Advertisement
ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่ว ๆ ไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจาก มีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ ปลาหมอไทยมีชื่อ เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ
ในหลายพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยจะเริ่มต้นด้วยการเตรียมบ่อด้วยการสูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งซึ่งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ จากนั้นหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลาอีกด้วย
ต่อมาก็เป็นการตากบ่อเพื่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์ เสร็จแล้วก็สูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนลอนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก แล้วปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร อุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตาย ปล่อยประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร
ปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี
ประมาณ 4-5 เดือนก็จับไปขายได้ การจับใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดอีกครั้งจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป
ปัจจุบันปลาขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท ขนาดกลาง 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาทขนาดเล็กมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท.
ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ชุดปกติขาว ของที่คุณครูต้องมีไว้นะ (รับประกันส่งภายใน 2-3 วัน) ชุดปกติขาวหญิง[ทั้งชุด] 1,590.-เท่านั้น[ผ้าวาเลนติโนขาวโอโม่]📌แถมฟรี📌ซองกันฝุ่นชุด ในราคา ฿1,590 - ฿1,890 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/1LOs2jRRDx?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 38,276 ครั้ง เปิดอ่าน 121,519 ครั้ง เปิดอ่าน 12,697 ครั้ง เปิดอ่าน 20,707 ครั้ง เปิดอ่าน 29,492 ครั้ง เปิดอ่าน 19,462 ครั้ง เปิดอ่าน 21,453 ครั้ง เปิดอ่าน 32,349 ครั้ง เปิดอ่าน 20,055 ครั้ง เปิดอ่าน 23,378 ครั้ง เปิดอ่าน 34,459 ครั้ง เปิดอ่าน 14,501 ครั้ง เปิดอ่าน 34,088 ครั้ง เปิดอ่าน 16,251 ครั้ง เปิดอ่าน 150,354 ครั้ง เปิดอ่าน 18,404 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 17,507 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 38,434 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,649 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 52,976 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,576 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,234 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,558 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,707 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,190 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,073 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,542 ครั้ง |
|
|