ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คู่มือการปฏิบัติงานการศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,255 ครั้ง
คู่มือการปฏิบัติงานการศึกษาต่อ  ฝึกอบรม  หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ

Advertisement

❝ คู่มือการปฏิบัติงาน การศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ ของข้าราชการและลูกจ้างประจำสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2547 -------------------------------------- เพื่อให้การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศของข้าราชการและลูกจ้างประจำสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม จึงได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง การศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศของ และลูกจ้างประจำสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ 1. 1. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ 1.1) 1.1) การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ก 1.2) 1.2) การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข 2. ขั้นตอนการจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน 3. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลาราชการ 3.1) การศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการ โดยใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา 3.2) การศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการ โดยไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา 4. การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคฤดูร้อน 5. การฝึกอบรม ภายในประเทศ 6. การปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ 7. การคำนวณเงิน และเรียกชดใช้ทุนกรณีผิดสัญญา 8. การรายงานจำนวนข้าราชการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ 9. เอกสารประกอบการดำเนินการ การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ หมายถึง การศึกษาต่อโดยใช้เวลาราชการเต็มเวลา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท ก ได้แก่ ประเภทที่หน่วยงานต้นสังกัดคัดเลือกส่งไปศึกษา ประเภท ข ได้แก่ ประเภทที่ต้องไปสมัครสอบคัดเลือก หรือ คัดเลือกในสถาบันการศึกษาด้วย ตนเอง ข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการครู และข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำด้วย คุณสมบัติ ผู้ลาศึกษาต่อภาคปกติ ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือน 1. ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป 1. พ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2. มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา 2. ไปศึกษาขั้นต่ำกว่าปริญญาตรีต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี ขั้นปริญญาตรีอายุไม่เกิน 40 ปี และสูงกว่าปริญญาตรีอายุไม่เกิน 45 ปี นับถึงวันเริ่มต้น เปิดภาคการศึกษา กรณีอายุเกิน 45 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ 3. ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์ ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็น ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ จะสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษา หรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้ 4. มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามระเบียบที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้ 5. ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติ หรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีก ต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในข้อ 1 กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป 6. จำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5% ของจำนวนข้าราชการ ในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ รวมทั้งข้าราชการที่กำลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วย เศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต สถานศึกษาหรือหน่วยงานใด มีข้าราชการจำนวนน้อย และคิดเป็นโควตาไม่ได้ แต่มีผู้สอบ คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อได้ ให้ศึกษาต่อได้โรงเรียนหรือหน่วยงานละไม่เกิน 1 คน การดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ก ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ก 1. สพฐ. พิจารณาโควตาประเภท ก ที่ได้รับการ จัดสรรจากสถาบันการศึกษาให้สพท. ตามความเหมาะสม 1. ผลการสอบคัดเลือกจาก สถาบันการศึกษา 2. สำเนา ก.พ. 7 3. หลักฐานการทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน รายละเอียดตามขั้นตอน การทำสัญญา 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการใน สถานศึกษา 2) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ผู้บริหารสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานของสพท. 3) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานของสพฐ. 2. สพท. ประสานงานกับสถาบันการศึกษา เพื่อขอโควตา ประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด 3. โรงเรียนประสานกับสถาบันการศึกษา เพื่อขอโควตาประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด 4. สพท. แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกไปยังสถาบันการศึกษาโดยตรง พร้อมทั้งแจ้งผู้ได้รับ การคัดเลือกไปดำเนินการตามขั้นตอนของสถาบัน การศึกษา และรายงานสพฐ. ทราบ 5. ขั้นตอนการดำเนินการลาศึกษาของข้าราชการ 5.1 ข้าราชการขออนุญาตลาศึกษาต่อผู้มีอำนาจอนุญาต 5.2 จัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันตามแบบ ที่กำหนด 6. ขั้นตอนการดำเนินการของผู้มีอำนาจอนุญาต (ผู้บริหารสถานศึกษา/สพท./สพฐ.) 6.1 จัดทำคำสั่งให้ไปศึกษาต่อ 6.2 จัดทำหนังสือส่งตัวข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา ไปยังสถาบันการศึกษา ผู้มีอำนาจอนุญาตลงนาม ในคำสั่งตามแบบที่กำหนด 7. การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาต การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ ลาศึกษา/ขยายเวลา/กลับเข้าปฏิบัติราชการเมื่อ เสร็จสิ้นการลาศึกษาต่อ โดยรายงานให้สพฐ. ทราบทุกภาคการศึกษา - คำสั่งฯ /แบบที่ 1 และ 2/แบบที่ 11/แบบที่ 12/ หนังสือตอบรับ หรือหนังสือให้ขยายเวลา หรือหนังสือ ส่งตัวโดยระบุวันที่กลับเข้าปฏิบัติราชการจากสถาบันการศึกษา แล้วแต่กรณี สถานศึกษา และสพท. รายงานจำนวน พร้อมแนบเอกสารตามที่กำหนด แล้วแต่กรณีให้สพฐ. ทราบ ทุกภาคการศึกษา การดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 1. วิธีดำเนินการลาศึกษาต่อ ภาคปกติ ประเภท ข ข้าราชการขออนุญาตไปสมัครสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข ยื่นแบบขออนุญาตไป สมัครสอบคัดเลือกตาม(แบบที่ 1) 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการในสถานศึกษา 2) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ผู้บริหารสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานของสพท. 3) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานของสพฐ 2. การลาศึกษาต่อ 2.1 2.1 ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท กำหนด 2 ปี 2.2 2.2 ระดับปริญญาเอก กำหนด 4 ปี 2.3 คุณวุฒิและสาขาวิชา/วิชาเอกที่ สำนักงาน ก.พ. และ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. กำหนด/และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ กรณีนอกเหนือจากที่ประกาศสพฐ. กำหนด ให้เสนอสพฐ. พิจารณา เป็นรายๆ ไป - ยื่นแบบขออนุญาตให้ ข้าราชการไปศึกษาต่อ ภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข (แบบที่ 2) - แนบผลการสอบคัดเลือกจากสถาบันการศึกษา - สำเนา ก.พ. 7 3. จัดทำสัญญาลาศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกัน ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ จะต้องจัดทำสัญญาลาศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกัน ตามแบบที่กำหนด หลักฐานการทำสัญญาฯ และสัญญาค้ำประกัน รายละเอียดตามที่ระบุ ในขั้นตอนการทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน ผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นผู้ลงนาม รับสัญญา 4. การดำเนินการของผู้มีอำนาจอนุญาต (สถานศึกษา/สพท./สพฐ.) มีดังนี้ 4.1 จัดทำคำสั่งให้ลาศึกษาต่อ 4.2 จัดทำหนังสือส่งตัวข้าราชการที่ลาศึกษา ไปยังสถาบันการศึกษา 4.3 รายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ ลาศึกษาต่อ ให้สพฐ. ทราบ - คำสั่งฯ/แบบที่1 และ 2 /หนังสือตอบรับจากสถาบันการศึกษา/แบบที่ 11 หรือ แบบที่ 12 - ผู้มีอำนาจอนุญาตเป็น ผู้ลงนาม ในคำสั่งให้ลาศึกษาต่อ ตามแบบที่กำหนด - สถานศึกษา และสพท. รายงานจำนวน พร้อมแนบเอกสาร ตามที่กำหนดแล้ว แต่กรณีให้สพฐ. ทราบ ทุกภาคการศึกษา ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 5 การรายงานผลการศึกษา ผู้ลาศึกษาต่อรายงานผลการศึกษาภาคปกติ ประเภท ก และประเภท ข ทุกภาคการศึกษา ต่อผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลาศึกษา (ภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา) แบบรายงานผลการศึกษาฯ (แบบที่ 3) เสนอผู้มีอำนาจอนุญาตทราบ 6 การขยายเวลาศึกษาต่อ 6.1 เสนอหลักฐานการขยายระยะเวลาศึกษาต่อ ก่อนสิ้นสุดสัญญา ไม่น้อยกว่า 15 วัน 6.2 อนุญาตการขยายเวลาศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้ไม่เกินครั้งละ 1 ภาคการศึกษา ไม่เกิน 2 ครั้ง หรือไม่เกิน 1 ปีการศึกษา 1 แบบคำร้องขอขยายเวลาศึกษาต่อ (แบบที่ 4) 2 หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาให้ขยายเวลา ศึกษาต่อ โดยระบุระยะเวลาที่จะขอขยายเวลา เสนอผู้มีอำนาจอนุญาต 7. การจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาศึกษาต่อ จัดทำสัญญาขยายเวลาศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกัน เพิ่มเติม ทุกครั้งที่ขอขยายเวลาศึกษาต่อ หลักฐานการทำสัญญาขยายฯ และสัญญาค้ำประกัน รายละเอียดตามที่ระบุใน ขั้นตอนการทำสัญญา ผู้มีอำนาจอนุญาตลงนามรับสัญญา 8 . การขยายเวลาศึกษา การดำเนินการของ ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ขยายเวลาศึกษาต่อ (สถานศึกษา/ สพท./ สพฐ.) มีดังนี้ 8.1 จัดทำคำสั่งขยายเวลาศึกษาต่อ 8.2 รายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ ขยายเวลาศึกษา ให้สพฐ. ทราบ ทุกภาคการศึกษา - ส่งสำเนาคำสั่งขยายเวลา ศึกษาต่อ - หนังสือรับรองของ สถาบันการศึกษาให้ขยายเวลาศึกษาต่อ ผู้มีอำนาจอนุญาตเป็น ผู้ลงนามในคำสั่งให้ ขยายเวลาศึกษาต่อ ตามแบบที่กำหนด 9. การกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม ข้าราชการที่ประสงค์จะกลับเข้าปฏิบัติราชการ ตามเดิม ให้ดำเนินการดังนี้ 9.1 ยื่นคำร้องขอกลับเข้าปฏิบัติราชการต่อ ผู้มีอำนาจอนุญาต และ 9.2 เมื่อศึกษาครบตามหลักสูตร หรือตาม ที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต้องรายงานตัว ต่อผู้มีอำนาจอนุญาตทราบทันที - แบบคำร้องขอกลับเข้าปฏิบัติราชการ (แบบที่ 5) - หนังสือจากสถาบันการศึกษาส่งตัวกลับโดย ระบุวันที่ส่งตัวกลับ ผู้มีอำนาจอนุญาตออกคำสั่ง ให้ข้าราชการกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 9.3 ข้าราชการที่ได้รับอนุมัติปริญญา หรือประกาศนียบัตรแล้ว ให้จัดส่งเอกสารรายงานผู้มีอำนาจอนุญาตทราบ 9.4 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ให้ส่งผลงานวิจัยหรืองานวิชาการที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เช่น ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ เป็นต้น ให้ผู้มีอำนาจ อนุญาตทราบ และรวบรวม 1.สำเนาใบรับรองวุฒิ หรือ ใบปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรของ ข้าราชการ จำนวน 1 ฉบับ 2.วิทยานิพนธ์ จำนวน1 เล่ม รายงานผู้มีอำนาจอนุญาตทราบ 10. การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาต ให้ลาศึกษา การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ ลาศึกษา/ขยายเวลา/กลับเข้าปฏิบัติราชการเมื่อ เสร็จสิ้นการลาศึกษาต่อ ให้รายงานสพฐ.ทราบ ทุกภาคการศึกษา - สำเนาคำสั่งฯ /แบบที่ 1 และแบบที่ 2/แบบที่ 11/แบบที่ 12/หนังสือตอบรับ หรือหนังสือขยายเวลาศึกษา หรือหนังสือส่งตัวกลับ เข้าปฏิบัติราชการจาก สถาบันการศึกษา แล้วแต่กรณี สถานศึกษา และสพท. รายงาน พร้อมแนบเอกสารตามที่กำหนด ให้สพฐ. ทราบ ทุกภาคการศึกษา ขั้นตอนการจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน ขั้นตอน รายการ 1. จัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันตามแบบที่สพฐ. กำหนด 1) 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการในสถานศึกษา จัดทำสัญญาฯ และสัญญา ค้ำประกัน จำนวน 3 ชุด (เก็บไว้ที่ สพท. 1 ชุด สถานศึกษา 1 ชุด และ ผู้ให้สัญญา 1 ชุด) 2) ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และในสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำสัญญา จำนวน 2 ชุด (เก็บไว้ที่ สพท./สพฐ. 1 ชุด และผู้ให้สัญญา 1 ชุด) ทั้งนี้ ผู้รับสัญญาเป็นผู้เก็บสัญญาและสัญญาค้ำประกัน ชุดที่ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และ 1 บาท รวม 11 บาท (ฉบับจริง) ขั้นตอน รายการ 2. เอกสารของผู้จัดทำสัญญาลาศึกษาต่อ และผู้ค้ำประกัน 1) บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ 2) ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ 3) ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ 4) หนังสือยินยอมให้ทำสัญญา หรือค้ำประกันของคู่สมรส (กรณีผู้ทำสัญญา หรือผู้ค้ำประกันมีคู่สมรส) 5) รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (เฉพาะผู้ให้สัญญาเท่านั้น) 6) กรณีไม่สามารถหาผู้ค้ำประกัน ให้แนบบันทึกความเห็นของคณะกรรมการฯ 3. ผู้ทำสัญญา และ ผู้ค้ำประกัน ต้องนำบุคคล ต่อไปนี้มาในวันทำสัญญาด้วย 1) คู่สมรสของผู้ทำสัญญา (ถ้ามี) 2) ผู้ค้ำประกัน จำนวน 1 คน 3) คู่สมรสของผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) 4. อากรแสตมป์ สัญญาศึกษาต่อติดอากรแสตมป์ 1 บาท และสัญญาค้ำประกัน 10 บาท (ติดอากรแสตมป์ที่คู่ฉบับๆ ละ 1 บาท การจัดทำสำเนาคู่ฉบับโดยสถานศึกษาจำนวน 2 ชุด และสพท./สพฐ. 1ชุด) กรณีผู้ลาศึกษาต่อ และกลับเข้าปฏิบัติราชการย้ายต่างเขตพื้นที่ ให้เก็บสัญญาไว้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิม แต่ให้ระบุไว้ในหนังสือส่งตัวย้ายเกี่ยวกับข้อมูลการลาศึกษาต่อ และการชดใช้ทุนของข้าราชการดังกล่าวให้หน่วยงานใหม่ทราบด้วย (ข้าราชการที่ลาศึกษาต่อไม่สามารถขอย้าย/โอนตามเกณฑ์การย้าย/โอนข้าราชการฯ) การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา การดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา โดยใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 1. วิธีการ ผู้ประสงค์จะศึกษาต่อขออนุญาต สมัครสอบคัดเลือกต่อผู้มีอำนาจอนุญาต แบบขออนุญาตไปสมัครสอบ คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อ ภาคนอกเวลา โดยใช้เวลา ราชการบางส่วน (แบบที่ 6) 1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการในสถานศึกษา 2) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ผู้บริหารสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน สำนักงานสพท. 3) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานของสพฐ. ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 2. การลาศึกษา เมื่อสอบคัดเลือกได้ ให้นำหลักฐานผลการสอบคัดเลือกจากสถาบันการศึกษา เสนอต่อผู้มีอำนาจอนุญาต 1) หลักฐานแสดงผลการสอบคัดเลือกได้ 2) แบบขออนุญาตไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา โดยใช้เวลาราชการบางส่วน (แบบที่ 7) 1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการในสถานศึกษา 2) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ผู้บริหารสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานของสพท. 3) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานของสพฐ. 3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 3.1 มีอายุไม่เกิน 55 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่เข้าศึกษา กรณีอายุเกินให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้มีอำนาจอนุญาตพิจารณาอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย 3.2 ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม 4. หลักเกณฑ์ ในการพิจารณาอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ 4.1 เป็นผู้ที่ผู้บริหารสถานศึกษาหรือ ผู้อำนวยการ สำนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่แล้วแต่กรณี รับรองว่าหากให้ไปศึกษาต่อแล้ว จะไม่เกิดความเสียหายต่อราชการหรือ การศึกษาของนักเรียนในสถานศึกษา 4.2 เป็นผู้เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติราชการเป็นอย่างดี และให้ออกเดินทางจากสถานศึกษา หรือสำนักงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ก่อนเวลาเลิกปฏิบัติราชการได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 4.3 จำนวนข้าราชการที่จะได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ ภาคนอกเวลา รวมกันทั้งสิ้นต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในสถานศึกษา หรือหน่วยงานนั้นๆ กรณีข้าราชการต่ำกว่า 10 คน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต 5. การจัดทำสัญญาลาศึกษา และสัญญาค้ำประกัน ให้จัดทำสัญญาอนุญาตให้ข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศภาคนอกเวลาโดยใช้เวลาราชการบางส่วน ตามแบบที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติงาน 1) สัญญาอนุญาตให้ ข้าราชการไปศึกษาต่อ ภายในประเทศ ภาคนอกเวลา ตามแบบที่กำหนด 2) รายละเอียดการจัดทำสัญญาปฏิบัติเช่นเดียวกับการจัดทำสัญญาฯ ภาคปกติ ผู้มีอำนาจอนุญาตเป็น ผู้ลงนามรับสัญญา 6. การจัดทำคำสั่งให้ไปศึกษาต่อ การดำเนินการของผู้มีอำนาจอนุญาต (ผู้บริหารสถานศึกษา/สพท./สพฐ.) จัดทำคำสั่งให้ไป ศึกษาต่อ คำสั่งตามแบบที่กำหนด ผู้มีอำนาจอนุญาตเป็น ผู้ลงนามในคำสั่ง 7. การกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม 7.1 ยื่นคำร้องขอกลับเข้าปฏิบัติราชการต่อผู้มีอำนาจอนุญาต และ 7.2 เมื่อศึกษาครบตามหลักสูตร หรือตามที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ต้องรายงานตัวต่อผู้มีอำนาจอนุญาตทราบทันที 7.3 จัดทำคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติราชการ 1) แบบคำร้องขอกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม (แบบที่ 5) 2) หนังสือจากสถาบัน การศึกษาส่งตัวกลับโดยระบุวันที่ส่งตัวกลับ 3) เอกสารที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา -ผู้มีอำนาจอนุญาต ลงนามในคำสั่งให้ ข้าราชการกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม 8. การจัดทำรายงาน ให้สถานศึกษาและสพท. รายงานจำนวนผู้ลาศึกษา/ และกลับเข้าปฏิบัติราชการให้สพฐ.ทราบ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการลาศึกษาภาคปกติ -จัดทำรายงาน ให้สพฐ.ทราบ ตามแบบที่กำหนด การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา โดยไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคนอกเวลา โดยไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา ให้รายงานเป็น ลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ทราบก่อน จึงจะไปศึกษาต่อ ภาคนอกเวลาได้ การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคฤดูร้อน การศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคฤดูร้อน หมายถึง การศึกษาโดยใช้เวลาราชการตามที่สถาบัน การศึกษา หรือหน่วยงานของทางราชการ จัดขึ้นในภาคฤดูร้อน ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 1.ขั้นตอนการลาศึกษาต่อภาคฤดูร้อน 1.1 ผู้ประสงค์จะศึกษาต่อขออนุญาตสมัครสอบคัดเลือกต่อ ผู้มีอำนาจอนุญาต แบบขออนุญาตไปสมัครสอบ คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อ ภาคฤดูร้อน (แบบที่ 8) 1) 1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการในสถานศึกษา 2) 2) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ผู้บริหารสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน สำนักงานของสพท. 3) 3) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานของสพฐ. 1.2 เมื่อสอบคัดเลือกได้ ให้นำหลักฐานผลการสอบคัดเลือกเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุญาต 1. หลักฐานแสดงผลการสอบ คัดเลือกได้ 2. แบบขออนุญาตไปศึกษาต่อภาคฤดูร้อน (แบบที่ 9) 2. เกณฑ์การพิจารณา 2.1 วิชาที่จะไปศึกษาต้องเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน 2.2 ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรับรองว่าจะ ไม่เกิดความเสียหายแก่ราชการ 2.3 อนุญาตให้ไปศึกษาต่อได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในสำนักงานนั้นๆ ถ้าต่ำกว่า 10 คน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต 2.4 การอนุญาตให้พิจารณาอนุญาตเป็นปี ๆ ไป ผู้มีอำนาจอนุญาตสามารถอนุญาตเป็นปีๆ ไป ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 3. การจัดทำสัญญา และสัญญา ค้ำประกัน 1) สัญญาอนุญาตให้ข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคฤดูร้อน ตามแบบที่กำหนด 2) รายละเอียดการจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันดำเนินการเช่นเดียวกับการศึกษาต่อภาคปกติ 4. การจัดทำคำสั่ง การจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการลาศึกษาต่อภาคฤดูร้อน ตามแบบคำสั่งที่กำหนด ผู้มีอำนาจอนุญาต ลงนามในคำสั่ง 5. การกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม การจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการซึ่งไปศึกษาต่อภาคฤดูร้อน กลับเข้าปฏิบัติ ราชการตามเดิม 1) แบบคำร้องขอกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม (แบบที่ 5) 2) หนังสือจากสถาบันการศึกษา ส่งตัวกลับโดยระบุวันที่ส่งตัวกลับ 3) เอกสารที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา ผู้มีอำนาจอนุญาต ลงนามในคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิม 6. การรายงานจำนวนผู้ลาศึกษา การจัดทำรายงาน จำนวนผู้ลาศึกษา/ การกลับเข้าปฏิบัติราชการให้สพฐ.ทราบ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการลาศึกษา ภาคปกติ -จัดทำรายงาน ให้สพฐ.ทราบ ตามแบบที่กำหนด การฝึกอบรมภายในประเทศ การฝึกอบรม หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้วยการเรียน การอบรมสัมมนา หรือการฝึกงาน ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ 1. หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต 1.1 วิชาที่จะไปฝึกอบรมต้องเป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติงาน 1.2 เป็นผู้ที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรับรองว่า หากให้ไปเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว จะไม่เกิดความเสียหายแก่ราชการ 1.3 จำนวนข้าราชการที่จะได้รับอนุญาตให้ไป ฝึกอบรมให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงาน 1) รายละเอียดหลักสูตรที่จะไปฝึกอบรม 2) แบบขออนุญาตไป ฝึกอบรมภายในประเทศ 1) 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการในสถานศึกษา 2) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ผู้บริหารสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน สำนักงานของสพท. 3) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานของสพฐ 2. หลักสูตรฝึกอบรม ที่จัดโดยส่วนราชการหรือ หน่วยงานอื่น ที่มีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนหรือ ทางราชการจะต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การฝึกอบรมเกินกว่า 5,000 บาท ต้องจัดทำสัญญาข้าราชการไปฝึกอบรม 3. การจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน ในกรณีที่ผู้ลาไปฝึกอบรมย้ายต่างเขตพื้นที่ ให้เก็บสัญญาไว้ที่ สพท.เดิม แต่ในหนังสือส่งตัวให้แจ้งข้อมูลการลาไปฝึกอบรมของบุคคลดังกล่าวให้หน่วยงานใหม่ทราบด้วย 1) สัญญาอนุญาตให้ ข้าราชการไปฝึกอบรม ภายในประเทศ ตามแบบ ที่กำหนด 2) ดูรายละเอียดการจัดทำสัญญา และสัญญา ค้ำประกัน - ดำเนินการเช่นเดียวกับการลา ศึกษาต่อ ภาคปกติ - ผู้มีอำนาจอนุญาตลงนามรับสัญญา 4. จัดทำคำสั่งให้ข้าราชการไปฝึกอบรมภายในประเทศ และกลับเข้าปฏิบัติราชการ ตามแบบที่กำหนด ผู้มีอำนาจอนุญาตลงนาม ในคำสั่ง 5. การจัดทำรายงาน จำนวนผู้ไปฝึกอบรมให้สพฐ.ทราบ -จัดทำรายงาน ให้สพฐ.ทราบ ตามแบบที่กำหนด การปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ แนวปฏิบัติในการขออนุญาตไปปฏิบัติการวิจัย 1. เป็นข้าราชการในสังกัด สพฐ. 2. มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. ได้รับทุนการวิจัยจากหน่วยงาน สถาบันของ ทางราชการ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันกับสพฐ. 4. หัวข้อ/โครงร่างงานวิจัยต้องเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ต่อวงการศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา สพท. และ สพฐ. 1. แบบคำขออนุญาตไปปฏิบัติการวิจัย (แบบที่ 10) 2. โครงร่างการวิจัยที่ได้รับทุน 3. เอกสารหลักฐานการได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงาน/สถาบันของทางราชการ 4. บันทึกความเห็นจาก ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น 1) ผอ.สพท. มีอำนาจอนุญาต - ข้าราชการในสถานศึกษา - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานของสพท. 2) สพฐ. มีอำนาจอนุญาต - ผอ.สพท. - ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานของสพฐ 5. ระยะเวลาการขอลาไปปฏิบัติการวิจัย ไม่เกิน 1 ปี หากมีความจำเป็นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต 6. การจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกัน 1) สัญญาอนุญาตให้ ข้าราชการไปฝึกอบรมภายในประเทศ ตามแบบที่กำหนด 2) รายละเอียดการจัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันดำเนินการเช่นเดียวกับ การศึกษาต่อภาคปกติ ผู้มีอำนาจอนุญาตลงนาม รับสัญญาฯ 7. จัดทำคำสั่งให้ไปปฏิบัติการวิจัย และกลับ เข้าปฏิบัติราชการ ตามแบบที่กำหนด ผู้มีอำนาจอนุญาตลงนาม ในคำสั่ง 8. การจัดทำรายงานจำนวนผู้ไปปฏิบัติการวิจัยให้สพฐ.ทราบ -จัดทำรายงาน ให้สพฐ.ทราบ ตามแบบที่กำหนด การคำนวณเงิน และเรียกชดใช้ทุนกรณีผิดสัญญา ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารประกอบ ผู้มีอำนาจ อนุญาต/ดำเนินการ การดำเนินการกรณีผิดสัญญา กรณีผู้ลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ ผิดสัญญาการชดใช้ทุน ให้ดำเนินการดังนี้ 1. คำนวณการชดใช้ทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงการคลังกำหนดและตามประกาศของ สพฐ. 2. แจ้งเรียกชำระหนี้จากผู้ผิดสัญญาและ ผู้ค้ำประกัน โดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ 3. หากผู้ผิดสัญญาหรือผู้ค้ำประกัน ยินยอม ชดใช้ ให้รับชดใช้แล้วรายงาน สพฐ. 4. หากขอผ่อนชำระให้ผู้มีอำนาจ (ผู้รับมอบอำนาจ) พิจารณาโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด 5. หากผู้ผิดสัญญา หรือผู้ค้ำประกันปฏิเสธ หรือเพิกเฉย ให้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมด รายงาน สพฐ. โดยด่วน อย่าให้ขาดอายุความ 1) หลักเกณฑ์และตัวอย่างการคำนวณการชดใช้ทุนของกระทรวงการคลังและตามประกาศของ สพฐ 2) หนังสือแจ้งเรียกชำระหนี้พร้อมหลักฐานการตอบรับ 3) แบบคำร้องการขอผ่อนชำระ 4) หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกระทรวงการคลัง 5) แบบสัญญาการผ่อนชำระ สถานศึกษา/สพท./สพฐ. พิจารณา แล้วแต่กรณี (กรณีสถานศึกษาเป็น ผู้คำนวณการชดใช้ทุนให้เสนอสพท. และ กรมบัญชีกลางพิจารณาตรวจสอบด้วย) การรายงานจำนวนข้าราชการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ เมื่อสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้อนุญาตให้ข้าราชการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศ ในแต่ละภาคการศึกษาแล้ว ให้รายงานโดยส่งคำสั่งพร้อมทั้งหลักฐานต่างๆ ตามที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติงานนี้ ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. สถานศึกษาจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ (ตามแบบที่ 11) หรือผู้ไปฝึกอบรม และปฏิบัติการวิจัย (ตามแบบที่ 13) เสนอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวบรวมพร้อมเอกสารประกอบตามที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติงานการลาศึกษาต่อฯ รายงานให้สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบในแต่ละภาคการศึกษา 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา ที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ (ตามแบบที่ 12) หรือผู้ไปฝึกอบรม และปฏิบัติการวิจัย (ตามแบบที่ 13) พร้อมทั้งเอกสารประกอบตามที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติงานการลาศึกษาต่อฯ รายงานให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละภาคการศึกษา ❞

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 9521 วันที่ 13 พ.ย. 2552


คู่มือการปฏิบัติงานการศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในประเทศคู่มือการปฏิบัติงานการศึกษาต่อฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

นิสัยจากการพูด...

นิสัยจากการพูด...


เปิดอ่าน 6,270 ครั้ง
อินุยาฉะครองโลก

อินุยาฉะครองโลก


เปิดอ่าน 6,240 ครั้ง
3 ผักผลไม้ดับกลิ่นปาก

3 ผักผลไม้ดับกลิ่นปาก


เปิดอ่าน 6,242 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

วิธีแก้กรรมด้วยตนเอง

วิธีแก้กรรมด้วยตนเอง

เปิดอ่าน 6,242 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สืบสานตำนานบั้งไฟ(ต่อ)...... พอสังเขป  เก็บไว้ ในบล็อกแหล่งเรียนรู้
สืบสานตำนานบั้งไฟ(ต่อ)...... พอสังเขป เก็บไว้ ในบล็อกแหล่งเรียนรู้
เปิดอ่าน 6,253 ☕ คลิกอ่านเลย

ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารของชาวเหนือ...
ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารของชาวเหนือ...
เปิดอ่าน 6,251 ☕ คลิกอ่านเลย

ครั้งแรกที่เราทะเลาะกัน..?
ครั้งแรกที่เราทะเลาะกัน..?
เปิดอ่าน 6,237 ☕ คลิกอ่านเลย

นั่งนานๆ....อันตรายถึงชีวิต
นั่งนานๆ....อันตรายถึงชีวิต
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

น้ำตาครูแห่งความภูมิใจ
น้ำตาครูแห่งความภูมิใจ
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

ใครริจีบสาวอินเดีย...เตรียมรับมือกังฟูให้ดีนะครับ...!!
ใครริจีบสาวอินเดีย...เตรียมรับมือกังฟูให้ดีนะครับ...!!
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เจ๋งอะ! มาดูวิธีวาดภาพสามมิติแบบง่ายๆ กัน
เจ๋งอะ! มาดูวิธีวาดภาพสามมิติแบบง่ายๆ กัน
เปิดอ่าน 35,342 ครั้ง

ความหมายยันต์
ความหมายยันต์
เปิดอ่าน 34,394 ครั้ง

เคยเห็นมั๊ย? มดมหัศจรรย์พันธุ์ เก็บน้ำหวานจนท้องกลมป่อง เป็นเสบียงให้ฝูง
เคยเห็นมั๊ย? มดมหัศจรรย์พันธุ์ เก็บน้ำหวานจนท้องกลมป่อง เป็นเสบียงให้ฝูง
เปิดอ่าน 16,339 ครั้ง

หนังสือดี 100 เล่ม ที่ควรอ่าน-มีไว้ในห้องสมุด
หนังสือดี 100 เล่ม ที่ควรอ่าน-มีไว้ในห้องสมุด
เปิดอ่าน 53,715 ครั้ง

สมุนไพรฤทธิ์เย็น ตัวช่วยดูแลผิว ประหยัด..ช่วงปลายฝนต้นหนาว
สมุนไพรฤทธิ์เย็น ตัวช่วยดูแลผิว ประหยัด..ช่วงปลายฝนต้นหนาว
เปิดอ่าน 14,279 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ