ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย


ภาษาไทย เปิดอ่าน : 23,444 ครั้ง
Advertisement

ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย

Advertisement

อักษรขอมบรรจง

loading picture
อักษรมอญ
loading picture
loading picture

             ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ไทยเข้ามามีอำนาจ  ครอบครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพม่า เมื่อได้ตั้งมั่นอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำอริวดีแล้ว ก็ได้แผ่อิทธิพล  เข้าครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของสุวรรณภูมิ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ และได้พยายามแผ่อิทธิพล เข้ามาในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่ถูกไทยยับยั้งไว้ แต่อิทธิพลของพม่า ได้ครอบคลุมไปถึงล้านนาไทยและไทยใหญ่ ทำให้ชาวไทยหลายเผ่า  ได้รับเอาตัวหนังสือของพม่า  ไปดัดแปลงใช้
จะเห็นว่าตัวหนังสือของไทยใหญ่ และกลุ่มคนไทยทางภาคเหนือหลายเผ่า มีลักษณะคล้ายตัวหนังสือมอญ และพม่า
อักษรพม่า

loading picture
loading picture

             ชาวไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทยหลายเผ่า ต่างได้ดัดแปลงสร้างตัวหนังสือไทยขึ้น ใช้เขียนภาษาของตน ซึ่งภาษาไทยเท่านั้น เป็นสิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงให้รู้ว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นคน ที่มีเชื้อสายไทยด้วยกัน  ถ้าจะแบ่งเผ่าไทย ที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทย อาจจะแบ่งได้เป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ
            ๑. กลุ่มไทยน้อย ที่อยู่ในล้านนาไทย สิบสองปันนา ซึ่งอยู่ทางเหนือของไทย ได้แก่ ไทยลื้อ ไทยเขิน ไทยยอง เป็นต้น
            ๒. กลุ่มไทย ที่อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินโดจีน บริเวณอ่าวตังเกี๋ย พวกที่อยู่ในล้านช้าง หัวพันทั้งห้าทั้งหก ได้แก่ ลาว ไทยดำ ไทยขาว และอื่น ๆ
            ๓. กลุ่มไทยใหญ่ ที่อยู่ในแคว้นฉาน ทางภาคเหนือของพม่า มีเมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงตุง เป็นต้น และพวกที่อพยพ เข้าไปในแคว้นอัสสัมของอินเดีย ได้แก่ ไทยอาหม ไทยขำตี่ และพวกอื่น ๆ
            ๔. กลุ่มไทย ที่ยังคงอยู่ในดินแดนตอนใต้ และตะวันตกของจีน ได้แก่ พวกไทยโท้ ไทยนุง ไทยทุงเจีย และอื่น ๆ
ตัวหนังสือของกลุ่มพวกไทยน้อย
            พวกล้านนาไทย และสิบสองปันนา อยู่ใต้อิทธิพลของพม่า รูปแบบตัวหนังสือของพวกไทยกลุ่มนี้ จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรมอญ การเรียงคำควบกล้ำ ก็ใช้ตัวพยัญชนะเรียงซ้อนกันทางด้านตั้ง คือตัวหนึ่งอยู่บนอีกตัวหนึ่ง ลักษณะแบบเดียวกับอักษรมอญ และอักษรขอม แต่ก็ได้รับอิทธิพล ของตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไปด้วย จึงมีรูปตัวหนังสือบางตัว มีรูปแบบผสมผสาน  ระหว่างอักษรมอญ กับอักษรไทยสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตัวอักษรไทยลื้อและไทยลานนา ได้รับเอาวรรณยุกต์ เอก โท ของไทยไปด้วย
   ตัวหนังสือไทยน้อยในแคว้นสิบสองปันนาหรือตัวหนังสือไทยลื้อ

loading picture

            พวกไทยน้อย อยู่ในดินแดนทางเหนือ ห่างไกลจากกัมพูชา ไม่ได้ถูกอิทธิพลของขอมครอบงำ ภาษาจึงไม่มีคำเขมรแทรกเข้ามาแม้แต่คำเดียว และตัวหนังสือที่ใช้ ก็เป็นเชื้อตัวหนังสือไทยเดิม ตัวหนังสือได้แบบมาจากมอญโบราณ ซึ่งมักเขียนเป็นตัวกลม โดยมิได้แปลงผ่านมาจากอักษรพม่า ตัวหนังสือไทยน้อยนี้ ได้เป็นต้นแบบของหนังสือธรรม ในภาคพายัพและภาคอิสานของไทย อักษรและสระของไทยลื้อ มีดังนี้
            พยัญชนะมีพยัญชนะ ๒๗ ตัว คือ ก  ข  ค  ง  จ  ช  ญ  ฏ  ฑ  ณ  ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ป  ผ  พ  ฟ ม  ย  ร  ล  ว  ส  ห
            สระ  มีอยู่ ๑๖ รูป ด้วยกันคือ  ะ  ๆ     ิ     ี     ึ     ื   ุ     ู    เ  แ  โ  อ  เ ือ  ำ  ไ  เ า
   ตัวหนังสือไทยล้านนา

loading picture
loading picture
loading picture

            กลุ่มคนไทยในดินแดนล้านนาไทย ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และบริเวณทางเหนือขึ้นไป เป็นกลุ่มคนไทยที่ตั้งเป็นบ้านเมือง มีพระมหากษัตริย์ปกครองเป็นปึกแผ่นอยู่แล้ว ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ทรงตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และสร้างราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น  ไทยล้านนา จึงมีประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของตนเองโดยเฉพาะ มีศิลาจารึกหลายแผ่น ที่พบทางแคว้นล้านนา และมีคัมภีร์ที่จารลงบนใบลาน เป็นจำนวนมาก แสดงว่าไทยล้านนา  ได้สร้างตัวอักษรไทยล้านนาขึ้น และได้ใช้อยู่ก่อนลายสือไท  ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ภายหลัง เมื่อมีลายสือไทขึ้นแล้ว ไทยล้านนาก็รับเอาลายสือไทเข้าไปใช้ด้วย แต่วิธีเขียน ยังคงอาศัยแบบอักษรมอญ
           พยัญชนะตัวหนังสือล้านนา
                มีอยู่ ๔๓ ตัว ด้วยกัน คือ  ก  ข  ค  ต  ฆ  ง  จ  ฉ  ช  ซ  ฌ  ญ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ต  ถ  ท  ด  ธ  น  บ  ป  ผ  ฝ  พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ศ  ษ  ส  ห  ฬ
อ  ฮ  ยิ
           สระลอย
                มีอยู่ ๘ ตัว คือ    อะ   อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ
            สระจม
                มีอยู่ ๒๘ ตัว คือ  ะ  า   ิ     ี     ึ     ื   ุ    ู    เ-ะ  เ-  แ-ะ  แ-  โ-ะ  โ  เ-าะ  -อ  เ-อะ  เ-อ  เ-ียะ  เ-ีย  เ-ือะ  เ-ือ -ัวะ  -ัว  -ำ  ไ-  ไย  เ-า

 

ที่มา หอมรดกไทย

เตาปิ้งย่างไม่ง้อไฟฟ้า Lucky Flame เตาย่างปิคนิค ใช้แก๊สกระป๋อง ตะแกรงสแตนเลส LF-90G ในราคา ฿1,029

https://s.shopee.co.th/10n3MpBmWf?share_channel_code=6


ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทยตัวหนังสือไทยต่างๆนอกราชอาณาจักรไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

พยางค์ และ คำ

พยางค์ และ คำ


เปิดอ่าน 116,866 ครั้ง
อักษรไทยสมัยสุโขทัย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย


เปิดอ่าน 46,563 ครั้ง
สุภาษิตอิศรญาณ

สุภาษิตอิศรญาณ


เปิดอ่าน 372,254 ครั้ง
คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์


เปิดอ่าน 592,107 ครั้ง
คำพังเพย

คำพังเพย


เปิดอ่าน 44,867 ครั้ง
สุภาษิต หรือ ภาษิต

สุภาษิต หรือ ภาษิต


เปิดอ่าน 47,154 ครั้ง
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล

"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล


เปิดอ่าน 27,668 ครั้ง
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ

คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ


เปิดอ่าน 11,031 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

เปิดอ่าน 870,009 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สำนวนไทย
สำนวนไทย
เปิดอ่าน 80,616 ☕ คลิกอ่านเลย

การเขียนที่ถูกต้องของคำว่า "โรฮีนจา-เมียนมา" แทน "โรฮิงญา-เมียนมาร์"
การเขียนที่ถูกต้องของคำว่า "โรฮีนจา-เมียนมา" แทน "โรฮิงญา-เมียนมาร์"
เปิดอ่าน 23,931 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่มาของคำว่า "บางกะปิ"
ที่มาของคำว่า "บางกะปิ"
เปิดอ่าน 20,587 ☕ คลิกอ่านเลย

คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์
เปิดอ่าน 592,107 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ (ใหม่)
หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ (ใหม่)
เปิดอ่าน 48,015 ☕ คลิกอ่านเลย

อนุญาต หรือ อนุญาติ
อนุญาต หรือ อนุญาติ
เปิดอ่าน 206 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทฤษฎีบทขิองปิทาโกรัส
ทฤษฎีบทขิองปิทาโกรัส
เปิดอ่าน 49,889 ครั้ง

ผลวิจัยใหม่ระบุ "ความสุข" ไม่ทำให้อายุยืน
ผลวิจัยใหม่ระบุ "ความสุข" ไม่ทำให้อายุยืน
เปิดอ่าน 11,513 ครั้ง

รวมระเบียบต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
รวมระเบียบต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 108,179 ครั้ง

งานแกะสลักไม้
งานแกะสลักไม้
เปิดอ่าน 170,319 ครั้ง

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม
เปิดอ่าน 15,214 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ