Advertisement
ถ้าเราเปิดงาน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาอื่นที่เน้นทำวิจัย วิทยานพนธ์เกี่ยวกับ การสร้างสื่อ นวัตกรรมมาใช้ หรือแม้กระทั่งการส่งผลงานเพื่อประเมินเลื่อนวิทยฐานะของครู เราก็มักจะพบตัวเลข ที่แสดงประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรมนั้น เช่น 80/80 70/70 75/75 90/90 หลายๆ คนคงจะยังไม่เข้าใจ และมักจะถามว่า มันคือเลขอะไร ทำไมตัวเลขมันไม่เท่ากัน เป็นตัวเลขอื่นๆ ได้ไหม หาได้อย่างไร ไม่มีได้ไหม หรือแม้กระทั่งว่าจะใช้วิธีการอื่นๆ แทนได้ไหม มาดูกันนะครับ ว่าเลขดังกล่าวคืออะไร
1. ตัวเลขที่กำหนดนั้นหมายถึง E1/E2 ครับ โดยตัวเลขนั้นการกำกำหนดขึ้นอยู่กับผู้วิจัยเป็นคนกำหนด โดยจะต้องคำถึงถึงองค์ประกอบดังนี้
1.1 ธรรมชาติของรายวิชา หรือเนื้อหา ความยากกง่ายของรายวิชาหรือเนื้อหานั้น ถ้าง่ายก็ตั้งสูง เพราะผู้เรียนอาจจะสามารถผ่านได้ง่าย ถ้าเนื้อหายากก็ตั้งต่ำๆ หน่อย เช่น คณิตศาสตร์จะตั้งประมาณ 70/70 หรือ 75/75 เพราะธรรมชาติของวิชานั่นเอง
1.2 สมรรถภาพของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีคนเก่งกี่คน ปานกลางกี่คน อ่อนกี่คน ประเมินโดยภาพรวมว่าอยู่ระดับไหน อันนี้ถ้าในห้องเรียนนั้น มีนักเรียนที่เรียนเก่งอยู่มาก ประสิทธิภาพของสื่อของเราก็ต้องสามารถช่วยยกระดับความรู้ให้เข้าใกล้ 100 ให้มากที่สุดตามไปด้วยนั่นเอง
2. ความหมายหมายของ E1/E2
E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย บท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1
E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2
ซึ่งจะเห็นได้ว่า E1/E2 หาได้ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ดังนั้นค่า E1/E2 จึงมีความสำคัญ และยิ่งถ้าตัวเลขเข้าใกล้ 100 มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารับรองประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่า การคำนวณหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน เป็นผลรวมของการคุณภาพและปริมาณ ด้วย