ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
บทความการศึกษา 30 ก.ค. 2563 เปิดอ่าน : 42,826 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา  สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
Advertisement

โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community: SLC) เป็นแนวทางการจัดการการเรียนรู้ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดย ศ.มานาบุ ซาโต ศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยกักคุชูอิน ซึ่งหัวใจของ SLC คือ วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนที่ต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีสิทธิในการเรียนรู้อย่างเสมอภาค รวมถึงสร้างระบบสังคมแบบประชาธิปไตยที่นักเรียน ครู ผู้อำนวยการ ผู้ปกครอง และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเปิดชั้นเรียน โดยทุกคนสามารถร่วมสังเกตการณ์แล้วสะท้อนคิด (Reflection) การเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อครูได้นำไปพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับนักเรียน  

 
สำหรับประเทศไทยนั้นมีหลายโรงเรียนที่ได้นำ SLC เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งหนึ่งในผลลัพธ์ที่ผลิดอกออกผลเกิดขึ้นกับโรงเรียนพุทธจักรวิทยา กรุงเทพมหานคร โดยเป็นผลจากแรงผลักดันและส่งเสริมจาก EDUCA แพลตฟอร์มการสื่อสารเพื่อพัฒนาครู โดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตลอดระยะเวลา 3 ปี  
 
ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่าการทำงานกับร.ร.พุทธจักรวิทยาในช่วงปีแรกเน้นการทำเวิร์คชอปเพื่อเปิดใจและสร้างความเข้าใจกับครูและผู้อำนวยการในการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ซึ่งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการเปิดชั้นเรียนครั้งแรก และให้คนภายนอกเข้ามาสังเกตการสอน โดยดร.เอสุเกะ ไซโต ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLC จากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียได้เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และแสดงให้เห็นว่าการเปิดชั้นเรียนตามแนวทาง SLC คือต้องไม่รบกวนการสอนของครู และการสอนของเด็ก ส่งผลให้ครูได้เห็นมุมมองของ SLC มากยิ่งขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 ของการดำเนินงาน สังเกตได้จากบทสนทนาของกลุ่มครูที่มุ่งเน้นถึงการหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 
 
นอกจากนั้น ครูยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกมากกว่าเดิม เมื่อถึงเวลาที่มีครูต้องการความช่วยเหลือ เพื่อนครูจะดึงจุดแข็งของตัวเองมาช่วยสนับสนุน ขณะที่เด็กก็มีความผูกพัน รู้จักทักษะการทำงานเป็นทีม และพาเพื่อนทุกคนร่วมเรียนไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งเพื่อนคนไหนให้เรียนคนเดียว ซึ่งจากการดำเนินงานตามแนวทาง SLC มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ร.ร.พุทธจักรวิทยามีคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของปี 2562 เพิ่มขึ้น และจากคะแนนเฉลี่ยของทุกกลุ่มวิชามีค่าพัฒนาการเป็นบวก (เปรียบเทียบปีการศึกษา 2561-2562) มากที่สุดของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 
 
“คะแนนโอเน็ตเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขที่เห็นผลได้จากการทำ SLC แต่แนวคิด SLC ไม่ได้มีผลโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันที คือต้องใช้เวลา ซึ่งเมื่อครูสนใจการเรียนของเด็กมากขึ้นก็จะยอมปรับการสอนของตัวเอง เพื่อสร้างห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กทุกคน หลังจากนั้นเรื่องผลการเรียนจะเป็นผลที่ตามมาทีหลัง อย่างไรก็ดี  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จากการที่ครูต้องเชื่อก่อนว่าเด็กทุกคนเป็นคนสำคัญและเก่งได้ในแบบของเขา ห้องเรียนไม่ใช่พื้นที่ปิด คนนอกสามารถมาเรียนรู้ด้วยกันได้ ยิ่งมีหลายคนมาดู ก็จะทำให้ครูเห็นลูกศิษย์ในหลากหลายมิติมากขึ้น ส่งผลให้การสอนมีความเข้มแข็ง และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในห้องเรียนเมื่อครูใส่ใจเด็กทุกคน” 
 
อ.ธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ์ ผู้อำนวยการ ร.ร.พุทธจักรวิทยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการสอบโอเน็ตระดับชั้นม.3ของปีการศึกษา 2562 ว่ามีคะแนนเฉลี่ยรวมของทุกกลุ่มวิชาสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2561 ซึ่งมีผลต่าง 0.84 ห่างจากโรงเรียนที่มีค่าพัฒนาการเป็นบวกลำดับ 2 และ 3 ซึ่งมีผลต่างที่ 0.57 และ 0.43 โดยร.ร.พุทธจักรวิทยามี 2 กลุ่มวิชาที่คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ที่ 55.95 และ 33.91 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 นั้น ภาษาไทยเพิ่มขึ้น 4.01 คะแนน และภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น 8.95 คะแนน ขณะเดียวกัน คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษของร.ร.พุทธจักรวิทยายังสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศอีกด้วย ซึ่งคะแนนโอเน็ตวิชาภาษาไทยของประเทศอยู่ที่ 55.14 คะแนน และภาษาอังกฤษ 33.25 คะแนน 
 
“ด้วยปรัชญาของ SLC คือไม่ทิ้งเด็กไว้ข้างหลังแม้แต่คนเดียว ครูจึงออกแบบการสอนที่สอดรับกับพัฒนาการของเด็ก และจากการเปิดชั้นเรียนที่ให้เพื่อนครูและคนภายนอกได้ร่วมสะท้อนถึงการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้ครูได้รับแรงกระตุ้น พวกเขาต้องตื่นตัวตลอดเวลาในการเตรียมการสอน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพมากที่สุด ทั้งนั้น จากกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SLC มาโดยตลอด ส่งผลให้โรงเรียนของเราได้รับโล่รางวัลดีเด่นระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับประเทศ ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำปี 2562 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SLC เป็นแนวทางที่ทำให้ครูได้ดูแลและติดตามเด็กอย่างใกล้ชิด โดยผลลัพธ์ทั้งสองอย่างที่เกิดขึ้นนั้นได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับครูร.ร.พุทธจักรวิทยา  อย่างมาก” 
 
ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) แสดงความคิดเห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นผลลัพธ์ปลายทางที่เป็นรูปธรรม แต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงคือ การเกิดวิสัยทัศน์ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ครู ผู้บริหาร และนักวิชาการ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมีอนาคตทางการศึกษา ผ่าน 3 ปรัชญาที่ยึดถือในการทำงาน ได้แก่ ปรัชญาของความเป็นสาธารณะ ปรัชญาของความเป็นประชาธิปไตย และปรัชญาของความเป็นเลิศ รวมถึงการออกแบบระบบกิจกรรมที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเรียนรู้ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งหมดคือปัจจัยที่ทำให้ร.ร.พุทธจักรวิทยาประสบผลสำเร็จ 
 
“เรามองว่าแนวคิด SLC เป็นปรัชญาและวิสัยทัศน์การพัฒนาโรงเรียนที่เป็นสากล และเหมาะสมกับประเทศไทย เพราะตอบโจทย์การสร้างทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี ที่ผ่านมา EDUCA ได้ส่งเสริมและเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายระดับโลกด้าน SLC สู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ การดูงาน เยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ตลอดจนเผยแพร่ความรู้SLC ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติผ่านงานมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูมากว่า 6  ปี รวมถึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อสื่อสารเรื่องนี้อีก 6 เล่ม โดย EDUCA มุ่งมั่นให้เกิดเครือข่ายโรงเรียน SLC ในประเทศไทย เพราะเชื่อมั่นว่าจะเป็นแนวทางที่สามารถสร้างการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในระยะยาว” 
 
“SLC อยู่บนพื้นฐานปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressive Education) เชื่อในการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง เด็กๆ เป็นเจ้าของการเรียนรู้ และรู้สึกว่าความรู้เหล่านั้นมีความหมายกับพวกเขา ดังนั้น ต้องกลับไปทบทวนถึงปรัชญาการศึกษาว่าแท้จริงแล้วการจัดการเรียนรู้ของไทยตั้งอยู่บนปรัชญาการศึกษาใด และจะทำอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถสร้างทักษะที่สำคัญเพื่อให้เด็กๆ ของเราเผชิญความท้าทายได้ทุกยุคสมัย ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตการณ์จากโควิด 19 ครั้งนี้เท่านั้น” ดร.นิภาพรกล่าวปิดท้าย 
 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21

ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
เปิดอ่าน 8,541 ครั้ง
การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง

การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง
เปิดอ่าน 17,931 ครั้ง
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้
เปิดอ่าน 9,591 ครั้ง
ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
เปิดอ่าน 6,650 ครั้ง
สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด

สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด
เปิดอ่าน 9,666 ครั้ง
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
เปิดอ่าน 14,347 ครั้ง
Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด

Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
เปิดอ่าน 8,310 ครั้ง
หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง

หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง
เปิดอ่าน 35,031 ครั้ง
หนี้การศึกษา

หนี้การศึกษา
เปิดอ่าน 7,543 ครั้ง
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 7,716 ครั้ง
การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’ ผู้เขียน ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร

การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’ ผู้เขียน ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร
เปิดอ่าน 43,773 ครั้ง
วิธีเฟ้นคนแบบ "Google" ไม่สนปริญญา

วิธีเฟ้นคนแบบ "Google" ไม่สนปริญญา
เปิดอ่าน 6,924 ครั้ง
ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ

ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
เปิดอ่าน 30,105 ครั้ง
"ฟุตบอล"...สอนอะไร

"ฟุตบอล"...สอนอะไร
เปิดอ่าน 7,388 ครั้ง
ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?

ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?
เปิดอ่าน 23,804 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความคิดสร้างสรรค์ (1)
ความคิดสร้างสรรค์ (1)
เปิดอ่าน 7,926 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
เปิดอ่าน 8,528 ☕ คลิกอ่านเลย

"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
เปิดอ่าน 116,495 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
เปิดอ่าน 19,445 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมคนไทยปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ผล
ทำไมคนไทยปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ผล
เปิดอ่าน 14,982 ☕ คลิกอ่านเลย

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
เปิดอ่าน 30,919 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร  สมหมาย
ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร สมหมาย
เปิดอ่าน 38,005 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
เปิดอ่าน 12,023 ครั้ง

กลเม็ดหาเงินสร้างธุรกิจ
กลเม็ดหาเงินสร้างธุรกิจ
เปิดอ่าน 10,232 ครั้ง

คู่มือส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมลูกเสือทักษะชีวิตในสถานศึกษา
คู่มือส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมลูกเสือทักษะชีวิตในสถานศึกษา
เปิดอ่าน 14,507 ครั้ง

กฎหมายตราสามดวง
กฎหมายตราสามดวง
เปิดอ่าน 40,614 ครั้ง

แนะนำอาหารสำหรับผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID)
แนะนำอาหารสำหรับผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID)
เปิดอ่าน 2,663 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ