Advertisement
Advertisement
ปลาสินสมุทรทรวงฟ้า (Pomacanthus annularis) หรือชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ปลาโนราห์" แพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก อันดามัน และอ่าวไทย บริเวณที่อาศัยจะเป็นแนวปะการัง หินโสโครก กองหิน ...
"ภัยธรรมชาติ" เริ่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั้งเหตุการณ์ "สึนามิ" ในเมืองไทย แผ่นดินไหว ที่เฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน และเหตุวิปโยคที่สาธารณรัฐ "เฮติ" (Haiti) ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า...มันเกิดอะไรขึ้นกับ "โลกกลมๆ" ใบนี้...
...ก่อนที่มนุษย์เราจะมีเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้เป็น "เครื่องมือ" ส่งสัญญาณเตือนภัยคนรุ่นเก่าจะสังเกตธรรมชาติโดยรอบ ทั้งจากสัตว์ต่างๆอย่าง ช้าง นก สุนัข ที่มีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ หากเป็นชาวประมงหรือที่หลายคนเรียกขานกันว่า "ชาวเล" ก็จะดูทิศทางลม ท้องฟ้า ผืนน้ำ และการว่ายเวียนของ "ฝูงปลา" ในท้องทะเลที่นับวันเริ่มมีจำนวนลดน้อยถอยลง
ฉะนี้...กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดทำโครงการ "สำรวจมรดกทะเลไทย" ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติอย่างยั่งยืน
นางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า....โครงการดังกล่าวจะสำรวจในพื้นที่ 22 แห่งทั่วประเทศ โดยเริ่มจากชุมชนชาวเลหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยเริ่มจากสังเกตพฤติกรรมปลาต่อการอพยพรวมฝูงหรือหลบซ่อนจากน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆของปลาเล็กปลาใหญ่
...ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะที่อยู่อาศัยคือ ปลาผิวน้ำ อย่างปลากระโทง เสียด และปลาบินซึ่งกลุ่มนี้จะมีเกล็ดบาง ว่องไว สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งน้ำอุ่นและน้ำเย็น ปลากลางน้ำ อย่างปลากล้วย ปลาสาก ขี้ตังเบ็ด และ ปลาหน้าดิน ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเล อาทิ ปลาแพะ ดุกทะเล เก๋า และปลาสินสมุทรทรวงฟ้า ที่เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ด้วยเช่นกัน
สำหรับ ปลาสินสมุทรทรวงฟ้า (Pomacanthus annularis) หรือชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ปลาโนราห์" แพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก อันดามัน และอ่าวไทย ซึ่ง บริเวณที่อาศัยจะเป็นแนวปะการัง หินโสโครก กองหิน ที่ระดับน้ำตื้นถึงน้ำลึก เพื่อหากินอาหารได้หลากหลาย ปลาชนิดนี้มีนิสัยตื่นตกใจง่าย แต่หลังปรับตัวได้จะค่อนข้างก้าวร้าว
ในวัยที่ยังเล็กลักษณะลำตัวจะมีลวดลายบนพื้นลำตัวเป็นขีดสีฟ้าตรงสลับขาว ว่ายเวียนอยู่ที่ระดับน้ำตื้น 2-3 เมตร พอโตเต็มวัยลำตัวจึงเริ่มเปลี่ยนเป็นลายโค้งสีฟ้า บนพื้นสีส้มอมน้ำตาล มีความยาว 3-12 นิ้ว น้ำหนัก 1 กก. โดยพวกมันจะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ หรือฝูงเฉลี่ย 10-20 ตัว
....และถึงแม้พวกมันสามารถนำมาประกอบอาหารได้ แต่ด้วยเพราะลายเส้นที่สวยงามโดดเด่น อีกทั้งสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ ส่งผลให้ปัจจุบันกลุ่มนักเลี้ยงปลาไขว่คว้าจับมาส่ายหาง ขยับครีบอยู่ในตู้เลี้ยงไปซะแล้ว
ที่มา :: ไทยรัฐ
Advertisement
|
เปิดอ่าน 14,450 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,371 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,033 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,293 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,584 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,170 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,327 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,184 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,055 ครั้ง |
เปิดอ่าน 72,406 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,963 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,095 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,818 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,531 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,053 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 12,367 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 11,932 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 26,726 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 20,188 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 18,498 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 55,076 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 1,888 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 10,548 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,802 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,622 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,454 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,319 ครั้ง |
|
|