ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เค้าโครงย่องานวิจัยในชั้นเรียน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,262 ครั้ง
เค้าโครงย่องานวิจัยในชั้นเรียน

Advertisement

❝ เค้าโครงย่องานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเตรียมรับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งครูเชี่ยวชาญของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๑ โรงเรียนบ้านหนองกับ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ (คุณครูสุทัศน์ สาระไลย์) ❞
เค้าโครงงานวิจัยครูเชี่ยวชาญ
 
 
1. ความสำคัญ และความเป็นมา
 
ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญของสื่อชนิดต่าง ๆ ต้องมีความหลากหลายมีจำเจ ไม่ทำให้ผู้เรียนเกการเบื่อหน่ายเมื่อนักเรียนได้ใช้สื่อหลายๆอย่างไปพร้อมกันในขณะที่จัดกิจกรรม ก็จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ด้วยบทเรียนสื่อประสม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ซึ่งเป็นระดับชั้นที่จะสามารถฝึกฝนพัฒนา การเรียนรู้จากอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพและเกิดความรู้มากที่สุด เพราะบทเรียนสื่อประสม เป็นสื่อที่มีความทันสมัย ผลที่ได้จากการพัฒนาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนรู้ในยุคของข้อมูลข่าวสาร และเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้จากอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด ตลอดจนสร้างเสริมนิสัยรักการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนต่อไป
 
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
 
2.1 เพื่อสร้างและหาคุณภาพของบทเรียนสื่อประสม 4 อย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1
2.2 พื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1
2.4 เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 
 
3. สมมุติฐานการวิจัย
 
3.1   บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 มีคุณภาพในระดับดี หรือดีมาก
3.2 บทเรียนสื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 มีประสิทธิภาพในเกณฑ์ 80/80
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ของนักเรียน   ชั้นประถมศึกษาที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ มีเจตคติต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 อยู่ในระดับดีหรือดีมาก
 
4. ขอบเขตของการวิจัย
 
4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
        นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6  จำนวน 37 คนโรงเรียนบ้านหนองกับ     อำเภอจอมพระ 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
กลุ่มตัวอย่าง 
นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ อำเภอจอมพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 มี 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 19 คน โดยการสุ่ม   แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
 
4.2       ตัวแปรที่ศึกษา  
ตัวแปรต้น คือ การเรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1
ตัวแปรตาม คือ คุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน และเจตคติที่มีต่อการเรียนรู้โดยบทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ
 
4.3       เนื้อหา              
ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ท 32101) เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาที่  6
 
 
4.4       ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2551 ใช้เวลาทดลอง 3 สัปดาห์ คือ ตั้งแต่วันที่ 1-21 เดือนธันวาคม  พ.ศ. 2551
 
4.5       สถานที่ทำการวิจัย
                 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  โรงเรียนบ้านหนองกับ   อำเภอจอมพระ   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
 
 
5. นิยามศัพท์เฉพาะในการวิจัย
 
5.1บทเรียน e-Learning  หมายถึง บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือบทเรียนออนไลน์ ในรูปแบบเวิลด์ไวด์เว็บ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามจุดประสงค์การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยแบ่งเป็น 16 เรื่องย่อย มีแบบทดสอบย่อย จำนวน 48 ข้อ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างละ 20 ข้อ มีการทำงานแบบสื่อประสม มีการสื่อสารสองทาง โดยผ่านเว็บบอร์ด (Web board) หรือ e-mail และสามารถประเมินผลการเรียนผ่านทางหน้าจอภาพ
 
5.2เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) หมายถึง เครือข่ายใยพิภพ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมหนึ่งของการใช้อินเตอร์เน็ตที่เอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอยู่ในลักษณะข้อความ ภาพ และเสียง มีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เรียกว่าเว็บเพจ (web pages) โดยข้อมูลในแต่ละส่วนสามารถเชื่อมโยง (link) ไปยังแหล่งข้อมูลส่วนอื่น ๆ ได้
 
5.3คุณภาพของบทเรียน e-Learningหมายถึง คุณภาพของบทเรียน e-Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จากการหาประสิทธิภาพเชิงเหตุผล โดยอาศัยหลักความรู้และเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาตัดสินคุณค่า ด้วยแบบตรวจประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
 
5.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หมายถึง คะแนนจากการทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 4    ด้าน ได้แก่ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ และการคิดวิเคราะห์
 
5.5เจตคติต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่อ การเรียนรู้โดยใช้บทเรียน e-Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ผ่านบทเรียน e-Learning หรือประสบการณ์ที่ได้รับ ความรู้สึกดังกล่าว เช่น ความสนใจ ความชื่นชอบ การเห็นความสำคัญ และการเห็นคุณค่า วัดโดยการใช้แบบวัดเจตคติ จำนวน 15 ข้อที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 
5.6ประสิทธิภาพของบทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้บทเรียน e-Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ในลักษณะของคะแนนที่กำหนดตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ซึ่งมีความหมายดังนี้
5.6.1 เลข 80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ด้วย บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 80 ของคะแนน
5.6.2 เลข 80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังการเรียน ด้วย บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 80 ของคะแนน
 
 
4. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
 
4.1 บทเรียน สื่อประสม 4 อย่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 16 เรื่องย่อย แบบทดสอบย่อย จำนวน 48 ข้อ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างละ 20 ข้อ
4.2 แบบตรวจประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์ สำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความชัดเจนทางภาษา และความถูกต้องตามเนื้อหาแล้ว
4.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ สำหรับทดสอบความรู้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้หรือเนื้อหา (ค่า IOC) เท่ากับ .91 มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ .33 – .78 มีค่าอำนาจการจำแนก (r) ตั้งแต่ .22 – .67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .765
4.4 แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยบทเรียน สื่อประสม 4 อย่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งลักษณะของแบบวัดเป็นแบบลิเคอร์ท (Likert Scale) ชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้หรือเนื้อหา (ค่า IOC) เท่ากับ .93 มีค่าอำนาจการจำแนก (r) โดยใช้ค่า t ตั้งแต่ 1.818.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .914
 
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
 
            5.1 การหาคุณภาพของบทเรียน สื่อประสม 4 อย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ด้วยการวิเคราะห์ผลจากคะแนนของแบบตรวจประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์ สำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
5.2 การหาประสิทธิภาพของบทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยการหาค่า E1/E2
5.3 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียน e-Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 2 โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples
5.4 ศึกษาผลคะแนนเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยบทเรียน e-Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
6. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 
6.1 บทเรียน e-Learning  , บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
6.2 บทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
6.3 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6.4 เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
 
7. อภิปรายผลการวิจัย
 
7.1 จากการหาคุณภาพของบทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอาศัยหลักความรู้และเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้พิจารณาตัดสินคุณค่า ด้วยแบบตรวจประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์ พบว่า โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก แสดงว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าบทเรียน  e-Learning ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และเห็นชอบให้นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจาก
7.1.1 ผู้วิจัยได้ออกแบบบทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบตามแนวคิดที่ว่า สื่อทันสมัย บทเรียน    เร้าใจ ข้อมูลสดใหม่ ความรู้ชัดเจน เน้นความหลากหลาย เข้าถึงได้สะดวก เรียนง่าย เข้าใจเร็ว    การประเมินแบบใหม่ และเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
7.1.2 บทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำเป็นลักษณะของสื่อประสม ที่แสดงภาพสี ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งดึงดูดผู้เรียนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้สนใจในบทเรียน และอยากที่จะเรียน
7.1.3 บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง หรือบทเรียนออนไลน์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นกระแสที่ทุกคนให้ความสนใจมาก (ศักดา ไชกิจภิญโญ, 2549) ครูจึงมีความต้องการใช้มากกว่าการสอนปกติ เพราะเป็นการสนับสนุนให้ครูได้พัฒนาการสอนของตน
7.1.4 บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง เป็นระบบการเรียนการสอนที่ใครก็เรียนได้ เรียนได้ทุกที่และทุกเวลา เป็นสื่อประสม ผู้เรียนเลือกเรียนตามความต้องการ มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านระบบเครือข่าย และมีการวัดผลและประเมินผลได้ด้วย (บุณเลิศ อรุณพิบูลย์, 2547 และ ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2545 : 21-22)
 
7.2 จากการหาประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.13/80.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 หมายความว่า บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 นี้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุบิน  ยมบ้านกวย (2550) ที่พบว่า บทเรียน สื่อประสม 4 อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 เช่นกัน แสดงว่า บทเรียนสื่อประสม 4 อย่างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม  การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจาก
7.2.1 ผู้วิจัยได้ออกแบบบทเรียนสื่อประสม 4 อย่าง ตามหลักการเรียนรู้และทฤษฎี   ปัญญานิยม (Cognitive theories) และทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral theories) ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
7.2.2 ผู้วิจัยได้นำบทเรียน e-Learning บทเรียนสำเร็จรูป , แบบฝึกเสริมทักษะ และหนังสืออ่านประกอบที่สร้างขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ       ความถูกต้องเหมาะสมของบทเรียนและนำไปทดสอบกับผู้เรียนแบบหนึ่งต่อหนึ่งและแบบกลุ่มย่อย พร้อมทั้งนำมาปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อให้บทเรียน e-Learning มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนที่จะนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
7.2.3 บทเรียน e-Learning ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นสื่อ ICT ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับ     การยอมรับว่ามีศักยภาพสูง โดยเป็นการใช้เทคโนโลยีเว็บ และนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสื่อผสม มาช่วยในการจัดการด้านเนื้อหา เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้เรียน ส่งเสริมการเรียน การสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น (กิดานันท์   มะลิทอง, 2548: 160)
7.2.4 จากคุณสมบัติของบทเรียน e-Learning ที่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านการเชื่อมโยงของเว็บไปตามเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก มีความยืดหยุ่นผู้สอนสามารถใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนการสอนแบบปกติ หรือใช้เป็นสื่อการสอนทางไกลเต็มรูปแบบได้ และผู้เรียน สามารถเรียนได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาที่ตนสะดวก สามารถใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารบนเว็บและยังสามารถให้ผลสะท้อนกลับที่รวดเร็ว จึงใช้เป็นเครื่องมือประเมินความก้าวหน้าได้ และเป็นการเสริมจุดอ่อนของการอยู่ห่างไกลกันให้เสมือนอยู่ต่อหน้ากัน (ศักดา ไชกิจภิญโญ, 2549)
 
7.3 จากการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียน e-Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการศึกษา และสอดคล้องกับงานวิจัยของ พุทธิพงศ์ เลขะวิพัฒน์ (2550 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สุบิน ยมบ้านกวย (2550) และ ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2548) ที่พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นกัน แสดงว่า การเรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม ใช้แก้ปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนของครูได้ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจาก
7.3.1 บทเรียนสื่อประสม 4 อย่าง ถูกสร้างขึ้นให้เป็นสื่อที่ทันสมัย เร้าความสนใจผู้เรียน สามารถนำเสนอเนื้อหาได้รวดเร็ว เนื้อหากระชับเข้าใจง่าย ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจ และผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อที่สนใจข้อใดก่อนก็ได้
7.3.2 บทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจและสามารถเลือกเรียนได้ตามเวลาและสถานที่ ที่ตนเองสะดวก มี การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่รู้สึกเบื่อหน่าย
7.3.3 บทเรียนสื่อประสม 4 อย่างที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น มีการเสริมแรงสม่ำเสมอระหว่างเรียน และผู้เรียนได้รับผลป้อนกลับทันที่ว่าถูกหรือผิด เมื่อทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และสามารถเลือกคำตอบซ้ำได้ เพื่อเรียนรู้จากความผิดพลาด
7.3.4 บทเรียนสื่อประสม 4 อย่าง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนโดยใช้ทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา สนับสนุนการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนในหลายรูปแบบ เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา เพื่อลดช่องว่างและสร้างความเท่าเทียมกันแก่ผู้เรียนทุกคน สร้างความยืดหยุ่นในการเรียนทั้งในลักษณะบทเรียน การทบทวนเนื้อหาบทเรียน การทำกิจกรรม รวมถึงการเรียนได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้เวลานั่งฟังบรรยายของผู้สอนเหมือนการเรียนในห้องเรียน และการเรียนผ่านเครือข่ายทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว (กิดานันท์ มะลิทอง, 2548: 163)
 
7.4 จากศึกษาผลคะแนนเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยบทเรียนสื่อประสม 4 อย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 พบว่า เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านหนองกับ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียน สื่อประสม 4 อย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการศึกษา และสอดคล้องกับงานวิจัยของ   สุบิน ยมบ้านกวย (2550) ที่พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมา ต่อการเรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม พุทธิพงศ์ เลขะวิพัฒน์ (2550 : บทคัดย่อ) และ ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2548) ที่พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเรียนรู้ผ่านบทเรียน e-Learning แสดงว่านักเรียนมี  ความพึงพอใจและเจตคติที่ดีต่อบทเรียน สื่อประสม 4 อย่าง ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก
7.4.1 ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาบทเรียนในส่วนที่ยังไม่เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งสามารถตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ ตามแต่ละบุคคล เสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์ ที่จะนำไปสู่ความสามารถทางด้านสติปัญญาของแต่ละคนได้ อย่างเต็มศักยภาพ
 
8. ข้อเสนอแนะ
 
8.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
8.1.1 การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ ครูสามารถนำสื่อการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ออนไลน์อยู่ตลอดเวลาได้ที่ URL ดังนี้ http://www.thapring.com/Pingpong_web/M&CM2_Web/index.html เพื่อใช้แก้ปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และยังเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนของครูได้
8.1.2 สำหรับการสร้างหรือพัฒนาบทเรียน e-Learning ควรวิเคราะห์ผู้เรียนควบคู่กับการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อกำหนดเนื้อหาที่เป็นปัญหา จากนั้นจึงออกแบบบทเรียน e-Learning ใน   บทดำเนินเรื่อง (Story board) ให้ชัดเจน เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการสร้างบทเรียน
8.1.3 สำหรับการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ในการทดลอง ควรสำรวจสภาพปัจจุบันของโรงเรียนว่า มีเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ และกลุ่มผู้เรียนที่ใช้ทดลองเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับบทเรียน e-Learning ที่สร้างขึ้น
8.1.4 การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก โดยผู้เรียนต้องมีพฤติกรรมการเรียนแบบมีชีวิตชีวา (Active learning) ดังนั้นผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียน   อยากรู้อยากเรียน โดยอาจจะใช้คะแนน หรือรางวัลเป็นสิ่งกระตุ้นก็ได้
8.1.5 ผู้บริหารควรให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสื่อประสม
 
8.2 ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษา
8.2.1 ควรมีการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสื่อประสม ในวิชาอื่น ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สังคม ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อใช้ในการสอนหรือใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำให้ดีขึ้น
8.2.2 ควรศึกษาตัวแปรอื่น ๆ ซึ่งมีผลมาจากการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสื่อประสม เช่น ความคงทนในการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
8.2.3 การเรียนด้วยสื่อประสม ทำให้นักเรียนไม่ได้มีการคิดวิเคราะห์ในระดับสูง แต่เป็นสิ่งที่ถูกเรียกร้องมาก (Rikke Orngreen, 2004 : บทคัดย่อ) หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ในระดับสูง ควรนำสื่อประสม มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในลักษณะ สื่อเสริม หรือสื่อเติม ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบปกติ
 
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
 
9.1 ได้บทเรียน สื่อประสม 4 อย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูง
9.2 ได้บทเรียนเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูง
9.3 ได้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูง
9.4 ได้หนังสืออ่านประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่าน การเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูง
9.5 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านการเขียนศัพท์คำยากจากบทเรียน สูงขึ้น
9.6   สามารถนำเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บมาประยุกต์ใช้กับสื่อการเรียนการสอน e-Learning ด้านการทำงานบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
9.7 สามารถให้ประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่สนใจในด้านข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการศึกษาหาความรู้
9.8   เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนมากขึ้น นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
9.9   พัฒนาระบบการเรียนการสอนของผู้เรียน ที่สามารถให้ผู้เรียนได้ศึกษาและทำการเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.10             
การสร้างบทเรียนสื่อประสม
การสร้างบทเรียนสื่อประสม มีขั้นตอนดังนี้ 
1. ศึกษาหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เนื้อหาจุดประสงค์ในการเรียน      
2. กำหนดเนื้อหาที่จะสร้างบทเรียนสื่อประสม                             
3. กำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนสื่อประสม
4. ศึกษารายละเอียดวิธีการสร้างบทเรียนสื่อประสมชนิดต่างๆจากเอกสาร ตำราและผลงานทางวิชาการ
5. สร้างบทเรียนสื่อประสมตามวัตถุประสงค์ และเนื้อหาที่กำหนดไว้ โดย
 1) วางโครงเรื่องที่จะเขียนเรียงลำดับก่อนหลัง จากง่ายไปหายากแบ่ง
เนื้อหาออกเป็นตอนๆ โดยให้แต่ละตอนสัมพันธ์กัน เช่น ตอนที่ 1 ใช้สื่อบทเรียนสำเร็จรูป ตอนที่ 2 สื่อของจริง/สภาพแวดล้อม  ตอนที่ 3 สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน/สไลด์  ตอนที่ 4 สื่ออื่นๆตามความเหมาะสมกับสภาพเนื้อหาและบริบทของผู้เรียน (คือ ใช้สื่อตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป)
                2) ลงมือเขียนบทเรียนสื่อประสมตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
                3) เพื่อให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ใส่ภาพการ์ตูนเป็นตัวเดินเรื่อง ภาพประกอบข้อความในบทเรียนสื่อประสมตรงตามสภาพจริงและสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่ศึกษา
6. นำบทเรียนสื่อประสมที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพื่อให้ข้อเสนอแนะ นำมาปรับปรุงแก้ไข
7. นำบทเรียนสื่อประสม ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียน ดังนี้
                1) ทดลองแบบ 1:1 กับนักเรียนที่มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน อย่างละ 1 คน โดยให้ทดลองใช้บทเรียนสื่อประสมเพื่อสำรวจความบกพร่องทางด้านภาษาที่ใช้สื่อความหมาย การตอบคำถามในแต่ละกิจกรรม ตลอดจนสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในขณะปฏิบัติกิจกรรม สังเกตเวลาที่ใช้ในการเรียนของผู้เรียน แล้วนำข้อคิดผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข
              2) นำบทเรียนสื่อประสมที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทำการทดลองกับ นักเรียนกลุ่มเล็กแบบ (1:10) โดยเลือกนักเรียนกลุ่มเก่ง 3 คน ปานกลาง 4 คนและกลุ่มอ่อน 3 คน เพื่อพิจารณาดูว่า บทเรียนสื่อประสมที่นำมาใช้กับนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่างกันใช้ดีมากน้อยเพียงใด สังเกตเวลาที่ใช้ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่พบ 
              3) นำบทเรียนสื่อประสม ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทำการทดลองภาคสนามโดยทดลองกับนักเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ปกติคละเก่ง ปานกลางและอ่อน 
    ในการทดลองภาคสนาม ก่อนเริ่มทำกิจกรรมในบทเรียนสื่อประสม ทุกเล่ม นักเรียนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เช่นเดียวกับการทดลองกลุ่มเล็ก จากนั้นนำผลการเรียนระหว่างปฏิบัติกิจกรรมและผลการสอบหลังเรียน มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติว่าถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ปรับปรุงแก้ไข และนำไปทดลองอีกครั้งจนได้ประสิทธิภาพตามที่กำหนด 80/80 
8.นำบทเรียนสื่อประสมที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์กำหนดทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ให้การดูแล และตรวจสอบเครื่องมืองานวิจัย
ของคุณครูสุทัศน์ สาระไลย์  โรงเรียนบ้านหนองกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
           
1. ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู หัวหน้าภาควิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
                                    ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการสอน ที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ และนวัตกรรม
2.ผศ. ดร.ปรีชา สุขเกษม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  จังหวัดลพบุรี
                                    ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการสอน ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ
3. ดร.ประวัติ สมเป็น   อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
                                   ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย และการเขียนรายงาน
4. นายวิชัย สุปิงคัด    ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
                                   ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย และการเขียนรายงาน
5. นายสุทิน แก้วเกิด   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองกับ   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
                                   ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรสถานศึกษา และตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้
 
 
การสร้างทีมงานครูเครือข่าย และเป็นที่ปรึกษาให้การช่วยเหลือ
ของคุณครูสุทัศน์ สาระไลย์ โรงเรียนบ้านหนองกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ประจำปีการศึกษา 2550
ที่
ชื่อ – นามสกุล
โรงเรียน / อำเภอ/ จังหวัด /เขต
กลุ่มสาระการเรียนรู้
1
นายเปลื้อง งามยิ่งยืน
บ้านหนองกับ /จอมพระ /สุรินทร์/เขต 1
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
2
นายวีรศักดิ์ ปรักเจริญ
บ้านหนองกับ /จอมพระ /สุรินทร์/เขต 1
ภาษาไทย
3
นายทองใบ ใจหาญ
บ้านหนองกับ /จอมพระ /สุรินทร์/เขต 1
ภาษาไทย
4
นางรินรดา สุภิรักษ์
บ้านนา /สุวรรณภูมิ /ร้อยเอ็ด/เขต 2
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 8779 วันที่ 10 ต.ค. 2552


เค้าโครงย่องานวิจัยในชั้นเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ไม้เด็ดเคล็ดลับครูดี!!!!

ไม้เด็ดเคล็ดลับครูดี!!!!


เปิดอ่าน 6,258 ครั้ง
ขนมไทยที่เสริมดวงชะตา

ขนมไทยที่เสริมดวงชะตา


เปิดอ่าน 6,256 ครั้ง
ทายนิสัยจากวันในสัปดาห์

ทายนิสัยจากวันในสัปดาห์


เปิดอ่าน 6,257 ครั้ง
ที่สุดการเมืองไทย

ที่สุดการเมืองไทย


เปิดอ่าน 6,254 ครั้ง
นิทานเวตาล ....เรื่องที่ 6

นิทานเวตาล ....เรื่องที่ 6


เปิดอ่าน 6,251 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

108 เคล็ดลับน่ารู้

108 เคล็ดลับน่ารู้

เปิดอ่าน 6,289 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การเข้ามาใช้บริการ  eBook...
การเข้ามาใช้บริการ eBook...
เปิดอ่าน 6,255 ☕ คลิกอ่านเลย

งานนี้!! "ตัวเต็งเต็มๆ."..ไม่พลาด..ไม่เชื่อ..อย่าลบหลู่....5555555
งานนี้!! "ตัวเต็งเต็มๆ."..ไม่พลาด..ไม่เชื่อ..อย่าลบหลู่....5555555
เปิดอ่าน 6,267 ☕ คลิกอ่านเลย

The way to help the students to be able to speak English better. ( 1 )
The way to help the students to be able to speak English better. ( 1 )
เปิดอ่าน 6,265 ☕ คลิกอ่านเลย

เลื อ ก ข อ ง ใส่ บ า ต ร ต า ม วัน เกิด
เลื อ ก ข อ ง ใส่ บ า ต ร ต า ม วัน เกิด
เปิดอ่าน 6,247 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบดั้งเดิม ใช้ได้เรื่อยๆ
แบบดั้งเดิม ใช้ได้เรื่อยๆ
เปิดอ่าน 6,262 ☕ คลิกอ่านเลย

เห็นได้ไม่บ่อยนัก...!!
เห็นได้ไม่บ่อยนัก...!!
เปิดอ่าน 6,268 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ตกยกชาติ
ตกยกชาติ
เปิดอ่าน 9,492 ครั้ง

ยาตีกันอันตราย
ยาตีกันอันตราย
เปิดอ่าน 12,501 ครั้ง

เตือนกินเค็มจัดเป็นมะเร็งกระเพาะ ยังทำให้ความดันโลหิตถีบตัวขึ้นสูง
เตือนกินเค็มจัดเป็นมะเร็งกระเพาะ ยังทำให้ความดันโลหิตถีบตัวขึ้นสูง
เปิดอ่าน 11,564 ครั้ง

10 วิธีง่ายๆ ห่างไกลไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่
10 วิธีง่ายๆ ห่างไกลไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่
เปิดอ่าน 10,976 ครั้ง

ทำไมคนเราถึงฝัน
ทำไมคนเราถึงฝัน
เปิดอ่าน 9,101 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ