Advertisement
Advertisement
สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณกรรมสมัยสุโขทัย ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง มีลักษณะเป็นภาษิตของไทยแท้ ๆ ที่ไม่มีอิทธิพลจากต่างประเทศมาเจือปน เขียนเป็นคำประพันธ์ประเภทร่าย และตอนจบมีโคลงกระทู้ 1 บท ให้ชื่อว่า บัณฑิตพระร่วง เนื้อหาของสุภาษิต มีลักษณะของวิถีชีวิตไทย เป็นคำสอนที่มีคุณค่า แสดงถึงพฤติกรรมของคน ที่ยังทันสมัยอยู่ทุกยุค ทุกสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม มานานนับพันปี ตามชื่อของสุภาษิต ประกอบกับลักษณะของถ้อยคำ ภาษา สำนวนซึ่งใกล้เคียงกับจารึก ใน
หลักศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ที่เรียกว่าจารึกพ่อขุนรามคำแหง จึงมีการสันนิษฐานว่า สุภาษิตพระร่วงนี้ เดิมเป็นพระบรมราโชวาท ที่พระร่วงหรือพ่อขุนรามคำแหง ทรงนำมาสั่งสอนประชาชนชาวไทยในครั้งนั้น
ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า |
เผ้าแผ่นสุโขทัย |
มลักเห็นในอนาคต |
จึงผายพจนประภาษ |
เป็นอนุสาสนกถา |
สอนคณานรชน |
ทั่วธราดลพึงเพียร |
เรียนอำรุงผดุงอาตม์ |
อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย |
เมื่อน้อยให้เรียนวิชา |
ให้หาสินมาเมื่อใหญ่ |
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน |
อย่าริร่านแก่ความ |
ประพฤติตามบูรพระบอบ |
เอาแต่ชอบเสียผิด |
อย่ากอปรกิจเป็นพาล |
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน |
|
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า |
หน้าศึกอย่านอนใจ |
|
ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน |
การเรือนตนเร่งคิด |
|
อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ |
อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ |
|
ที่รักอย่าดูถูก |
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง |
สร้างกุศลอย่ารู้โรย |
อย่าโดยคำคนพลอด |
เข็นเรือทอดกลางถนน |
|
เป็นคนอย่าทำใหญ่ |
ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน |
คบขุนนางอย่าโหด |
โทษตนผิดรำพึง |
อย่าคะนึงถึงโทษท่าน |
|
หว่านพืชจักเอาผล |
เลี้ยงคนจักกินแรง |
|
อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่ |
อย่าใฝ่ตนให้เกิน |
|
เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว |
น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ |
|
ที่ซุ้มเสือจงประหยัด |
จงเร่งระมัดฟืนไฟ |
|
คนเป็นไทอย่าคบทาส |
อย่าประมาทท่านผู้ดี |
|
มีสินอย่าอวดมั่ง |
ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ |
|
ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก |
ทำรั้วเรือกไว้กับตน |
|
คนรักอย่าวางใจ |
ที่มีภัยพึงหลีก |
ปลีกตนไปโดยด่วน |
ได้ส่วนอย่ามักมาก |
อย่ามีปากว่าคน |
|
รักตนกว่ารักทรัพย์ |
อย่าไดัรับของเข็ญ |
|
เห็นงามตาอย่าปอง |
ของฝากท่านอย่ารับ |
|
ที่ทับจงมีไฟ |
ที่ไปจงมีเพื่อน |
ทางแถวเถื่อนไคลคลา |
ครูบาสอนอย่าโกรธ |
โทษตนผิดพึงรู้ |
|
สู้เสียสินอย่าเสียศักดิ์ |
ภักดีอย่าด่วนเคียด |
|
อย่าเบียดเสียดแก่มิตร |
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ |
ที่ชอบช่วยยกยอ |
อย่าขอของรักมิตร |
ชิดชอบมักจางจาก |
|
พบศัตรูปากปราศรัย |
ความในอย่าไขเขา |
|
อย่ามัวเมาเนืองนิตย์ |
คิดตรองตรึกทุกเมื่อ |
|
พึงผันเผื่อต่อญาติ |
รู้ที่ขลาดที่หาญ |
|
คนพาลอย่าพาลผิด |
อย่าผูกมิตรไมตรี |
เมื่อพาทีจึงตอบ |
จงนบนอบผู้ใหญ่ |
ช้างไล่แล่นเลี้ยวหลบ |
สุวานขบอย่าขบตอบ |
อย่ากอปรจิตริษยา |
เจรจาตามคดี |
|
อย่าปลุกผีกลางคลอง |
อย่าปองเรียนอาถรรพ์ |
พลันฉิบหายวายม้วย |
อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด |
จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย |
|
ลูกเมียอย่าวางใจ |
ภายในอย่านำออก |
ภายนอกอย่านำเข้า |
อาสาเจ้าจนตัวตาย |
อาสานายจงพอแรง |
|
ของแพงอย่ามักกิน |
อย่ายินคำคนโลภ |
|
โอบอ้อมเอาใจคน |
อย่ายลเหตุแต่ใกล้ |
|
ท่านไท้อย่าหมายโทษ |
คนโหดให้เอ็นดู |
|
ยอครูต่อหน้า |
ยอข้าเมื่อแล้วกิจ |
|
ยอมิตรเมื่อลับหลัง |
ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ |
|
เยียสะเทินจะอดสู |
อย่าชังครูชังมิตร |
|
ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ |
นอบตนต่อผู้เฒ่า |
|
เข้าออกอย่าวางใจ |
ระวังระไวหน้าหลัง |
|
เยียวผู้ชังจะคอยโทษ |
อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์ |
ผิวผิดปลิดไปร้าง |
ข้างตนไว้อาวุธ |
เครื่องสรรพยุทธอย่าวางจิต |
|
คิดทุกข์ในสงสาร |
อย่าทำการที่ผิด |
คิดขวนขวายที่ชอบ |
โต้ตอบอย่าเสียคำ |
คนขำอย่าร่วมรัก |
|
พรรคพวกพึงทำนุก |
ปลุกเอาแรงทั่วตน |
|
ยลเยี่ยงไก่นกกระทา |
พาลูกหลานมากิน |
|
ระบือระบิลอย่าฟังคำ |
การทำอย่าด่วนได้ |
อย่าใช้คนบังบด |
ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก |
ฝากของรักจงพอใจ |
|
เฝ้าท้าวไทอย่าทรนง |
ภักดีจงอย่าเกียจ |
|
เจ้าเดียดอย่าเดียดตอบ |
นอบนบใจใสสุทธิ |
|
อย่าขุดคนด้วยปาก |
อย่าถากคนด้วยตา |
อย่าพาผิดด้วยหู |
อย่าเลียนครูเตือนด่า |
อย่าริกล่าวคำคด |
คนทรยศอย่าเชื่อ |
ท่านสอนอย่าสวนตอบ |
ความชอบจำใส่ใจ |
|
ระวังระไวที่ไปมา |
เมตตาตอบต่อมิตร |
|
คิดแล้วจึงเจรจา |
อย่านินทาผู้อื่น |
|
อย่าตื่นคนยกยอ |
คนจนอย่าดูถูก |
|
ปลูกไมตรีทั่วชน |
ตระกูลตนจงคำนับ |
อย่าจับลิ้นแก่คน |
ท่านรักตนจงรักตอบ |
ท่านนอบตนจงนอบแทน |
ความแหนให้ประหยัด |
เผ่ากษัตริย์เพลิงงู |
อย่าดูถูกว่าน้อย |
หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ |
อย่าปองภัยต่อท้าว |
อย่าห้าวมักพลันแตก |
|
อย่าเข้าแบกงาช้าง |
อย่าออกก้างขุนนาง |
|
ปางมีชอบท่านช่วย |
ปางป่วยท่านชิงชัง |
|
ผิจะบังบังจงลับ |
ผิจะจับจับจงมั่น |
ผิจะคั้นคั้นจงตาย |
ผิจะหมายหมายจงแท้ |
ผิจะแก้แก้จงกระจ่าง |
|
อย่ารักห่างกว่าชิด |
คิดข้างหน้าอย่าเบา |
อย่าถือเอาตื้นว่าลึก |
เมื่อเข้าศึกระวังตน |
เป็นคนเรียนความรู้ |
|
จงยิ่งผู้ผู้มีศักดิ์ |
อย่ามักง่ายมิดี |
|
อย่าตีงูให้แก่กา |
อย่าตีปลาหน้าไซ |
|
อย่าใจเบาจงหนัก |
อย่าตีสุนัขห้ามเห่า |
|
ข้าเก่าร้ายอดเอา |
อย่ารักเหากว่าผม |
|
อย่ารักลมกว่าน้ำ |
อย่ารักถ้ำกว่าเรือน |
อย่ารักเดือนกว่าตะวัน |
สบสิ่งสรรพโอวาท |
ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ |
|
ตรับตริตรองปฏิบัติ |
โดยอรรถอันถ่องถ้วน |
|
แถลงเลศเหตุเลือกล้วน |
เลิศอ้างทางธรรม แลนา ฯ |
|
บัณ เจิดจำแนกแจ้ง |
พิศดาร |
ความเฮย |
ฑิต ยุบลบรรหาร |
เหตุไว้ |
|
พระ ปิ่นนัคราสถาน |
อุดรสุข |
ไทยนา |
ร่วง ราชนามนี้ได้ |
กล่าวถ้อยคำสอน |
ที่มา หอมรดกไทย http://203.144.136.10/service/mod/heritage/nation/proverb/index01.htm
Advertisement
|
เปิดอ่าน 74,823 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,293 ครั้ง |
เปิดอ่าน 92,145 ครั้ง |
เปิดอ่าน 69,392 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,277 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,115 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,894 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,868 ครั้ง |
เปิดอ่าน 55,717 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,997 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,273 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,475 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,136 ครั้ง |
เปิดอ่าน 424,200 ครั้ง |
เปิดอ่าน 62,308 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 62,308 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 43,471 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 47,442 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 318,802 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 58,098 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 30,098 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 276,501 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 8,245 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 30,519 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,122 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,557 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 3,984 ครั้ง |
|
|