Advertisement
|
|
|
|
![ดูภาพขยาย](http://www.mapculture.org/coppermine/albums/userpics/10002/normal_kang_hang_meo.jpg)
|
|
การตั้งถิ่นฐาน
เมืองจันบุรีเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ยังมีร่องรอยอารยธรรมโบราณของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์
ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 6,000 - 4,000 ปี หลักฐานที่ปรากฏทั้งด้านมานุษยวิทยาศิลปะและประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการ
ตั้งถิ่นฐาน การเติบโตอย่างกว้างขวางในท้องถิ่น การขยายตัวติดต่อค้าขายกับต่างถิ่น การรับและถ่ายทอดการผสมผสาน
ทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการพัฒนาการยาวนานต่อมาจนกระทั่งเป็นเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน
|
|
|
|
สมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรีเป็นการศึกษาเรื่องราวของจันทบุรีในอดีตจากหลักฐานต่าง ๆ ที่พบ โดยการสำรวจและ
ขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่จังหวัดจันทบุรี การศึกษาในทางโบราณคดีแยกศึกษาได้
อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ยุคสมัย คือ
|
|
|
|
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistoric Archaeology ) คือ
ช่วงเวลาก่อนที่จะมีประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร จึงครอบคลุมเพียงแต่ช่วงเวลาที่เกิดบรรพบุรุษรุ่นแรกของคน
วัฒนธรรมของคนในโลกมาถึงช่วงที่คนเริ่มจดบันทึกเท่านั้น จุดเริ่มต้นของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งยึดหลักฐานทาง
วัฒนธรรมกำหนดนั้น ในแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เนื่องจากการอพยพ การตั้งถิ่นฐาน
ตลอดจนวิวัฒนาการของมนุษย์
|
|
|
|
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ( Historic Archaeology )
เป็นช่วงเวลาที่มีประวัติศาตร์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว หลักฐานต่าง ๆ เหล่านั้นเรียกหลักฐานทางประวัติศาสตร์
( HistoricalEvidences ) ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร ปูมโหร ปูมแพทย์ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุเนื่องจาก
มนุษย์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกเริ่มทำการบันทึกเวลาต่าง ๆ ไม่พร้อมกัน การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือ
เริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกจึงปรากฏขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ของบางภูมิภาคจะเป็นช่วงที่พบหลักฐานทางภาษา
หรือตัวหนังสือ แต่ไม่สามารถอ่านหรือนำมาเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ได้ จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่า สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์
( Proto History )
![](http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/picture/history-p1.jpg) |
การศึกษาประวัติของจังหวัดจันทบุรีที่ผ่านมาจะศึกษาจากตำนานเรื่องเมืองกาไวและพระนางกาไวเรื่องราวของตำนาน
จะเชื่อมโยงถึงวัดทองทั่ว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งพบทับหลังลักษณะศิลปะถาลาบริวัตรต่อ
สมโบร์ไพรกุก พ.ศ. 1150 ( สุภัทรดิศ ดิศกุล : 2504 ) และทับหลังแบบศิลปะไพรกเมง พ.ศ. 1180 - 1250 เป็น
เบื้องต้น ต่อจากนั้นจะศึกษาจากหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศสชื่อ แคมโบช ซึ่งชาวฝรั่งเศสชื่อ ม. อิติเมอร์ เขียนไว้เมื่อ
พ.ศ. 2444 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศึกษาเรื่องราวของเมืองจันทบุรีจากการที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นใน
ปี พ.ศ.1893 แล้วทรงประกาศว่ากรุงศรีอยุธยามีประเทศราชอยู่ 16 หัวเมือง ในจำนวนนั้นมีชื่อเมืองจันทบุรีช่วงปลาย
สมัยกรุงศรีอยุธยาศึกษาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่พม่ายกทัพมาตีและล้อมกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิราปราการ ได้นำกำลังตีฝ่าวงล้อมของพม่ามายึด เมืองจันทบุรีไว้เป็นแหล่งสะสมอาหาร
รวบรวมพลเพื่อกอบกู้กรุงศรีอยุธยาต่อไปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ศึกษาจากเรื่องราวในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ไทยเกิดกรณีพิพาทกับญวน ถึงต้องทำสงครามกันด้วย เรื่องเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าญวนจะยึดเมืองจันทบุรี ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกเป็นที่มั่นเพื่อทำการ
ต่อสู้กับไทย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านเนินวง ซึ่งปัจจุบันคือโบราณสถานค่ายเนินวงรวม
ทั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมไพรีพินาศและป้อมพิฆาตปัจจามิตรที่หัวหาดแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2436 ( ร.ศ.112 ) ไทยกับ
ฝรั่งเศสเกิดกรณีพิพาทด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จนถึงขั้นปะทะกันด้วยอาวุธ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 1436
จะเห็นได้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีที่ผ่านมาเป็นการศึกษาทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
|
|
|
|
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันพบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
บริเวณพื้นที่จังหวัดจันทบุรีจำนวน หลายแห่ง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรี มีรายละเอียดทั้งแนว
กว้างและแนวลึกมากขึ้น เรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มต้นตั้งแต่การพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นร่องรอย
ของคนในอดีตที่อาศัยอยู่และดำรงชีวิตในบริเวณพื้นที่ของจันทบุรี หลักฐานที่พบเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัย
ก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ 10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องถึงหินใหม่ตอนปลาย มีอายุประมาณ 4,000 -
2,000 ปีมาแล้ว รวมถึงยุคโลหะที่คนรู้จักการทำสำริดและเหล็ก คือ เมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว เข้าสู่สมัย
พุทธศวรรษที่ 12 ได้พบจารึกเพนียด ( หลักที่ 52 )ถือว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรีได้สิ้นสุดลงและเริ่มเข้า
สู่สมัยประวัติศาสตร์
|
|
|
|
การตั้งถิ่นฐานเมืองจันทบุรีในยุคประวัติศาสตร์
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 18 ได้พบหลักฐานชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ในจันทบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ซึ่งน่าจะมี
อายุถึงปลายสมัย ฟูนัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นชุมชนที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมศิลปะศาสนาจากขอมโบราณ
ซึ่งปรากฏหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศส ชื่อ "แคมโบช" (Le Cambodge) เขียนโดยมองสิเออร์ เอเตียนน์ เอโมนิออร์
(Etienne Aymonier) ปี พ.ศ. 2444 ว่ามีบาทหลวงองค์หนึ่งพบศิลาจารึก ภาษาสันสกฤตที่ตำบลเขาสระบาป ในศิลาจารึก
มีข้อความว่า เมื่อพันปีล่วงมาแล้วมีเมือง ๆ หนึ่งชื่อว่า " ควนคราบุรี " เป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวางตั้งอยู่บริเวณ
บ้านเพนียด บ้านสระบาป ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 1 กิโลเมตร
ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ร่องรอยทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนโบราณในจังหวัดจันทบุรีในสมัยยุค
ประวัติศาสตร์นั้นปรากฏชัดเจนราวพุทธศตวรรษที่ 11 แต่อาจจะมีชุมชนตั้งหลักแหล่งอยู่ก่อนแล้ว และขยายตัวขึ้นเป็น
ชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมือง หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานนั้นอยู่ณบริเวณวัดทองทั่วและพื้นที่บริเวณใกล
้เคียง ตำบลคลองนารายณ์อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ภูมิประเทศเป็นที่ราบหน้าเขาสระบาปที่มีลำน้ำคลองนารายณ์
ไหลลงมาจากเขาสระบาปทางตอนเหนือ ผ่านไปออกสู่แม่น้ำจันทบุรีทางตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่พบแหล่งโบราณสถาน
มี 4 แห่ง คือ
|
|
|
|
1. เนินโบราณสถานวัดเพนียด (ร้าง)
2. โบราณสถานเพนียด
3. เนินโบราณสถานใกล้วัดทองทั่ว
4. เนินโบราณสถานวัดสมภาร (ร้าง)
# จากภาพถ่ายทางอากาศพบว่าตัวเมืองมีผังเมืองเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แนวถนนสุขุมวิทพาดผ่านในแนวเฉียง
เนินโบราณสถานที่เก่าที่สุดตามหลักฐานที่พบคือ จารึก ทับหลัง เสาประดับ กรอบประตู เคยเป็นที่ตั้งของวัดเพนียด
ที่ปัจจุบันเหลือเพียงเนินขนาดใหญ่ฐานล่างก่อด้วยอิฐ ลึกจากพื้นดินปัจจุบันลงไปประมาณ 4 เมตร เนินดินเป็นรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยของแนวศิลาแลงยาวประมาณ 15 เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้
สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้คงมีชุมชนอยู่อย่างหนาแน่นพอสมควรในราวพุทธศตวรรษที่ 11 และเมื่อมีการขยายชุมชน
ออกไปพร้อมกับสภาพทางการเมืองที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมโบราณตั้งแต่สมัยแคว้นเจนละเป็นต้นมาปรากฏว่า
สอดคล้องกับหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ ทับหลังแบบถาลาบริวัตรและทับหลังแบบสมโบร์ไพรกุก ราวพุทธ-
ศตวรรษที่ 12 ทับหลังแบบไพรกเมง ราวพุทธศวรรษที่ 13 เสาประดับกรอบประตูในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร
จารึก ๒ หลัก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 ภาชนะดินเผาเป็นกระปุกทรงลูกจัน รูปแบบอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
15 - 16 ไหเท้าช้าง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 เป็นต้นมา
# เนินโบราณสถานบริเวณวัดสมภาร (ร้าง) ได้แสดงให้เห็นถึงการขยายชุมชนออกไป บริเวณนี้สันนิษฐานว่าน่าจะ
เป็นศาสนสถานเช่นกัน เนื่องจากได้พบประติมากรรมขนาดเล็กในอิทธิพลของศิลปะขอมแบบนครวัด ราว พ.ศ. 1650 -
1725 ประติมากรรมที่พบมีทั้งสลักจากศิลาและทำด้วยสำริดนอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมที่หลงเหลือ
อยู่น้อย ได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ที่บริเวณวัดสระบาปที่อยู่ใกล้เคียงกัน
# เนินโบราณสถานบริเวณใกล้กับวัดทองทั่ว ในพื้นที่นี้ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ในบริเวณนี้ยังได้
พบเศียรประติมากรรมรูปเคารพขนาดเล็กสลักจากศิลาทรายสีแดง กำหนดได้ว่าเป็น ศิลปะร่วมในศิลปะขอมแบบบายน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
# หลักฐานที่หลงเหลืออยู่อย่างชัดเจนก็คือโบราณสถานเพนียด ซึ่งใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้างทั้งหมดการ
ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้างนั้น เป็นรูปแบบการก่อสร้างที่สำคัญในศิลปะขอมแบบบายน ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
ดังเช่น ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น โบราณสถานเพนียดนี้แต่เดิมมี ๒ แห่ง สร้างคู่กันในแนวเหนือใต้
ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว
# ต่อมาได้มีการย้ายเมืองมายังบริเวณบ้านหัววัง เรียกกันว่า เมืองพุงทะลาย แต่ทำเลบริเวณนี้ไม่เหมาะสม น้ำท่วม
เป็นประจำ จึงทำให้มีการย้ายเมืองอีกครั้งมายังบริเวณบ้านลุ่ม ริมแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในปัจจุบัน
# ดังนั้น จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ชุมชนบริเวณนี้คงจะมีการตั้งถิ่นฐานอย่างค่อนข้างหนาแน่นราวพุทธศตวรรษที่ 11
เป็นต้นมา ในรูปแบบสังคมเกษตรกรรม ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมร่วมสมัยกับขอมคติความเชื่อทาง
ศาสนาทั้งศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ การนับถือผีของชนพื้นเมืองที่เรียกว่า ชาวชอง มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
ในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับการถ่ายทอดจากชุมชนอื่นร่วมสมัยเดียวกัน เป็นชุมชนเปิดที่มีการคมนาคมสะดวกทั้งทางบก
และทางทะเล สามารถติดต่อกับชุมชนภายนอกได้ รวมทั้งมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ เขาสระบาปและแม่น้ำ
จันทบุรี พื้นที่ลุ่มเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการตั้งถิ่นฐานและการขยายตัวของ
ชุมชนจนกระทั่งเป็นเมือง ซึ่งในตำนานพื้นเมืองเรียกกันว่า เมืองเพนียดหรือ เมืองนางกาไวมีระบบการปกครองที่มี
กษัตริย์เป็นเจ้าเมือง
|
|
|
|
|
|
# การตั้งถิ่นฐาน สิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ.ศ.1724 - 1763 ) จันทบุรีคงจะเป็นอิสระจากขอม เนื่องจากตอน
กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมได้ประสบความหายนะทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองเนื่องจากการโหมสร้างปราสาทหิน
จำนวน 600 แห่งจึงเกิดชุมชนอิสระปรากฏขึ้นทั่วไป เมื่อจันทบุรีเป็นอิสระแล้วไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจันทบุรีขึ้นกับสุโขทัย
หรือไม่ แต่ในสมัยอยุธยาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 1893 ปรากฏชื่อเมืองจันทบุรีเป็น
ส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า จันตะบูร หรือ จันทบูร
# จันทบุรีสมัยอยุธยาตอนต้นมีฐานะเป็นประเทศราช น่าจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมืองและ
เศรษฐกิจเนื่องจากที่ตั้งจันทบุรีเหมาะที่จะเป็นเมืองท่าและเมืองที่คอยควบคุมเขมรในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเขมร ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ กล่าวว่าพระองค์ทรงให้กองทัพ
เมืองจันทบูรคุมเรือ 150 ลำ ( กรมศิลปากร, 2507 : 223 ) ปรากฏว่าเขมรถูกตีแตกยับเยิน และได้กวาดต้อนผู้คนลงมาถึง
30,000 คน ซึ่งน่าจะนำมาไว้ที่จันทบุรีบ้าง แต่ไม่ปรากฎหลักฐาน
# ที่ตั้งของตัวเมืองสันนิษฐานว่าน่าจะย้ายจากเมืองเพนียดตั้งแต่ขอมหมดอำนาจลงใน พ.ศ. ๑๗๖๓มาตั้งถิ่นฐาน
บริเวณบ้านหัววัง ตำบลพุงทะลาย (ปัจจุบันคือตำบลจันทนิมิต) ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี บริเวณดังกล่าวได้พบ
หลักฐานที่เป็นชุมชนเก่าแก่ และมีร่องรอยศิลปกรรมร่วมในอยุธยาตอนต้น และได้พบใบเสมาหลายชิ้น ( ศาลหลัก
เมืองจันทบุรี, 2536 : 48 )
# ประมาณพุทธศตวรรษที่ 2 ชุมชุมบริเวณพุงทะลายได้ขยายตัวกระจายไปตามลุ่มแม่น้ำจันทบุรีจนถึงปากอ่าว
ในระยะนี้ชุมชนจันทบุรีคงจะประกอบไปด้วยหลายเชื้อชาติ เช่น ชองซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิม คนไทยซึ่งเข้ามาในลักษณะ
เป็นผู้ปกครอง ลาว เขมร ซึ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยอยุธยาเนื่องจากสงคราม กลุ่มชนเหล่านี้จะอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ
ดังปรากฏชื่อในปัจจุบัน คือ บ้านขอม บ้านลาว
# การย้ายตัวเมืองจันทบุรีจากพุงทะลายมายังบ้านลุ่ม เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะกว่า ประกอบกับที่เดิมเป็นที่ราบ
ค่อนข้างลุ่ม มีน้ำท่วมขัง เมืองมีความคับแคบ ส่วนที่ใหม่เป็นที่ราบลาดสูงชัน เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยและป้องกันเมือง
# ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2199 - 2231 ) เขมรเกิดจลาจลทั้งไทยและญวนต่างเข้าไปแทรกแซง
นับตั้งแต่นั้นมาเขมรกลายเป็นดินแดนกันชนระหว่างไทยกับญวนเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จันทบุรีกลาย
เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการส่งข่าวเหตุการณ์ในเขมรและญวนให้ทางราชสำนักทราบ และเป็นเมือง
หน้าด่านทางตะวันออกที่คอยป้องกันการรุกรานของเขมรและญวน ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงให้
สร้างกำแพงเมือง ป้อมคูเมือง หอรบ ตามแบบตะวันตก ปัจจุบันยังคงมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บริเวณค่ายตากสินฉะนั้น
จะเห็นว่าจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
# ในคราวกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 นั้น จันทบุรีเป็นแหล่งที่ตั้ง รวมกำลังของพระยาตากจน
สามารถนำกองทัพเข้าต่อสู้กับพม่า กระทั่งกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
# ประวัติเมืองจันทบุรีในสมัยอยุธยานั้นไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามมากเท่าใดนัก อาจกล่าวได้ว่าเมืองจันทบุรี
เป็นเมืองที่สงบสุขเรื่อยมา ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยอยุธยาไทยเราทำสงครามติดพันกับพม่าซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับไทย
เฉพาะทางภาคพายัพ ( ตะวันตกเฉียงเหนือ ) และตะวันตกเท่านั้น
# ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่า สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 1927 ( ศักราชที่
กล่าวนี้เป็นศักราชที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแต่เท่าที่สอบสวนใหม่ปรากฏว่าอยู่ในแผ่นดิน
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ) ขุนหลวงพะงั่วกวาดต้อนเชลยล้านนามาไว้ในเมืองต่าง ๆ ทางภาคใต้และชายทะเล
ตะวันออกหลายเมือง เช่น นครศรีธรรมราช สงขลาพัทลุงและจันทบุรี จึงน่าจะอนุมานได้ว่าพวกไทยคงจะออกมาตั้งถิ่นฐาน
บ้านช่องกันอยู่อย่างมากมายแล้วตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวรเป็นต้นมา ครั้นต่อมาชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนเข้ามา
ในครั้งนี้คงจะได้สมพงษ์กับชาวพื้นเมืองเดิม เช่น พวงขอมและพวงชอง เป็นต้น จึงทำให้สำเนียงและคำพูดบางตอน
บางคำตลอดจนขนบธรรมเนียนประเพณีผิดแผกแตกต่างไปจากทางภาคกลาง และภาคพายัพบ้าง แม้จะผิดแผกแตก
ต่างกันไปประการใดก็ตาม ชาวเมืองจันทบุรีก็ยังคงใช้ภาษาไทยเป็นภาษาถิ่นพูดกันโดยทั่วไปตลอดทั้งจังหวัด ยกเว้น
แต่ชนหมู่น้อย เช่น ชาวจีนและชาวญวนซึ่งอพยพเข้ามาในครั้งหลังเท่านั้นที่ยังพูดภาษาของตนอยู่
# เมืองเดิมที่เขาสระบาป ตำบลคลองนารายณ์นี้น่าจะย้ายมาอยู่ใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา เพราะในรัชกาลนี้ทรงจัดระเบียบการปกครองใหม่ คือทรง
จัดตั้งจตุสดมภ์ มีเวียง วัง คลัง นา ขึ้น และทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งฝ่ายทหาร
มีชื่อเรียกว่า สมุหกลาโหม และฝ่ายพลเรือนตำแหน่งหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า สมุหนายก ส่วนนอกราชธานีออกไปก็จัดการ
ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ลดหลั่นกันลงไปตามความสำคัญของเมืองนั้น ๆ โดยทรงตั้งเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี และ
เมืองจัตวา ขึ้นไปตามลำดับ จึงทำให้เข้าใจว่าเมืองจันทบุรีน่าจะย้ายมาตั้งที่บ้านลุ่มในสมัยนี้ด้วย เพราะเมืองเดิมที่เขา
สระบาปนั้น มีภูเขาขนาบอยู่ข้างหนึ่ง คงจะไม่มีทางที่จะขยายให้ใหญ่โตออกไปจากเดิมได้ การสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มนี้
คงทำคูเมืองป้อมเหมือนที่เมืองโบราณทั้งหลาย คือ มีคูและเชิงเทินรอบเมืองทำรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ยาว ประมาณด้านละ
60 เมตร เมืองจันทบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลนี้มาตลอดจนสิ้นสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดจลาจล
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงยกพลขึ้นบกออกมาจากเมืองระยองมาตีเมืองจันทบุรีก็มาตีเมืองซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านลุ่มนี้
# แต่ในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ไทยเกิดศึกเขมร ชาวจันทบุรีถูกกวาดต้อนไปบ้าง ต่อมาสมัยสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชเมื่อ พ.ศ. 2126 พระองค์ทรงอพยพไปตีกัมพูชาและให้เกณฑ์กองทัพอาสาและกองทัพเมืองจันทบุรีคุมเรือรบ 150
ลำพลรบพลแจวหมื่นหนึ่งสรรพ ไปด้วยเครื่องศัสตราวุธปืนใหญ่น้อย กระสุนดินประสิว ให้พระยาราชบังสันเป็นแม่ทัพตี
ไปทางปากน้ำพุทไธมาศเนื่องจากราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากประเทศกัมพูชาอยู่เนือง ๆ เป็นเหตุให้สมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชพิโรธและตีกัมพูชาแตกและจับพระยาละแวกสำเร็จโทษ
# ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยาจันทบุรีปรากฏชื่ออีกครั้งหนึ่งเมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธพระเจ้าลูกยาเธอในแผ่นดิน
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ถูกควบคุมตัวมาไว้ที่เมืองจันทบุรี ด้วยสาเหตุที่เกรงว่าจะชิงราชสมบัติ
# ใน พ.ศ. 2310 เมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เนื่องด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าและมิได้ทรงกระทำ
ความผิดคิดร้ายประการใด ประชาชนยังคงให้ความเคารพนับถืออยู่มาก ทรงได้กำลังชายฉกรรจ์จากจันทบุรี จัดเป็น
กองทัพน้อย ๆ รวมกับกองกำลังจากปราจีนบุรียกไปช่วยตีกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ โปรดให้ทัพหน้าตั้งพลอยู่
ณ ปากน้ำโยทะกา พม่าทราบข่าวก็จัดทหารเข้าตีกองทัพหน้าของไทยซึ่งตั้งมั่นแตกกระจายไป กรมหมื่นเทพพิพิธเมื่อทราบ
ว่ากองทัพหน้าถูกตีแตก ก็เสด็จหนีไปที่เมืองนครราชสีมา
# เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพมาถึงเมืองระยองซึ่งเป็นหัวเมืองขนาดเล็กในขณะเมืองข้าง เคียงเป็นเมือง
ขนาดใหญ่ต่างตั้งเมืองเป็นอิสระ จึงมีความจำเป็นที่พระองค์ต้องยึดเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเป็นที่ตั้งมั่น เมืองจันทบุรีเป็น
เมืองใหญ่ที่สุดในหัวเมืองตะวันออก เหมาะที่จะยึดเป็นที่ตั้งมั่น ได้มีการวิเคราะห์เหตุผลไว้ดังนี้
1. จันทบุรีเป็นเขตที่พม่าไม่ตามมารบกวน
2. จันทบุรีเป็นหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับส่วนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น ติดต่อกับปักษ์ใต้
เขมร และพุทไธมาศ
3. จันทบุรีเหมาะเป็นทางที่จะหนีต่อไปที่อื่นได้ง่าย
# ณ เมืองระยองนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ปรึกษานายทหารและรี้พลทั้งปวงตั้งตัวเป็นอิสระเป็นเสมือน
เจ้าผู้ครองเมืองเอกทั้งหลาย เพื่อให้เป็นที่เคารพยำเกรงซึ่งจะเป็นหนทางให้กอบกู้แผ่นดินได้โดยง่าย พวกนายทหาร
เห็นชอบ ต่อมาคนทั้งปวงจึงเรียกท่านว่า "เจ้าตาก"
![](http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/picture/history-p7.jpg) |
# พระยาจันทบุรี ปฏิเสธที่จะเป็นไมตรีกับสมเด็จพระตากสินมหาราช และปรึกษากับขุมรามหมื่นซ่อง ซึ่งหนีมาจาก
ระยอง ร่วมกันออกอุบายลวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้เข้า เมืองจันทบุรี แล้วคงกำจัดได้โดยง่ายจึงนิมนต์พระสงฆ์
สี่รูปเป็นทูตไปเจรจาว่าพระยาจันทบุรีมีความยินดีช่วยเจ้าตากกู้ชาติ และออกอุบายให้หลวงปลัดนำทัพเลี้ยวไปทางใต้
โดยให้ข้ามแม่น้ำจะคอยเข้าโจมตีเมื่อพลทหารข้ามแม่น้ำ (เป็นพื้นที่ลุ่มและป่าชายเลนน้ำเค็มแม่น้ำนี้ คือ คลองน้ำใส
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทหารจากเมืองระยองดินทาง ๕ วัน ถึงบ้านพลอยแหวน) สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชได้ทราบอุบายห้ามกองทหารวกกลับลงมาทางขวา ตรงเข้าประตูท่าช้าง พักกองทหาร ณ วัดแก้ว ริมเมืองจันทบุรี
( ประตูท่าช้าง คือ บริเวณบ้านท่าช้างและคลองท่าช้าง วัดแก้วอยู่ในบริเวณค่ายตากสินเมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี
ได้สร้างอาคารคลังกระสุนทับบริเวณวัดเดิม)
# สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเรียกประชุมแม่ทัพ สั่งให้ทหารหุงอาหารและให้เทอาหารทิ้งเสีย ต่อยหม้อข้าว
หม้อแกงให้หมด คืนนี้ตีเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ไปหาข้าวเช้ากินในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ให้ตายด้วยกัน ณ วัน ๑๙ ๙ ๕ ๗
ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ( พ.ศ. 2310 ) เพลายาม พระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างพังคีรีกุญชรฉัททันต์ โดยมีหลวง
พิชัยอาสา ทหารเอกคุมทหารเดินเท้าเข้าโจมตีเมืองเจ้าเมืองจันทบุรีทิ้งเมืองหนีเอาตัวรอดไปเมืองพุทไธมาศ จากจันทบุรี
เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมไพร่พลได้ประมาณ 5,000 คน ต่อเรือและรวบรวมเรือได้ 100 ลำ ทรงนำทัพสู่อ่าวไทยเข้าสู่ปากน้ำ
เจ้าพระยา ยกพลขึ้นบกที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ โจมตีกองกำลังของนายทองอิน และเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าจนแตกพ่าย
ยับเยิน พระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ
|
|
|
|
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองจันทบุรีสมัยธนบุรี
การตั้งถิ่นฐาน เมืองจันทบุรีในสมัยกรุงธนบุรียังคงตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านลุ่ม และมีความสงบสุขไม่มีศึกสงครามตลอดมาจน
สิ้นสมัย จันทบุรีในสมัยธนบุรีเป็นเมืองที่ค่อนข้างสงบไม่มีศึกสงครามมาติดพันเป็นเพียงเมืองท่าหลักชายฝั่งทะเลตะวัน
ออกและเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่มีชัยภูมิเหมาะสมแก่การตั้งรับข้าศึกทาง ด้านญวนและ เขมร
|
|
|
|
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองจันทบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์
# การตั้งถิ่นฐาน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย เมืองจันทบุรียังคงอยู่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ครั้นต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเกิดพิพาทกับญวนเนื่องจากเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมือง
เวียงจันทน์ เอาใจออกห่างจากไทยไปสวามิภักดิ์กับญวน การทำสงครามในครั้งนั้น ใช้กองทัพบกและกองทัพเรือเมือง
จันทบุรีเป็นเมืองชายทะเลทางทิศตะวันออกอยู่ใกล้กับญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกรงว่าญวนจะมายึด
เอาเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่นเพื่อทำการต่อสู้กับไทยและเมืองจันทบุรีในขณะนั้นตั้งอยู่ในที่ลุ่มไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นฐานทัพ
ต่อสู้กับญวนฉะนั้นจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง ( ดิศ บุนนาค ) เป็นแม่กองออกมาสร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้น
ใหม่ที่บ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ ตำบลที่จะสร้างเมืองใหม่ตั้งอยู่ในที่สูงอยู่ห่างจากเมืองเดิม ไปทางทิศตะวันตกประมาณ
8 กิโลเมตร เป็นชัยภูมิดี เหมาะแก่การสร้างฐานทัพต่อสู้ข้าศึก ลักษณะของเมืองที่สร้างมีกำแพงสร้างด้วยศิลา ป้อมคู
ประตู 4 ทิศ เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 14 เส้น ยาว 15 เส้น มีปืนใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องใบเสมา สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2377 ภายในเมืองได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ดังปรากฏอยู่ในวัดโยธานิมิตว่า ได้ฝังอาถรรพณ์หลักเมืองที่
บ้านเนินวง ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม จุลศักราช 1197 คลังเก็บอาวุธกระสุนปืนใหญ่ และคลังดินปืน
กับทั้งสร้างวัดชื่อ " วัดโยธานิมิต " ขึ้นภายในเมืองใหม่นั้นด้วย
# เมื่อได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านเนินวงแล้ว รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้สั่งย้ายเมืองจันทบุรีจากที่บ้านลุ่มไปอยู่ที่
เมืองใหม่และมีความปรารถนาที่จะให้ประชาชนอพยพจากเมืองเก่าที่ตั้งเป็นจังหวัดในปัจจุบันไปอยู่ที่เมืองใหม่ด้วย
แต่เนื่องด้วยตัวเมืองใหม่อยู่บนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 30 เมตรและตั้งอยู่ห่างจากคลองน้ำใสซึ่งเป็นคลองน้ำจืด
ประมาณ 1 กิโลเมตร ไม่สะดวกแก่ประชาชนในเรื่องน้ำใช้ ประชาชนจึงไม่สมัครใจอยู่ คงอยู่ที่เมืองเก่าเป็นส่วนมาก
พวกที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานก็มีแต่ข้าราชการ ปัจจุบันยังมีบุตรหลานของข้าราชการสมัยนั้นตั้งเคหสถานอยู่ที่บ้านทำเนียบ
(อยู่ในบริเวณบ้านเนินวง) ในเมืองใหม่มาจนทุกวันนี้ ต่อมาเมื่อญวนตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สงครามระหว่างไทย
กับญวนจึงสงบลง เมืองใหม่ก็ไม่มีความสำคัญอะไรที่ประชาชนจะต้องอพยพไปอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเลือกอยู่ได้ตามความสมัครใจ ยกเว้นจวนเจ้าเมืองยังคงอยู่บ้านเนินวงจนกระทั่งรัชกาลที่ 5
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านลุ่มตามเดิม
# ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จันทบุรีจัดเป็นหัวเมืองขึ้นต่อกรมท่าต่อมาในปี พ.ศ.
2449 ได้จัดตั้งมณฑลจันทบุรีขึ้น โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด อยู่ในเขตปกครอง เมื่อถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ยกเลิกมณฑลเทศาภิบาล และจัดระเบียบบริหาร
ราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอเมืองจันทบุรีได้ขยายจากบริเวณบ้านลุ่ม ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำจันทบุรี เข้ามา
บริเวณพื้นที่ในส่วนที่เป็นที่ราบลอนลูกคลื่น อย่างไรก็ตามบริเวณบ้านลุ่มก็ยังเป็นแหล่งที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
มาจนกระทั่งปัจจุบัน
# จึงกล่าวได้ว่า เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ตัวเมืองจันทบุรี มีการตั้งถิ่นฐานดังนี้
1. บริเวณบ้านเพนียด วัดทองทั่ว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยขอมเรืองอำนาจ )
2. บริเวณบ้านพุงทะลาย ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยก่อนอยุธยา )
3. บริเวณบ้านลุ่ม ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ )
4. บริเวณบ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยรัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ )
5. บริเวณตัวเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน ( สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา )
|
|
|
|
# ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมืองจันทบุรียังคงอยู่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี จันทบุรีปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์อีกครั้งในรัชกาลของ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทกับญวนจนเป็นให้
ต้องสร้างเมืองใหม่ที่บ้านเนินวง พร้อมกับการสร้างเมืองใหม่นี้ หมื่นราชามาตย์ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้ให้
พระยาอภัยพิพิธ ( ต่อมาเป็นเจ้าเมืองตราด) เป็นแม่กองสร้างป้อมที่ด่านปากน้ำแหลมสิงห์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอม -
เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามในภายหลังว่า ป้อมพิฆาตปัจจมิตร และบนยอดเขาแหลมสิงห์ชื่อ
ป้อมไพรีพินาศในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่ผนวชอยู่ได้เสด็จมาถึงจันทบุรี ได้โปรดให้สร้าง
จุลสีห์จุมภตเจดีย์ ไว้เป็นที่ระลึกบริเวณน้ำตกคลองนารายณ์
# ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทำให้จันทบุรีต้องตกเป็น
เมืองประกันของฝรั่งเศส ในระหว่างที่ปะทะกับฝรั่งเศสนั้นทางจันทบุรีได้เตรียมต่อสู้ป้องกันตามกำลังพอที่จะกระทำได้
เพราะในเวลานั้นมีกองทหารเรืออยู่ในตัวเมืองและป้อมที่ปากน้ำแหลมสิงห์ แต่เมื่อทราบว่ารัฐบาลยอมให้ฝรั่งเศสยึด
เมืองจันทบุรีกองทหารเรือทั้งสองแห่งก็ได้โยกย้ายไปอยู่ที่เกาะจิก และอำเภอขลุง ต่อมาไม่กี่วันกองทหารฝรั่งเศสก็เคลื่อน
เข้าสู่จันทบุรีตรงกับปี พ.ศ.2436 ทหารที่เข้ามาโดยมากเป็นทหารญวนที่ส่งมาจากไซ่ง่อนที่เป็นทหารฝรั่งเศสมีจำนวนไม่
มากนักจำนวนทหารญวนและฝรั่งเศสโดยรวมประมาณ 600 นาย ได้แยกกันอยู่ 2 แห่ง คือ ที่ป้อมปากน้ำแหลมสิงห์
พวงหนึ่ง ฝรั่งเศสได้รื้อป้อมปัจจามิตรแล้วสร้างที่พักและกองบัญชาการทหาร เรียกว่า"ตึกแดง" ทั้งได้สร้างที่คุมขังนักโทษ
ชาวไทยไว้ด้วย เรียกกันว่า " คุกขี้ไก่ " อีกพวกหนึ่งตั้งอยู่ที่ตัวเมืองจันทบุรีในบริเวณพื้นที่ค่ายตากสินในปัจจุบันนี้
ฝรั่งเศสจะปกครองในส่วนกองทหารฝรั่งเศสและบุคคลที่อยู่ในความคุ้มครองของฝรั่งเศสเท่านั้น ส่วนไทยยังคงปกครอง
ดินแดนนอกเขตฝรั่งเศสยึดครองโดยมีพระยาวิชยาธิบดี (หวาด บุญนาค) เป็นเจ้าเมืองจันทบุรี
# รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสได้ทำสัญญาตกลงกัน เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ว่าฝ่าย ไทยยินยอมยก
ดินแดนเมืองตราด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตให้แก่ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกไปจากจันทบุรีจนหมด
เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ รัฐบาลไทยจึงได้ย้ายกองทหารเรือที่เกาะจิกและที่อำเภอขลุงกลับมาตั้งอยู่ในเมือง
จันทบุรีตามเดิม
# พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีถึง ๒ ครั้ง ดังปรากฏในจดหมายเหตุ
สมเด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก และทรงพอพระราชหฤทัยในธรรมชาติที่น้ำตกพลิ้วเป็นอย่างมาก จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างอนุสรณ์เป็นเจดีย์ทรงลังกาไว้เมื่อปี พ.ศ.2419 พระราชทานนามว่า อลงกรณ์เจดีย์ และในปี พ.ศ. 2424 โปรด
เกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกความรักแด่พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งเคยเสด็จประพาสต้น
ณ ที่นี้ เมื่อ พ.ศ. 2417 สร้างเป็นพีระมิดใกล้กับอลงกรณ์เจดีย์ภายในพีระมิดนี้ได้บรรจุพรอังคารของสมเด็จพระนางเจ้า
พระองค์นี้ด้วย
# สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จมาประทับที่จันทบุรี ได้พระราชทานชื่อ
บริเวณที่ประทับว่า "สวนบ้านแก้ว" ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาคือ สถาบันราชภัฏรำไพ-พรรณี นอกจากนี้ยังได้ทรงอุปถัมภ์
โรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรีจนกลายเป็นโรงพยาบาลใหญ่โตทันสมัย คือ โรงพยาบาลพระปกเกล้า
# ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จังหวัดจันทบุรีได้รับการพิจารณาให้จัดตั้ง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อำเภอ ท่าใหม่ ศูนย์แห่งนี้ได้จัดตั้งขึ้น
สำหรับการพัฒนาการประมงชายฝั่งและอนุรักษ์ป่าชายเลน รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ
# จึงอาจกล่าวได้ว่า จังหวัดจันทบุรีมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่องและบางคราวก็เข้า
มาเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยแม้ในปัจจุบันก็เป็นเมืองกันชนชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในด้านเศรษฐกิจ
ก็เป็นแหล่งที่ทำรายได้จากผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ อัญมณี แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่าง
มหาศาลชาวจันทบุรีควรภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
|
May 19, 2009 • ท่องเที่ยว
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919001.JPEG)
วัดทองทั่ว แหล่งเรียนรู้สำคัญของเมืองเพนียด
จันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้จักกันในนามเมืองจันทบูร อดีตหัวเมืองชายทะเลตะวันออกสมัยอยุธยาที่พระเจ้าตากสินมหาราชรวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราชคืนแก่ปวงชนชาวไทย สันนิษฐานว่าจันทบุรีเคยเป็น“เมืองเพนียด”มาก่อน
เมืองเพนียด มีชื่อปรากฏในพงศาวดารแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12 คือปลายสมัยฟูนันได้ค้นพบเมืองโบราณเก่าแก่ที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียมากกว่า 1,000 ปี ชาวบ้านเรียกว่า เมืองเพนียด หรือเมืองกาไว โดยเชื่อกันว่าชุมชนแรกที่เริ่มเข้ามาก่อตั้งคือ ชุมชนชอง ตั้งอยู่บริเวณที่ราบชายเขาสระบาป
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919002.JPEG)
พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพ็ชญ์ หรือ หลวงพ่อทอง
เมืองเพนียด มีลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลียมผืนผ้า กำแพงก่อด้วยศิลาแลงขนาดกว้าง 16 ม. ยาว 26 ม. สูง 3 ม. ภายในเมืองมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และยังเชื่อว่า สถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองคล้องช้างหรือขังช้าง ต่อมาได้ย้ายเมืองมาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหัววัง ต.พุงทะลาย เมืองเพนียดจึงถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้าง แต่เนื่องจากเมืองพุงทะลายมีทำเลที่ไม่เหมาะมีน้ำท่วมเป็นประจำ จึงมีการย้ายเมืองไปยังบ้านลุ่ม ริมแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในปัจจุบัน
มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับเมืองเพนียดว่า เมืองเพนียดมีพระเจ้าพรหมทัต เป็นกษัตริย์ผู้ปกครองนคร พระมเหสีคือ พระนางจงพิพัฒน์ มีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ คือ เจ้าชายบริพงษ์ และเจ้าชายวงศ์สุริยคาส ต่อมาพระนางจงพิพัฒน์ทรงสิ้นพระชนม์ลง พระนางกาไวจึงได้ทำเสน่ห์ให้พระเจ้าพรหมทัตหลงใหลและอภิเษกกัน จนพระนางได้ตั้งครรภ์จึงได้อ้อนวอนขอสิ่งที่พระนางปรารถนา พระเจ้าพรหมทัตจึงพลั้งพระโอษฐ์ให้
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919003.JPEG)
ผู้เฒ่าผู้แก่ร้องรำเพลงโบราณในโบราณสถานเมืองเพนียด
เมื่อพระนางได้ประสูติพระไวยทัต พระราชโอรส พระนางกาไวก็ได้ทูลขอพระราชสมบุติให้แก่พระไวยทัตตามที่เคยรับปากไว้ จึงทำให้เจ้าชายบริพงษ์ และเจ้าชายวงศ์สุริยคาส ต้องอพยพไปสร้างเมืองใหม่ทางเหนือของเมืองเพนียดในดินแดนเขมร เรียกว่า เมืองสามสิบ
ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต พระไวยทัตขึ้นครองราชย์สมบัติโดยมีพระนางกาไวเป็นผู้สำเร็จราชการแทน เมื่อเจ้าชายบริพงษ์ และเจ้าชายวงศ์สุริยคาสทราบข่าวจึงยกทัพมาตีเพื่อเอาพระนครคืน พระไวยทัตสู้ไม่ไหวจึงถอยทัพร่นกลับแต่ก็ถูกตีแตก พระไวยทัตถูกฟันคอสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง ตรงบริเวณเกาะทัพแตก ซึ่งเพียนมาเป็นเกาะตะแบกในปัจจุบัน
เมื่อพระนางกาไวทราบข่าวพระไวยทัตสิ้นพระชนม์ จึงได้ขนทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองออกมาโปรยหว่าน เพื่อล่อให้ข้าศึกเก็บ แต่ครั้นจะหนีก็เห็นว่าไม่มีทางรอด จึงดื่มยาพิษชื่อว่า ยามหาไวย สิ้นพระชนม์ในห้องบรรทม และสถานที่ที่พระนางกาไวหว่านทรัพย์สินเงินทองนั้น เรียกว่า ทองทั่ว และเป็นสถานที่ตั้งของ “วัดทองทั่ว” ในปัจจุบัน
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919004.JPEG)
โบราณวัตถุบางส่วนถูกเก็บอยู่ที่วัดทองทั่ว
สำหรับ “วัดทองทั่ว” ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรื่องมาช้านานพร้อมกับตำนาน และโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอายุกว่าพันปี ตามประวัติบอกไว้ว่าวัดแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดเพนียด บริเวณใกล้วัดยังมีหลักฐานกำแพงเมืองปรากฏอยู่ มีหลักฐานเก่าให้เชื่อว่าเป็นวัดโบราณ อาทิ ใบเสมาของอุโบสถเก่าเป็นแบบใบเสมาคู่ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย
โดยเชื่อว่าวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง เนื่องจากพบใบสีมาคู่เก่าแก่รอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ตามลักษณะใบสีมาจัดอยู่ในสมัยนิยมอยุธยา มีรูปเทวดาถือดอกบัว 2 ดอก แยกออกซ้ายขวา บางแห่งกล่าวว่าเป็นศิลปะศรีวิชัย ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพ็ชญ์” หรือ “หลวงพ่อทอง” เป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่คู่มากับพระอุโบสถ
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919005.JPEG)
หน้าวัดทองทั่วมีเจดีย์โบราณรูปทรงลังกา ลักษณะนิยมสมัยอยุธยา
ตามคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ เล่าว่า เมื่อพ.ศ.2471 ได้มีการบูรณะอุโบสถพร้อมพระประธาน ซึ่งพระประธานได้เอียงทรุดไปด้านหนึ่ง จึงได้เกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันดีดแล้วค้ำยันองค์พระให้ตั้งตรง แต่ส่วนฐานพระประธานกลับหลุดกะเทาะ ตรงปูนปั้นด้านหน้าฐานพระที่เรียกว่า ผ้าทิพย์ ก็ได้พบโกศงาช้างกลึงสวยงาม ภายในโกศมีกระดูก 2 ชิ้น มีผ้าดิ้นลายทองยกรูปดอกไม้พื้นสีออกม่วงห่อไว้
และได้พบแผ่นทองคำรูปใบโพธิ์เขียนจาตึกเป็นตัวหนังสือไว้ว่า พระอัฐิ พระเจ้าตาก พระยาจันทบุรีเป็นผู้นำมาไว้ แต่ต่อมาแผ่นทองนั้นก็ได้หายไป อีกทั้งจนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสืบค้นได้ว่าพระยาจันทบุรีนี้คือใคร และนำมาไว้ที่วัดแห่งนี้เมื่อใด สันนิษฐานว่าคงจะนำมาไว้เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อถวายพระเพลิงพระศพเรียบร้อยแล้ว
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919006.JPEG)
ซากโบราณสถานเมืองเพนียด
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกมากมาย อาทิ ธรรมมาส สร้างในปีพ.ศ.2467 โดยขุนนราพิทักกรม มีลวดลายแกะสลักที่งดงามตามยุคสมัย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุเรียบร้อยแล้วและยังคงมีการใช้แสดงธรรมในวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ
ตู้พระไตรปิฎกลายทอง อายุราว 200 กว่าปี เป็นตู้ลายรดน้ำลายทองเป็นลายกนกเปลวเพลิง ด้านข้างเป็นลายกนกเปลวเพลิงเล่าเรื่องรามเกียรติ์และสัตว์ป่าหิมพานต์ ที่บานประตูเป็นรูปเทวดาเปรียบเหมือนเป็นผู้รักษา มี 2 ชั้นใช้สำหรับเก็บพระไตรปิฎก
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919007.JPEG)
กระดูกที่สันนิษฐานว่าเป็นพระอัฐิพระเจ้าตาก
หีบคัมภีร์ขนาดใหญ่ อายุราว 300 กว่าปี มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู แกะสลักลานกนกใบเถาวัลย์เป็นรูปสัตว์ต่างๆ และลายเทพพนม และหีบพระธรรม อายุราว 200 ปี เป็นหีบสำหรับใส่หนังสือพระมาลัย ใช้สวดพระมาลัย เป็นทำนองที่ไพเราะ เป็นลายกนกเปลวเพลิงมีเทวดา 3 องค์ และรูปเล่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นลายรดน้ำปิดทอง
ด้านนอกพระอุโบสถยังมีเจดีย์ 2 องค์ เป็นรูปทรงลังกา ลักษณะนิยมสมัยอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์ทั้ง 2 องค์น่าจะสร้างขึ้นในสมัยนั้นคู่มากับวัด แต่ก็มีชาวบ้านเล่ากันว่า เจดีย์องค์ที่อยู่หลังอุโบสถ ปัจจุบันคือองค์หน้าศาลาการเปรียญได้สร้างก่อนทั้ง 2 องค์ มีลายศิลปะผสมผสานกันอายุราว 200 ปี นับเป็นโบราณสถานของวัดชิ้นหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองมานับร้อยปี
อีกทั้งยังมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรบริเวณเมืองเพนียด เป็นจารึกศิลาแลง ขนาดกว้าง 49 ซม. สูง 47 ซม. หนา 16.5 ซม. จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ ชื่อว่า “จารึกวัดทองทั่ว-ไชยชุมพล”
จารึกที่พบอีกหลักก็คือ “จารึกเพนียด” เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ สันสกฤต และเขมร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันก็เก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ เช่นกัน และยังพบ “จารึกเพนียดหลักที่ 52″ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ อายุราวเดียวกับจารึกเพนียดเช่นกัน
![](http://pics.manager.co.th/Images/552000005919008.JPEG)
โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบบริเวณเมืองเพนียดจัดเก็บไว้ที่วัดทองทั่ว
นอกจากนี้ยังมีการขุดพบโบราณวัตถุ ชิ้นส่วนเทวรูป และเศษถ้วยชามต่างๆ ภายในเมืองเพนียด ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บไว้ที่วัดทองทั่ว จากหลักฐานที่พบในเมืองเพนียดพอจะระบุได้ว่าเมืองเพนียดตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18 คงจะร่วมอยู่ในวัฒนธรรมเขมร จนกระทั่งอาณาจักรเขมรถูกอยุธยาเข้ายึดครอง
และวัดทองทั่วแห่งนี้ กรมการศาสนาได้ออกหนังสือรับรองสภาพวัดว่าได้ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2318 ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ศิลปะโครงสร้างเดิมเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงต่อเติมบางส่วนจนเป็นดังปัจจุบัน
ตำนานเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ นานมาแล้วยังมีกษัตรย์ผู้ครองนครโบราณพระองค์หนึ่งเข้าใจว่านครนั้น คือ เมือง
จันทบุรี ที่เชิงเขาสระบาป ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงสืบราชบัลลังค์มาจากใคร เมื่อใดไม่ทราบทราบแต่ว่า
พระองค์มีเอกอัครมเหสี และมีราชโอรสด้วยกันสองพระองค์ องค์โตทรงพระนามว่าเจ้าบริพงษ์ องค์น้องทรงพระนามว่าเจ้าวงษ์
สุริยมาศ ต่อมามเหสีสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงอภิเษกมเหสีองค์ใหม่ขึ้นอีก ทรงพระนามว่าพระนางกาไว ซึ่งมีพระ
ศิริโฉมงามมาก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนัก และมีพระโอรสด้วยกัน ๑ พระองค์ ทรงพระนามว่าพระไวยทัต
|
พระนางกาไวเป็นผู้มีจิตใจอิจฉาริษยาในราชโอรสที่ประสูตจากพระมเหสีองค์เดิมและ
มักใหญ่ใฝ่สูงหวังจะให้พระไวยทัตราช โอรสครองนคร ตนจะได้มีอำนาจต่อไป หากว่า
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จสวรรคตแล้ว จึงทรงวางแผนกำจัดเจ้าบริพงษ์ และเจ้าวงษ์สุริย
มาศ ซึ่งตามกฏมณเฑียรบาลย่อมมีสิทธิในราชสมบัติมากกว่า เพื่อมิให้เป็นที่กีดขว้าง
แผนงานของตน ความคิดนี้คงจะทรงคิดมาตั้งแต่แรกที่ได้ทรงเสกสมรส ครั้นเมื่อตนมี
พระ
วันที่ 13 ส.ค. 2552
🥰 น้อนน่ารัก 🥰 พร้อมส่ง ส่งฟรี โปรโมชั่น ตุ๊กตานุ่ม รูปการ์ตูน Tiktok Capybara Kapibara น่ารัก ของขวัญวันเกิด สําหรับเพื่อน แฟนสาว ในราคา ฿297 - ฿470 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/5AceZG8iGR?share_channel_code=6
Advertisement
![70..สิ่งที่เรายังไม่รู้(ก็มี) 70..สิ่งที่เรายังไม่รู้(ก็มี)](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง ![วันนี้ขอเสนอสาระดีๆ..ขอให้มี"ความอดทน" วันนี้ขอเสนอสาระดีๆ..ขอให้มี"ความอดทน"](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,198 ครั้ง ![ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,224 ครั้ง ![....คำถามกวนๆ<>เฉลยแบบขำๆ.... ....คำถามกวนๆ<>เฉลยแบบขำๆ....](news_pic/p94695710652.jpg) เปิดอ่าน 7,812 ครั้ง ![ดูแลหุ่นอย่างไร....ให้ฟิตและเฟิร์ม ...สกัดส่วนเกินออกจากร่างกาย ดูแลหุ่นอย่างไร....ให้ฟิตและเฟิร์ม ...สกัดส่วนเกินออกจากร่างกาย](news_pic/p88605641840.jpg) เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง ![นักเรียนหลังห้อง กับเด็กอ่อนแอ นักเรียนหลังห้อง กับเด็กอ่อนแอ](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง ![เรื่องฝนฝน . ในวันที่ฝนตก เรื่องฝนฝน . ในวันที่ฝนตก](news_pic/p30272980228.jpg) เปิดอ่าน 7,260 ครั้ง ![รักนี้ชั่วนิรันดร์-4 (แด่ความรักที่เป็นไปไม่ได้) รักนี้ชั่วนิรันดร์-4 (แด่ความรักที่เป็นไปไม่ได้)](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง ![ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,494 ครั้ง ![...ฉันกลัวผี ...ฉันกลัวผี](news_pic/p29550682205.jpg) เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง ![NEW YEAR NEW YEAR](news_pic/p36037242047.jpg) เปิดอ่าน 7,196 ครั้ง ![บทกลอนเชิดชูคุณค่าภาษาไทย....... 29 กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ บทกลอนเชิดชูคุณค่าภาษาไทย....... 29 กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ](news_pic/p37420510608.jpg) เปิดอ่าน 7,503 ครั้ง ![Gramsci: นักคิดแนวทฤษฎีวิพากษ์รุ่นสอง Gramsci: นักคิดแนวทฤษฎีวิพากษ์รุ่นสอง](news_pic/arrow.jpg) เปิดอ่าน 7,242 ครั้ง ![@.....5 เทคนิคสวยใสหลังปาร์ตี้.....@ @.....5 เทคนิคสวยใสหลังปาร์ตี้.....@](news_pic/p82595860334.jpg) เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง ![ชื่อ - นามสกุล นี้มีจริงหรือ???? ชื่อ - นามสกุล นี้มีจริงหรือ????](news_pic/p90725081129.jpg) เปิดอ่าน 7,276 ครั้ง ![10 ไม้ประดับควรมีบนโต๊ะทำงาน 10 ไม้ประดับควรมีบนโต๊ะทำงาน](news_pic/p10137850736.jpg) เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง
|
![อาหารชีวจิต..ช่วยชีวิตให้ดีขึ้น อาหารชีวจิต..ช่วยชีวิตให้ดีขึ้น](news_pic/p94818381318.jpg)
เปิดอ่าน 7,193 ☕ คลิกอ่านเลย |
![วันแม่แห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ](news_pic/arrow.jpg)
เปิดอ่าน 7,462 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ทดสอบจิตใจ......สาวๆ ทดสอบจิตใจ......สาวๆ](news_pic/p39128831606.jpg)
เปิดอ่าน 7,199 ☕ คลิกอ่านเลย | ![มาทำความรู้จักกับ.....ควายนม... มาทำความรู้จักกับ.....ควายนม...](news_pic/arrow.jpg)
เปิดอ่าน 7,192 ☕ คลิกอ่านเลย | ![แบบฝึกหัด......เรื่องการแต่งโคลง แบบฝึกหัด......เรื่องการแต่งโคลง](news_pic/p89304441518.jpg)
เปิดอ่าน 7,186 ☕ คลิกอ่านเลย | ![สัญญาณเตือน 11 โรคฮิตคนยุคไอที สัญญาณเตือน 11 โรคฮิตคนยุคไอที](news_pic/p34359721454.jpg)
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย | ![จากกายสู่ใจ ...........ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว จากกายสู่ใจ ...........ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว](news_pic/arrow.jpg)
เปิดอ่าน 7,213 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ ![การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ](news_pic/p30530121032.jpg)
เปิดอ่าน 27,257 ครั้ง | ![นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2558](news_pic/p78430681357.jpg)
เปิดอ่าน 15,453 ครั้ง | ![ประโยชน์ของขมิ้นชัน ประโยชน์ของขมิ้นชัน](news_pic/p73864221717.jpg)
เปิดอ่าน 3,574 ครั้ง | ![ภูกระดึงเปิดฤดูท่องเที่ยว รับอากาศเย็น 1 ต.ค.นี้ ภูกระดึงเปิดฤดูท่องเที่ยว รับอากาศเย็น 1 ต.ค.นี้](news_pic/p23523820446.jpg)
เปิดอ่าน 10,172 ครั้ง | ![ตู้เก็บเอกสาร ในห้องเรียนมีประโยชน์อย่างไร ตู้เก็บเอกสาร ในห้องเรียนมีประโยชน์อย่างไร](news_pic/p42908460417.jpg)
เปิดอ่าน 19,892 ครั้ง |
|
|
|
|
|
ครูบ้านนอกดอทคอม
เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย
|
|
|
|
kroobannok.com |
© 2000-2020 Kroobannok.com
All rights reserved.
Design by : kroobannok.com
ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory
|
วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
![](kroobannok.gif) |
ครูบ้านนอกดอทคอม
เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง
ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร
ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู
ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา
และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ |
เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548
Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383
|
![](banners/kroobannok.gif) |
|
|
|
|
|
|
|
|
| | | |