Advertisement
วอชิงตัน-นักวิทยาศาสตร์เตือนภัยพลาสติกบรรจุอาหารที่ใช้สารบีพีเออาจทำให้เป็นโรคเบาหวาน หัวใจ และตับทำงานผิดปกติ
วารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (จามา) ฉบับวันพุธ (17 ก.ย.) ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่องผลกระทบจากสารเคมีบิสเฟนอล เอ (บีพีเอ) อันเป็นส่วนผสมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในขวดนมเด็ก และภาชนะพลาสติกใส่อาหารว่า สารเคมีตัวนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ให้เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และตับทำงานผิดปกติ
ผลการศึกษาในผู้ใหญ่ 1,455 คน พบว่า ผู้ที่มีสารบีพีเอเข้มข้นในปัสสาวะนั้นมีอาการหลอดเลือดหัวใจผิดปกติมากกว่าคนที่มีสารนี้ในร่างกายในจำนวนเล็กน้อย เกือบ 3 เท่า และเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 2 เท่า โดยผู้เขียนรายงานระบุชัดเจนว่า ผู้ที่มีสารบีพีเอเข้มข้นในปัสสาวะนั้นมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และการทำงานของเอนไซม์ในตับผิดปกติ
รายงานฉบับนี้ออกมาเพียงวันเดียวหลังจากที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) เพิ่งจะยืนยันว่าสารบีพีเอนั้นมีความปลอดภัย โดยนางลอรา ทารันติโน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของเอฟดีเอ กล่าวว่า ค่าความปลอดภัยของสารบีพีเอที่มีอยู่ในขณะนี้เพียงพอที่จะปกป้องผู้บริโภค รวมทั้งทารกและเด็กด้วย
แต่ถึงแม้จะยืนยันว่าสารบีพีเอปลอดภัย ทางเอฟทีเอกลับออกแนวทางสั้นๆ แนะนำให้ผู้บริโภคในสหรัฐลดการสัมผัสสารชนิดนี้ ซึ่งรวมทั้งการหลีกเลี่ยงกล่องพลาสติกที่พิมพ์ตัวเลขรีไซเคิลหมายเลข 7 เพราะส่วนใหญ่มีสารบีพีเอ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการอุ่นอาหารด้วยกล่องพลาสติกประเภทนี้ เพราะความร้อนจะช่วยปล่อยสารบีพีเอออกมา
ท่าทีดังกล่าวของเอฟดีเอฉบับนี้ได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวางในแวดวงนักวิทยาศาสตร์ และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค โดยกลุ่มเหล่านี้กล่าวหาเอฟดีเอว่าเพิกเฉยต่อผลการทดลองในสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การได้รับสารบีพีเอเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ นักพิษวิทยาจากสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (เอ็นไอเอช) ได้ออกรายงานแสดงความวิตกเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในภาชนะบรรจุอาหาร ขวดพลาสติก และสารอุดฟัน โดยระบุว่า สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อการพัฒนาสมอง และต่อมลูกหมากของตัวอ่อนทารก ตลอดจนเด็กเกิดใหม่ โดยสารบีพีเอจะเข้าไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และเด็ก
อย่างไรก็ดี แม้ผลการศึกษาจะอยู่เพียงขั้นต้น แต่ก็มีหลายรัฐในสหรัฐที่กำลังพิจารณาจะเข้มงวดเรื่องการใช้สารชนิดนี้ และบางบริษัทผู้ผลิตได้เริ่มรณรงค์ให้ใช้ขวดนมเด็กที่ปลอดสารบีพีเอแล้ว โดยรัฐบาลแคนาดาได้เสนอห้ามขายขวดนมเด็กที่มีสารบีพีเอเพื่อป้องกันไว้ก่อน ขณะที่สหภาพยุโรปยังคงเห็นว่าสารนี้ปลอดภัยอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก คมชัดลึก
Advertisement
เปิดอ่าน 12,842 ครั้ง เปิดอ่าน 4,488 ครั้ง เปิดอ่าน 15,058 ครั้ง เปิดอ่าน 4,021 ครั้ง เปิดอ่าน 15,586 ครั้ง เปิดอ่าน 10,547 ครั้ง เปิดอ่าน 9,835 ครั้ง เปิดอ่าน 13,060 ครั้ง เปิดอ่าน 14,067 ครั้ง เปิดอ่าน 10,545 ครั้ง เปิดอ่าน 1,298 ครั้ง เปิดอ่าน 17,899 ครั้ง เปิดอ่าน 11,265 ครั้ง เปิดอ่าน 11,176 ครั้ง เปิดอ่าน 15,494 ครั้ง เปิดอ่าน 10,621 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 17,975 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,399 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,667 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,960 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,369 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,708 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,798 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 68,366 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,547 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,851 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,639 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,486 ครั้ง |
|
|