Advertisement
Advertisement
"บอดก็เพียงสายตาเท่านั้น แต่ดวงใจก็ยังผูกพันความงาม อาจจะรับรู้ไปตาม สูดกลิ่นงามฟังเสียงวิไลร่มไม้บังเงา ต่างก็เพียงผู้จะชม สิ่งจะชมสำคัญในมันนั่นคืออันใด เหตุกับผลนั้นหรือว่าใจ ต้นชบาก็มีความหมายไปตามคนมอง สิ่งจะงามอยู่กับใจ บอดที่ใจเห็นไปอย่างไรไม่มีวันงาม โลกจะสวยนั้นสวยไปตาม จิตที่งามมองโลกสดใสไปในทางดี"
เสียงเพลง "ต้นชบากับคนตาบอด" ของวงเฉลียง ก้องอยู่ในความคิดเมื่อเดินดูภาพถ่ายในนิทรรศการ "สู่แสงสว่าง" ที่พิพิธ ภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า
ภาพเด็กถือธงชาติอิสราเอล คนขว้างบอลที่ชายหาด ทารกน้อยนอนเปล แม้แต่ปลั๊กไฟที่เกือบจะหลุดเฟรมล้วนเป็นฝีมือการกดชัตเตอร์ของคนตาบอดทั้งสิ้น ทำไมคนตาบอดถึงอยากถ่ายภาพ คนตาบอดถ่ายรูปได้อย่างไร เขาถ่ายรูปแล้วจะเห็นรูปที่ถ่ายได้อย่างไร เป็นคำถามที่คนเข้าชมนิทรรศการพิศวงและต่างอุทานว่า "เหลือเชื่อ"
ซอนญา มุคทาร์ วัย 65 ปี หนึ่งในแปดศิลปินช่างภาพตาบอดจากอิสราเอล ที่เดินทางมากรุงเทพฯ ตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชทูตอิสรา เอลประจำประเทศไทย พร้อมกับนำภาพถ่ายชุดพิเศษมาจัดแสดงให้คนไทยได้เห็นศักยภาพของคนตาบอดที่สามารถสร้างสรรค์ในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งตรงกับคำพูดของซอนญาที่มักพูดเสมอว่า "กล้าเข้าไว้ อย่ากลัวแล้วพุ่งเข้าชน"
จุดเริ่มต้นที่ซอนญาทลายกำแพงในโลกมืดโดยใช้เลนส์กล้องเป็นเสมือนดวงตาส่องให้เห็นภาพสิ่งรอบตัว เกิดขึ้นเมื่อราว 3 ปีก่อน ขณะที่ซอนญาซึ่งทำงานเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ของสมาคมเพื่อคนตาบอดในเมืองเฮอร์ซลิยา รับโทรศัพท์จากคนปลายสายที่ถามว่าอยากจะเรียนถ่ายภาพไหม แม่ลูกสามตอบอย่างไม่ลังเลว่า มาเลยๆ อยากเรียน เพราะความจริงแล้วซอนญาเคยซื้อกล้องเพื่อถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกเหมือนคนตาดีทั่วไป แต่ไม่เคยถ่ายเอง ต้องให้คนอื่นถ่ายให้ตลอด

|
จากวันนั้น อิริส ดาเรล ชินาร์ และ คเฟียร์ ชิวาน ช่างภาพมืออาชีพก็อุทิศตนเป็นครูสอนคนตาบอดถ่ายภาพ โดยมีนักเรียนกว่า 10 คน ส่วนมากตาบอดในช่วงอายุ 8-20 ปี แต่มีบางคนตาบอดตั้งแต่เกิด ก่อนจะเริ่มสอนทั้งสองคนลองทำตัวเหมือนคนตาบอด โดยใช้ผ้าผูกตาอยู่ครึ่งวันเป็นเวลาหลายวัน แล้วเริ่มสอนให้คนตาบอดจับกล้องอัตโนมัติที่ใช้ฟิล์ม กว่าจะสอนให้จับกล้องถูกวิธีต้องใช้เวลาพักใหญ่เพราะคนตาบอดไม่รู้วิธีจับกล้องและมักถือกล้องห่างจากตัว ส่ายกล้องไปมาเหมือนคนที่ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลในสมัยนี้ พร้อมกับสอนการกะระยะ เช่น ในระยะครึ่งเมตรจะถ่ายได้ 1 คน ถ้าถอยออกมาอีกนิดจะถ่ายได้ 2-3 คนหรือมากกว่านั้น แล้วลองถ่ายรูปภายในบ้านดูก่อน
เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น คเฟียร์จึง พาไปถ่ายรูปที่ชายหาดและบอกคนตาบอดว่านี่คือหาดทราย มีเสียงลมพัด มีเสียงคลื่น และท้องฟ้า ปรากฏว่าคนตาบอดถ่ายรูปออกมาได้ดีด้วยการใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ทด แทนการมองเห็น ทั้งการดมกลิ่น การฟังเสียงและการสัมผัส รวมทั้งกะระยะได้และรับรู้โดยใช้ความร้อนได้ เช่น รู้ว่าขณะนั้นดวงอาทิตย์อยู่ตรงไหน จะได้ถ่ายรูปไม่ย้อนแสง
สิ่งที่พิเศษคือ คนตาบอดถ่ายรูปโดย ไม่เลียนแบบใคร เพราะไม่เคยเห็นรูปของใครมาก่อน แต่ละรูปมีเอกลักษณ์ แม้เป็นภาพธรรมดาๆ รูปถ่ายที่ออกมาบริสุทธิ์มาก แสดงให้เห็นถึงจินตนาการ ทั้งๆ ที่ไม่เห็น แต่คิดได้
แม้เป็นครูสอนคนตาบอดถ่ายภาพ แต่อิริสและคเฟียร์ตอบไม่ได้ว่าคนตาบอดเห็นอะไรในรูป ทั้งสองคนรู้เพียงว่าคนตาบอดใช้ "ใจ" เห็นภาพ และเชื่อว่าคนตาบอดมีสัมผัสที่ 6 เพราะเวลาไปถ่ายรูปคนตาบอดรู้ว่าถ่ายอะไร เมื่อกลับมาล้างรูป ครูถามว่าไปถ่ายรูปอะไรมา เหล่านักเรียนตาบอดสามารถ บอกได้ตรงกับในภาพถ่ายเหมือนที่เห็นในรูป
ภาพถ่ายทุกรูปโดยคนตาบอดนั้นเหมือนมีพลังออกมาจากภาพ และสื่อให้คนที่เห็น ภาพรับรู้ว่าคนตาบอดมองเห็นอะไรบ้างในโลกของเขา เช่น รูป ปลั๊กไฟ คนตาดีอาจจะเห็นเป็นรูปธรรมดาๆ แต่เป็นรูปที่ถ่ายโดย ชมูลิค โรคัค ชายผู้สูญเสียสายตาเมื่ออายุ 9 ขวบ และเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการฟังวิทยุ วันทั้งวันเขานั่งฟังวิทยุ สายปลั๊กจึงเป็นทุกอย่างในชีวิต
ส่วน คารีนา อายุ 32 ปี ค้นพบตัวเองว่ามีพรสวรรค์ด้านถ่ายรูปเมื่อมาเรียนถ่ายรูป ก่อนหน้านั้นคารีนาเคยได้ยินแต่เสียง "คลิกๆๆ" เวลาที่ครอบครัวไปเที่ยวและถ่ายรูปกัน จนกระทั่งวันหนึ่งที่ได้เรียนถ่ายรูป คารีนาได้ยินเสียงคลิกที่ตัวเองกดปุ่มชัตเตอร์ จึงดีใจมากที่ทำเสียงคลิกได้เอง และรูปฝีมือของคารีนาก็สวยมาก
คนตาบอดบางคนชอบถ่ายรูปตัวเองเหมือนคนตาดีทั่วไป โชชานา ซาร์รูม มีอายุมากที่สุดในกลุ่มคนตาบอดที่เรียนถ่ายรูป หลังจากรู้วิธีถ่ายรูปตัวเองจากเงาสะท้อนในกระจก ตั้งแต่นั้นโชชานาก็ถ่ายรูปตัวเองกับกระจกทุกบานในบ้าน
นอกจากเดินทางมาไทยเพื่อแสดงภาพในต่างประเทศเป็นครั้งแรกแล้ว ซอนญาและครูทั้งสองคนยังแบ่งปันความสุขด้วยการไปโรงเรียนสอนคนตาบอดในกรุงเทพฯ เพื่อสอนเด็กๆ 25 คน เพียง 5 นาทีเด็กๆ สามารถจับกล้องได้และกดคลิกได้ เด็กๆ ตื่นเต้นกันมาก เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีใครยอมให้คนตาบอดจับกล้องเพราะกลัวทำตก ก่อนออกจากรั้วโรงเรียนอิริสและคเฟียร์มอบกล้องอัตโนมัติที่ใช้ฟิล์มไว้ 6 ตัว ให้โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ เพื่อให้เด็กๆ ฝึกฝีมือ
การถ่ายรูปจึงเสมือนการเปิดโลกให้คนตาบอดได้รู้จักโลกที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ทั้งๆ ที่เขาอยู่ในโลกนี้ทุกวัน
ขณะเดียวกัน ก็เปิดใจให้กับคนตาดีว่าคนตาบอดก็ทำในสิ่งที่คนตาดีนึกไม่ถึงได้เช่นกัน
ที่มา :: ข่าวสด
Advertisement
|
เปิดอ่าน 25,742 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,723 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,324 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,918 ครั้ง |
เปิดอ่าน 42,885 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,376 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,232 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,267 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,406 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,654 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,369 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,259 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,111 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,171 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,753 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,223 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 11,208 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,000 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,490 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,926 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,213 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,938 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 10,985 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 35,315 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 79,296 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,423 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,755 ครั้ง |
|
|