ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ภาษาไทย 10 ก.พ. 2558 เปิดอ่าน : 15,321 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
Advertisement

คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ


คำนี้กำลังฮิตในขณะนี้ เพราะบังเอิญไปตรงกับชื่อของวัดหนึ่ง (ซึ่งบางคนเปลี่ยนให้ใหม่เป็น "บริษัท") และบริษัท..เอ๊ย..วัดนี้นำเอาคำว่าธรรมกายไปใช้เป็นผลของการปฏิบัติธรรม

ถ้าสืบดูพระไตรปิฎกจะมีคำนี้อยู่แต่มีในความหมายธรรมดา มิได้มีความหมายพิเศษอะไร ขอยกมาให้ดูดังนี้

ในที่แห่งหนึ่ง (พระไตรปิฎกเล่มที่ 11 อัคคัญญสูตร) กล่าวว่า สามเณรชื่อวาเสฏฐะและภารทวาชะ นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ที่บุพพาราม เมืองสาวัตถี พระพุทธองค์ตรัสถามว่า เธอทั้งสองเกิดในวรรณะพราหมณ์ ละวรรณะเดิมของตนมาบวชอยู่ในธรรมวินัยของพระองค์ ไม่ถูกพวกพราหมณ์ต่อว่าหรือ

สามเณรทั้งสองกราบทูลว่า "ถูกต่อว่ามากเลย บ้างก็ด่าเอาแรงๆ ว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นพราหมณ์ เกิดในวรรณะประเสริฐ เกิดจากปากพระพรหม ทำไมบวชกับคนวรรณะต่ำ วรรณะเลวคือพวกสมณะโล้น พวกที่เกิดจากเท้าพระพรหม"

พระพุทธองค์ตรัสว่า พวกพราหมณ์ลืมความหลังของตน แถมยังพูดเท็จอีกต่างหาก

สามเณรทั้งสองกราบทูลถามว่าคืออย่างไร พระองค์ตรัสต่อไปว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น ความจริงก็เกิดจากกำเนิดนางพราหมณี นางพราหมณีตั้งครรภ์ ใคร ๆ ก็เห็น อุ้มครรภ์มาแปดเก้าเดือนกว่าจะคลอด ใครๆ ก็เห็น คลอดออกมาแล้ว ดื่มนมแม่ ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบโต ใครๆ ก็เห็น พวกนี้เกิดจาก "โยนี" ของนางพราหมณีแท้ๆ ยังจำความไม่ได้ แถมยังพูดเท็จว่า เกิดจากปากพรหม

จากนั้นพระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "พวกเธอมาบวชในศาสนาของตถาคต ถ้าใครถามว่าพวกเธอเป็นใคร จงบอกเขาไปว่า เป็นสมณะศากยบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้าง เป็นธรรมทายาท เป็นธรรมกาย เพราะคำว่า "ธรรมกาย" พรหมกาย ธรรมภูต พรหมภูตนี้เป็นชื่อของตถาคต

ธรรมกายในที่นี้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า ไม่มีความหมายอะไรพิเศษ

อีกแห่งหนึ่งคือในคัมภีร์อปทาน พระนางปชาบดีโคตมี พระแม่น้าของพระพุทธองค์ กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีระเจ้า พระองค์เป็นบิดาของหม่อมฉัน รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้เลี้ยงดูให้เจริญเติบโต ส่วน "ธรรมกาย" อันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน เป็นสิ่งอันพระองค์ทำให้เจริญเติบโต" แปลไทยเป็นไทยก็คือ รูปกายของพระพุทธเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีเลี้ยงให้เจริญเติบโต ธรรมกายของพระนาง อันพระพุทธองค์ทรงเลี้ยงให้เจริญเติบโต

รูปกายคือกองแห่งกาย ประชุมแห่งกาย อันได้แก่ขันธ์ 5 (รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เรียกสั้นๆ ว่า "ร่างกาย" นั้นเอง เพราะร่างกายก็คือประชุมแห่งส่วนประกอบทั้ง 5 นี้ ธรรมกายคือ "กองแห่งธรรม" กองแห่งธรรมนี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าได้แก่ โลกุตรธรรม (มรรค ผล นิพพาน) หรืออริยสัจนั้นเอง

รูปกาย ใช้คู่กับ ธรรมกาย ในกรณีนี้อาจแปลเอาง่ายๆ ว่า ได้แก่ "ร่างกาย กับ จิตใจ" (จิตใจที่เข้าถึงโลกุตรธรรม) ความหมายธรรมดาก็คือ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเลี้ยงกายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเลี้ยงจิตใจของพระนาง เพราะฉะนั้น ต่างองค์ก็ต่างเป็นมารดาและบิดาของกันและกัน

พระพุทธองค์ทรงเลี้ยงจิตใจของพระนางด้วยอะไร หรือเลี้ยงโดยวิธีใด ก็คือทรงสอนให้พระนางได้ตรัสรู้ธรรม ให้รู้อริยสัจ 4 หรือโลกุตรธรรม (มรรค ผล นิพพาน) นั้นเอง เพราะฉะนั้น ธรรมกายจึงมีความหมายครอบคลุมถึง "โลกุตรธรรม" หรือ "อริยสัจ" นั้นด้วย

พูดตามภาษาชาวบ้านก็ว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นแม่บังเกิดเกล้าในทางโลกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นพ่อบังเกิดเกล้าในทางธรรมของพระนาง

ก็เท่านั้น เท่านั้นจริงๆ ไม่มีความหมายเป็นพิเศษ

พูดง่ายๆ สั้นๆ ธรรมกายหมายถึงพระนามของพระพุทธเจ้า และโลกุตรธรรมอันเป็นคุณสมบัติที่เลี้ยงจิตใจให้เติบโตเต็มที่นั้นแล

ต้องเข้าใจว่า ผมพูดถึงเฉพาะความหมายของคำเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการนำเอาคำที่มีความหมายสามัญธรรมดาไปสร้างเป็น "ระบบ" ความคิดความเชื่อขึ้นมานะครับ

ส่วนใครจะนำเอาคำว่าธรรมกายไปมีความหมายพิเศษ เช่น เติมคำว่า "วิชชา" เข้าไป เป็น "วิชชาธรรมกาย" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับคำว่า "ธรรมกาย" ล้วนๆ ที่เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า และเป็นนวโลกุตรธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

เมื่อเป็น "วิชชา" ก็ต้องมีความหมายลึกลับ ดุจวิทยายุทธ์ลับที่อาจารย์สงวนไว้ให้คนบางคน ไม่ให้บางคน เพราะฉะนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับวิชชานี้จึงมีต่อมาว่า

เดิมพระพุทธเจ้าทรงสอน แต่หลังจากพระองค์ปรินิพพานไปได้ 500 ปี วิชชานี้หายไป มาโผล่ขึ้นใหม่หลังจากนั้นห้าร้อยกว่าปีต่อมา

ความเชื่ออย่างนี้ไม่สอดคล้องกับแนวพุทธธรรมแล้วครับเพราะนวโลกุตรธรรม (มรรคผล นิพพาน) ของพระพุทธเจ้าเป็นอกาลิโก (ไม่ขึ้นอยู่กับกาล) เป็นเอหิปัสสิโก (พิสูจน์ได้ ไม่ใช่สิ่งลึกลับ) สันทิฏฐิโก (ปฏิบัติแล้วเห็นได้ด้วยตนเอง) โอปนยิโก (เป็นสิ่งที่พึงน้อมนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง) ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ (ผู้รู้พึงรู้แจ้งเฉพาะตน)

อยากเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง คือตอนที่พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนัก ปริพาชก (นักบวชต่างศาสนา) คนหนึ่งนามว่าสุภัททะ เข้าไปแจ้งความจำนงกับพระอานนท์ขอเฝ้าถามปัญหากับพระพุทธองค์ ทีแรกพระอานนท์ไม่อนุญาต เพราะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนัก แต่ในที่สุดได้รับพุทธานุญาตให้เข้าไปเฝ้า

สุภัททะถามข้อข้องใจของตนหลายเรื่อง หนึ่งในหลายเรื่องคือ พระอรหันต์มีอยู่หรือไม่ (ความประมาณนี้แหละครับ)

พระพุทธองค์ตรัสตอบเป็น "หลักการ" ว่า "ตราบใดสาวกของพระองค์ยังเป็นอยู่โดยชอบ (คือปฏิบัติถูกตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด) อยู่ โลกก็ไม่ว่างจากพระอรหันต์"

พุทธวจนะนี้แสดงว่า พระอรหันต์จะมีหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่า มีผู้ปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคมีองค์แปดหรือไม่

ถ้ามีผู้ปฏิบัติถูกต้อง พระอรหันต์ก็มี ถ้าไม่มีผู้ปฏิบัติถูกต้อง พระอรหันต์ก็ไม่มี

ไม่รู้สินะครับ ถ้าสิ่งที่อาจารย์บางท่านเรียกว่า "วิชชาธรรมกาย" คือสิ่งเดียวกับ "โลกุตรธรรม" (มรรค ผล นิพพาน) การที่ใครก็ตามพูดว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 500 ปี วิชชาธรรมกายหรือโลกุตรธรรมได้หายไปนั้น ก็เท่ากับบอกว่า หลังจาก พ.ศ. 500 ปีเป็นต้นมา ไม่มีผู้ปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรค หรือพูดให้ชัดว่า ไม่มีพระอรหันต์ ก็ฟังแหม่งๆ และขัดแย้งกับหลักการของพระพุทธเจ้าแล

ก็ต้องจบข้อเขียนเกี่ยวกับคำว่าธรรมกายเพียงเท่านี้ เพราะถ้าเขียนมากกว่านี้ จะมิใช่การอธิบายความหมายของศัพท์ แต่จะกลายเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์ไป

 

ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 ก.พ. 2558

 


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7

แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7
เปิดอ่าน 5,003 ครั้ง
ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร

ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร
เปิดอ่าน 68,958 ครั้ง
อักษรไทยสมัยสุโขทัย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 42,226 ครั้ง
กริยา กับ กิริยา

กริยา กับ กิริยา
เปิดอ่าน 74,041 ครั้ง
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ

คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ
เปิดอ่าน 9,181 ครั้ง
ประโยคเพื่อการสื่อสาร

ประโยคเพื่อการสื่อสาร
เปิดอ่าน 291 ครั้ง
ความสำคัญของภาษาไทย

ความสำคัญของภาษาไทย
เปิดอ่าน 318,899 ครั้ง
เอเปก หรือ เอเปค

เอเปก หรือ เอเปค
เปิดอ่าน 3,301 ครั้ง
จะใช้คำว่าทัศนะและทรรศนะได้เมื่อไหร่

จะใช้คำว่าทัศนะและทรรศนะได้เมื่อไหร่
เปิดอ่าน 82,719 ครั้ง
แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย

แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
เปิดอ่าน 3,852 ครั้ง
การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน
เปิดอ่าน 58,105 ครั้ง
ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร

ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร
เปิดอ่าน 5,574 ครั้ง
โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ
เปิดอ่าน 81,986 ครั้ง
ภาษาเขียนและตัวอักษร

ภาษาเขียนและตัวอักษร
เปิดอ่าน 22,480 ครั้ง
คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย

คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย
เปิดอ่าน 152,963 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร
ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร
เปิดอ่าน 68,958 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ
เปิดอ่าน 9,181 ☕ คลิกอ่านเลย

สักวา
สักวา
เปิดอ่าน 41,340 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟุตปาธ-บาทวิถี : ภาษาไทยน่ารู้
ฟุตปาธ-บาทวิถี : ภาษาไทยน่ารู้
เปิดอ่าน 43,520 ☕ คลิกอ่านเลย

"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล
เปิดอ่าน 22,912 ☕ คลิกอ่านเลย

แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
เปิดอ่าน 3,852 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักภาษาไทย ฉันทลักษณ์
หลักภาษาไทย ฉันทลักษณ์
เปิดอ่าน 62,323 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อำลาโทรเลขไทย 133 ปี
อำลาโทรเลขไทย 133 ปี
เปิดอ่าน 15,135 ครั้ง

ปรับ "ฮวงจุ้ย" ด้วยทิศมงคล เสริมดวงปี 2557
ปรับ "ฮวงจุ้ย" ด้วยทิศมงคล เสริมดวงปี 2557
เปิดอ่าน 12,921 ครั้ง

"ละครซิทคอม" คืออะไร
"ละครซิทคอม" คืออะไร
เปิดอ่าน 58,024 ครั้ง

ขั้นตอนปลูกแก่นตะวัน ปลูกง่าย โตไว ราคาดี
ขั้นตอนปลูกแก่นตะวัน ปลูกง่าย โตไว ราคาดี
เปิดอ่าน 17,893 ครั้ง

ผวาทั้งเอเชีย ข้าวพลาสติกเมดอินไชน่าระบาด กินแล้วอาจถึงตาย
ผวาทั้งเอเชีย ข้าวพลาสติกเมดอินไชน่าระบาด กินแล้วอาจถึงตาย
เปิดอ่าน 21,079 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ