Advertisement
Advertisement
มหกรรม กีฬาของชาวอาเซียนใกล้จะเริ่มขึ้น นั่นคือซีเกมส์ครั้งที่ 25 ที่ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว "ฝ่ายข่าวกีฬา ไทยรัฐออนไลน์" จึงถือฤกษ์ครั้งที่ 25 และจัดขึ้นในปี 2552 เริ่มนับถอยหลัง 25 วัน เข้าสู่เกมส์กีฬาครั้งนี้ด้วยการรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การเตรียมความพร้อมของชาติต่าง ๆ มารายงานให้แฟน ๆ ทราบแบบสบาย ๆ ผ่านทางคอมลัมน์ สบายดีซีเกมส์ สวัสดีเวียงจันทน์ ทุกเรื่องได้เขียนไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางส่วนในภายหลัง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกฝ่าย ต้องขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
สำหรับเรื่องแรกแน่นอนย่อมต้องให้เกียรติเจ้าภาพ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพราะถือว่าเป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการแข่งขันซีเกมส์ วันนี้เราจึงขอเสนอที่มาของการเป็นเจ้าภาพครั้งแรกด้วยเรื่องกว่าจะเป็น เวียงจันทน์เกมส์
หากจะนับถอยหลังมหกรรมกีฬาแห่งชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "ซีเกมส์" ครั้ง ที่ 25 นั้น คงเหลือเวลาอีกประมาณ 25 วัน ที่กีฬาของชาวอาเซียนจะเปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการที่นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)
เพราะนับตั้งแต่ลาว มั่นใจในศักยภาพของตัวเองพร้อมกับมีแรงสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ทำให้ลาวตัดสินใจเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ในปี พ.ศ.2552 ต่อที่ประชุมสหพันธ์ซีเกมส์ เมื่อ 4 ปีก่อน และจากนั้นเป็นต้นมาลาวก็เริ่มเตรียมความพร้อมของตัวเองขึ้นทันที

ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 หรือ เวียงจันทน์เกมส์ ได้กำหนดวันแข่งขัน ระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม พ.ศ.2552 โดยมีมาสคอทหรือตัวนำโชคได้แก่ ช้างเผือกงานิล 2 เชือก เพศผู้ชื่อ จำปา และเพศเมียชื่อ จำปี ซึ่งเป็นชื่อของดอกไม้ประจำชาติ จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นมาสคอทในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 อย่างเป็นทางการ
ส่วนสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันเป็นการผสม ผสานตัวเลข 25 ซึ่งเป็นจำนวนครั้งที่จัดการแข่งขันของซีเกมส์ขึ้นมา ส่วนพยัญชนะภาษาอังกฤษ L หมายถึงประเทศลาว (LAO) มีแนวคิดสื่อให้เห็นถึงการแข่งขันกีฬาร่วมสมัย อีกทั้งยังทรงความสง่างาม และเผยแพร่ให้เห็นเสน่ห์อันน่าดึงดูดของศิลปะวัฒนธรรม รวมถึงประวัติศาสตร์อันล้ำค่าของประเทศลาวอีกด้วย
สำหรับ ตราสัญลักษณ์ ซีเกมส์ครั้งที่ 25 เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบด้านกราฟฟิก เพื่อเผยเอกลักษณ์โดยนำเสนอภาพ "เจดีย์หลวง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ และสถานที่สำคัญของชาติลาว และรวมเป็นหนึ่งเดียวกับแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสายน้ำหลักหล่อเลี้ยงประชาชน และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งแม่น้ำ ยังเปรียบเสมือนสายน้ำแห่งมิตรภาพ และการรวมตัวของประเทศในแถบเอเชีย


"ความ มีน้ำใจ ไมตรีจิต ชีวิตสดชื่น" เป็นถ้อยคำง่าย ๆ แต่ลึกซึ้งด้านความหมาย สื่อถึงประเทศลาว รวมถึงประเทศทั่วโลกด้วยเช่นกัน เพราะถ่ายทอดถึงอุดมคติที่ดีของประชาชนเวียงจันทน์ และทั้งประเทศลาว ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชนโลกที่สดใส นอกจากนี้ ยังแสดงถึงศักยภาพ และความเชื่อมั่นของประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ซึ่งเป็นหนทางสู่ความล้ำสมัย เพื่อถ่ายทอดไปสู่ความสงบสุข ความมีมิตรไมตรีในสังคม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นเอง
ด้วยศักยภาพของลาวที่พร้อมเต็มที่กับการเข้ามาเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งแรก เพราะแค่เพียงการเริ่มต้นลาวได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการก้าวเข้ามา เป็นเจ้าภาพครั้งแรก ซึ่งเห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ ของหน่วยงานทุกฝ่ายที่ร่วมมือร่วมใจกัน รวมไปถึงความช่วยเหลือของประเทศต่าง ๆ ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยสนับสนุนและผลัก ดันให้ลาวสามารถเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 25
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่เวียงจันทน์เกมส์ มหกรรมกีฬาของชาวอาเซียน ส่วนในวันพรุ่งนี้นั้น ต้องลองติดตามกันต่อว่าหัวใจสำคัญที่ทำให้ลาวสามารถกล้าที่จะเสนอตัวขึ้น เป็นเจ้าภาพได้อย่างไรนั้น ต้องติดตามกันต่อในกว่าจะเป็นเวียงจันทน์เกมส์ ตอนที่ 2
ที่มา : สยามดารา
Advertisement
|
เปิดอ่าน 24,882 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,194 ครั้ง |
เปิดอ่าน 81,981 ครั้ง |
เปิดอ่าน 210,512 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,055 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,628 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,179 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,252 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,742 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,686 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,734 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,357 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,168 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,394 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,152 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,974 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 22,051 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 18,255 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,384 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 32,670 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,927 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 5,049 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 11,967 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,529 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 54,762 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,828 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,819 ครั้ง |
|
|