Advertisement
Advertisement
หลังจากที่มีข่าวลือกันในโซเชียลเน็ตเวิร์กว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะดำเนินการปิดเฟซบุ๊ก สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดัง ที่ปัจุจบันทั่วโลกมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมากถึง 1,251 ล้านราย เพื่อป้องกันการปลุกปั่นยุยงให้เกิดความแตกแยกในสังคม จนเป็นเหตุให้ คสช. ต้องออกมาชี้แจงพัลวัน โดยยืนยันว่า ไม่มีคำสั่งบล๊อคเฟซบุ๊กแต่อย่างใด เหตุที่มีผู้ใช้บางส่วนเข้าใช้ไม่ได้เมื่อเวลาประมาณ 15.45 น. ของวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น เป็นข้อผิดพลาดทางเทคนิค
อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ก็ระบุว่า เตรียมประสานไปยังต่างประเทศ เพื่อขอปิดบัญชีเฟซบุ๊กเป็นรายบัญชีในกรณีที่พบการโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปที่มีการยั่วยุ ปลุกปั่น บิดเบือน หรืออื่นใดอันขัดต่อประกาศของ คสช.
แต่รู้ไหมว่า การสั่งบล๊อก หรือแบนเฟซบุ๊กนั้น เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลของเว็บไซต์ indexoncensorship.org พบว่า ที่ผ่านมาประเทศที่เคยมีการปิดเฟซบุ๊ก หรือแบนยาวนานจนถึงปัจจุบัน มีมากถึง 10 ประเทศ ดังนี้
1. เกาหลีเหนือ
แม้เกาหลีเหนือจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวใช้ 3G ได้ แต่สำหรับประชาชนในประเทศยังคงถูกจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ดี แต่เรื่องนี้ก็ดูจะไม่เป็นปัญหาสำหรับเกาหลีเหนือเท่าใดนัก เพราะคนในประเทศก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติในขอบเขตเสรีภาพที่ถูกจำกัด โดยเกาหลีเหนือมีเพียงอินทราเน็ต Kwangmyong ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใช้สำหรับส่งข้อความอวยพรวันเกิดเท่านั้น
2. อิหร่าน
เฟซบุ๊กถูกแบนอย่างเป็นทางการในอิหร่าน หลังการเลือกตั้งปี 2009 เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้าน แม้การเข้าถึงเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในประเทศอิหร่านเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง แต่ประธานาธิบดี ฮัสซัน โรว์ฮานี กลับมีทวิตเตอร์เป็นของตัวเอง
3. จีน
เฟซบุ๊กถูกบล็อกในจีนนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 หลังเกิดการประท้วงโดยชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์ ในอุรุมชี ซึ่งใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร วางแผนการ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องออกกฎควบคุมอินเทอร์เน็ต ลบโพสต์ รวมถึงบล็อกการเข้าถึงเฟซบุ๊ก
4. คิวบา
แม้เฟซบุ๊กจะไม่ได้ถูกแบนอย่างเป็นทางการ แต่ประชาชนกลับเข้าถึงเฟซบุ๊กได้ยาก มีเพียงนักการเมือง สื่อ และนักศึกษาแพทย์เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ ส่วนคนทั่วไปหากต้องการออนไลน์ในสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถไปตามอินเทอร์เน็ตคาร์เฟ่ได้แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง 6-10 เหรียญต่อชั่วโมง ในขณะที่รายได้ของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ 20 เหรียญต่อชั่วโมงเท่านั้น
5. บังกลาเทศ
เฟซบุ๊กถูกสั่งปิดในบังกลาเทศปี 2010 หลังจากที่มีการโพสต์ภาพการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด รวมถึงผู้นำประเทศ จนทำให้ชายผู้โพสต์ถูกจับกุมตัวและมีการแบนเฟซบุ๊กนานนับสัปดาห์ หลังจากนั้น รัฐบาลบังกลาเทศจึงมีการเฝ้าระวังการโพสต์หมิ่นในเฟซบุ๊ก และสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ อย่างใกล้ชิด
6. อียิปต์
หลังจากที่ประชาชนลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีมูบารัค ก็ทำให้รัฐบาลอียิปต์ระงับการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ทันทีทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ ฮอตเมล และกูเกิล เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประท้วงใช้เฟซบุ๊กในการปลุกระดม สร้างความไม่สงบในประเทศ
7. ซีเรีย
เฟซบุ๊กถูกบล็อกในซีเรียนับตั้งแต่ปี 2007 เพื่อเป็นการลงโทษขั้นรุนแรง ภายหลังการเคลื่อนไหว ทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล อีกทั้งรัฐบาลกลัวการแทรกซึมจากอิสราเอลในสื่อออนไลน์ของซีเรีย
8. มอริเซียส
ในปี 2007 รัฐบาลมอริเซียสได้ค้นพบว่า มีเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาโดยอ้างว่า เป็นเพจของนายกรัฐมนตรี Navin Ramgoolam แห่งมอริเซียส ทางรัฐบาลจึงสั่งแบนเว็บไซต์เฟซบุ๊กทั้งหมด แต่คำสั่งแบนนั้นอยู่ได้ไม่นาน เพราะในวันต่อมาผู้คนก็สามารถเข้าใช้เฟซบุ๊กได้เหมือนเดิม และในตอนนี้ก็ดูเหมือนว่า Ramgoolam จะมีเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการจริง ๆ ของตัวเองแล้ว
9. ปากีสถาน
เฟซบุ๊กในปากีสถานถูกบล็อกในปี 2010 ประมาณ 2 สัปดาห์ ด้วยเหตุผลด้านศาสนา หลังมีการเปิดการแข่งขันวาดภาพศาสดาผ่านทางเฟซบุ๊ก ปัจจุบันใช้งานได้แล้ว แต่เว็บไซต์ยูทูบยังถูกปิดกั้น
10. เวียดนาม
ประเทศเวียดนามบล็อกเฟซบุ๊กหลังเดือนกันยายน ปี 2009 ประมาณ 1 สัปดาห์ จากข่าวลือว่ารัฐบาลเวียดนามเป็นผู้สั่งบล็อก แต่ทางรัฐบาลก็ออกมาปฏิเสธ โดยในเดือนกันยายนปี 2013 รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายห้ามประชาชนวิพาษก์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลบนเฟซบุ๊ก อย่างไรก็ตาม การบล็อกเฟซบุ๊กในเวียดนามก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเล่นสังคมออนไลน์ของประชาชน เพราะสามารถใช้งานผ่านทาง VPN ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายได้
ขอบคุณที่มาจาก กระปุก.คอม
Advertisement
|
เปิดอ่าน 10,098 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,212 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,507 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,871 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,242 ครั้ง |
เปิดอ่าน 42,250 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,648 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,889 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,285 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,010 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,247 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,849 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,929 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,366 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,074 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,901 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 29,131 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,055 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,098 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,989 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 14,147 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,724 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 26,644 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 19,174 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,548 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,235 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,921 ครั้ง |
|
|