฉลาด
ติดกาแฟทั้งที อย่างนี้ต้องดื่มให้ฉลาด
เปิดอ่าน 15,938 ครั้ง

วิธีบริหารเงิน ที่ไม่มีสอนในโรงเรียน
วิธีบริหารเงิน ที่ไม่มีสอนในโรงเรียน
เปิดอ่าน 14,295 ครั้ง

ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?
ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?
เปิดอ่าน 12,612 ครั้ง

ศธ.สั่งลดเวลาเรียนในห้องเรียน เหลือเพียง 14.00 น. เด็กจะได้..
ศธ.สั่งลดเวลาเรียนในห้องเรียน เหลือเพียง 14.00 น. เด็กจะได้..
เปิดอ่าน 32,774 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ