ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สวมก่อนขับ ....ขยับความเท่...กับแว่นกันแดด


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,239 ครั้ง
สวมก่อนขับ ....ขยับความเท่...กับแว่นกันแดด

Advertisement

สวมก่อนขับ ขยับความเท่...กับแว่นกันแดด


      ประโยชน์ของแว่นกันแดดที่สำคัญนอกเหนือไปจากความเท่ เก๋ไก๋ และช่วยเสริมบุคลิกแล้ว ยังช่วยลดแสงกระจายและความจ้าของแสงแดดที่เข้าสู่ดวงตา ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายตาขึ้น

     
และที่สำคัญที่สุดแว่นกันแดดที่ดีจะต้องช่วยกรองและลดปริมาณแสงรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีที่จะเข้ามาทำอันตรายต่อดวงตาของเราได้ ทั้งนี้จักษุแพทย์จะแนะนำให้สวมใส่แว่นกันแดดตลอดเวลาที่อยู่กลางแจ้งในเวลากลางวัน เพื่อป้องกันโรคของดวงตาที่เกิดจากการได้รับรังสียูวีจากแสงแดด เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ เป็นต้น หรือสวมแว่นขณะขับรถ ช่วงฝนตกหรือกระทั่งในเวลากลางคืน เพื่อดวงตาที่สวยใสและความปลอดภัย เห็นชัด ดวงตาจะได้อยู่คู่กับเราไปนานๆ

     พญ.ยุพิน ลีละชัยกุล จักษุแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ฝากมาบอกว่า การสวมแว่นกันแดดนอกจากจะเป็นเครื่องประดับแฟชั่นที่ยอดฮิตแล้วยังมีประโยนช์ต่อสุขภาพด้วย คือช่วยในการป้องกันสารพัดสิ่ง ทั้งกันแดด กันฝุ่น กันลม หรือกระทั่งเชื้อโรคที่มากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

      วันนี้เรามาทำความรู้จักกับแว่นกันแดดชนิดต่างๆ รวมทั้งวิธีการเลือกแว่นกันแดดให้เหมาะสมกับสถานการณ์กันดีกว่า

ปรารถนา พีรานนท์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ แว่นกันแดด บริษัท ดีทแฮล์ม มีเคล็ดลับการเลือกแว่นกันแดดเพื่อสวมใส่ในการขับรถ และการดูแลรักษาแว่นกันแดด ซึ่งแว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานนั้นจะต้องสามารถกรองรังสียูวี บี (UVB) ซึ่งเป็นรังสีที่อยู่ในย่านความถี่ 280-315 นาโนเมตรได้ และป้องกันปริมาณรังสียูวี เอ (UVA) ที่อยู่ในย่านความถี่ 100-280 นาโนเมตร ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่มีแดดจ้า หรือมีเมฆหมอกปกคลุม

   วิธีการเลือกสีเลนส์ให้เหมาะกับการขับรถ 

    - กิจกรรมการขับรถกลางแจ้ง ควรเลือกเลนส์สีเขียวและสีเทาเพราะจะช่วยในการมองเห็นที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด นอกเหนือจากการลดความจ้าของแสงในขณะขับรถ 

    - กิจกรรมขับรถในตอนแสงน้อย ควรเลือกเลนส์ สีฟ้าใส สีใส และสีเหลือง จะช่วยป้องกันแสงสะท้อนจากไฟส่องถนน โดยเฉพาะการขับรถในเวลาอากาศมัวท้องฟ้ามืดครึ้มเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดคือเลนส์สีเหลืองเพราะจะช่วยลดความสว่างของแสงมากที่สุด ทำให้ทัศนวิสัยในการขับรถดีขึ้นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล 

      เลนส์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด 

    - เลนส์พลาสติก (CR 39 Plastic) ทำจากวัสดุ CR-39 เป็นเลนส์พลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด เนื่องจากทนแรงขูดขีดได้ดีทั้งยังช่วยกรองรังสียูวีและอินฟราเรดได้ดีอีกด้วย อาทิ เรย์แบน Wayfarer (เวย์ฟาเรอร์) Jackie OHH 

    - เลนส์แก้ว (Glass) จะมีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก และทนแรงขูดขีดได้ดีกว่า แต่ก็จะมีน้ำหนักมากกว่าเลนส์พลาสติก รวมทั้งยังแตกได้ด้วย อาทิ Wayfarer (เวย์ฟาเรอร์) RB 3384 Aviator

    - เลนส์พลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Plastic) จะมีน้ำหนักเบาที่สุด ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีมาก จึงมักใช้ในการทำแว่นสำหรับกีฬาหรือกิจกรรมโลดโผน เพราะให้ความปลอดภัยจากอันตรายต่อดวงตาได้ดีที่สุด

      วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถเลือกสวมใส่ในขณะที่ขับรถได้ทุกสภาพอากาศขึ้นอยู่กับความชอบ และสไตล์ของผู้สวมใส่และแบบที่นำเสนอตามแฟชั่น 

   ความเข้มของเลนส์และประโยชน์ของการใช้งาน 

    - ความเข้มแบบเต็มเลนส์ เป็นการย้อมสีในระดับที่มีความเข้มเท่ากันทั้งเลนส์ ซึ่งสามารถจะช่วยป้องกันแสงได้ในปริมาณที่เท่ากันทุกส่วนของเลนส์เหมาะกับการสวมใส่ในบริเวณที่มีแดดจ้า หรือกลางแจ้ง เช่น การขับรถกลางแจ้ง ท่องเที่ยวชายทะเล และกิจกรรมเอาต์ดอร์ 

    - ความเข้มแบบไล่สี เป็นการย้อมสีแบบไล่ระดับจากความเข้มมากไปหาความเข้มน้อยจากบนลงล่างเหมาะกับการสวมใส่ในบริเวณที่มีแดดไม่จัดมากจนเกินไป หรือช่วงที่มีเมฆครึ้มปกคลุมเพื่อลดการสะท้อนของแสงและรังสี UV อาทิการขับในเวลากลางคืน หรือระหว่างฝนตก การแข่งกีฬาในร่ม และการสวมเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าสู่ดวงตา

   วิธีการดูแลรักษาแว่นตา 

   
- ดูแลทำความสะอาดแว่นด้วยผ้าเช็ดแว่น หรือน้ำยาทำความสะอาดแว่น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เนื่องจากกรอบแว่นและเลนส์อาจสกปรกจากฝุ่นละอองทั่วไป หรือครีมบำรุงผิวและเส้นผมของผู้สวมใส่ 

    - ผ้าที่จะนำมาใช้เช็ดเลนส์และกรอบแว่นควรเป็นผ้าที่อ่อนนุ่ม หรือผ้าสำหรับเช็ดแว่นโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ผ้าลินินหรือผ้าที่ทำจากขนสัตว์เพราะจะทำให้เกิดรอยในระหว่างที่เช็ด 

    - การเก็บแว่นควรเก็บไว้ใส่กล่องใส่แว่นตาทุกครั้ง หลังจากการเลิกใช้งานแล้วไม่ควรเก็บแว่นใส่กระเป๋าโดยตรง หรือหนีบไว้ที่กระเป๋าเสื้อ เพราะอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้จากสิ่งของอื่นๆ ที่อยู่ในกระเป๋า 

    - การสวมและถอดแว่นทุกครั้งต้องใช้มือทั้งสองข้างจับที่ขาแว่นซ้ายและขวาพร้อมกันในขณะที่สวมหรือถอด ในขณะที่สวมให้สวมจากด้านบนศีรษะ แต่ให้ถอดออกในแนวตรงเพื่อการรักษาสมดุลไม่ให้กรอบแว่นเสียรูปทรง 

    - ในกรณีที่แว่นทำจากวัสดุพลาสติก ไม่ควรถอดวางไว้บริเวณหน้ารถ ในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนเพราะความร้อนอาจทำให้แว่นเปลี่ยนรูปทรงได้



     
จากข้อมูลเหล่านี้น่าจะทำให้สามารถเลือกแว่นกันแดดได้ถูกใจ เหมาะสมกับสถานการณ์การใช้งานและสนุกสนานกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในเวลาขับรถค่ะ











ที่มา .. โพสต์ทูเดย์ และ  women.thaiza.com/

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 5 ธ.ค. 2552


สวมก่อนขับ ....ขยับความเท่...กับแว่นกันแดดสวมก่อนขับ....ขยับความเท่...กับแว่นกันแดด

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

**...กว่าจะได้มาแต่ละภาพ...**

**...กว่าจะได้มาแต่ละภาพ...**


เปิดอ่าน 6,242 ครั้ง
ความรักกับน้ำเปล่า

ความรักกับน้ำเปล่า


เปิดอ่าน 6,244 ครั้ง
บทความดี  ก็น่าอ่าน...นะ

บทความดี ก็น่าอ่าน...นะ


เปิดอ่าน 6,241 ครั้ง
ทุกข์คนบ้านจัดสรร

ทุกข์คนบ้านจัดสรร


เปิดอ่าน 6,239 ครั้ง
เข้าวัด..เพื่อพักใจ

เข้าวัด..เพื่อพักใจ


เปิดอ่าน 6,244 ครั้ง
 เมื่อ 1+1 เท่ากับ 1

เมื่อ 1+1 เท่ากับ 1


เปิดอ่าน 6,259 ครั้ง
หลุมดำ อันตราย

หลุมดำ อันตราย


เปิดอ่าน 6,240 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

3 ข้อ...บอกลานิสัยเสีย...ทำให้อ้วน

3 ข้อ...บอกลานิสัยเสีย...ทำให้อ้วน

เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
NT กับ O-NET?หลักการและแนวคิดดีแต่ยังมีความแตกต่างในเชิงปฏิบัติ???
NT กับ O-NET?หลักการและแนวคิดดีแต่ยังมีความแตกต่างในเชิงปฏิบัติ???
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

บทคัดย่อ  บทเรียนสำเร็จรูป
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูป
เปิดอ่าน 6,241 ☕ คลิกอ่านเลย

เมื่อ...กล้วยห่างกอ...
เมื่อ...กล้วยห่างกอ...
เปิดอ่าน 6,239 ☕ คลิกอ่านเลย

ลดหุ่นยังไงไม่ให้โทรม
ลดหุ่นยังไงไม่ให้โทรม
เปิดอ่าน 6,246 ☕ คลิกอ่านเลย

สารอาหาร.....แห่งอนาคต
สารอาหาร.....แห่งอนาคต
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

ครม.เห็นชอบ
ครม.เห็นชอบ
เปิดอ่าน 6,241 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พืชที่ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
พืชที่ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
เปิดอ่าน 32,118 ครั้ง

อย่าแตกตื่น เสียงลือ! 22 ก.ค. ตะวันดับ สึนามิ ถล่มเอเชีย?
อย่าแตกตื่น เสียงลือ! 22 ก.ค. ตะวันดับ สึนามิ ถล่มเอเชีย?
เปิดอ่าน 10,193 ครั้ง

พระกฤษณะ
พระกฤษณะ
เปิดอ่าน 25,540 ครั้ง

การตัดแต่งต้นไม้
การตัดแต่งต้นไม้
เปิดอ่าน 25,819 ครั้ง

ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต นิยายซีไรต์ปี 58
ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต นิยายซีไรต์ปี 58
เปิดอ่าน 13,341 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ