Advertisement
Advertisement
คอลัมน์ Education Ideas
โดย ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ปัจจุบัน หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการค่อนข้างมีอิสระและขาดการเชื่อมโยงข้อมูลอย่าง เป็นระบบ ดังจะเห็นว่าสัดส่วนนักศึกษามัธยมปลาย:อาชีวศึกษาไม่สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์ชาติ ในขณะที่แรงงานฝีมือระดับ ปวส.ลดลง นักศึกษามุ่งเน้นศึกษาต่อให้ได้ปริญญาตรีเป็นหลัก
2.1.ความร่วมมือของภาคผู้ประกอบการมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านกำลังคนโดยตรง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาอย่างใกล้ชิดในการจัดการเรียน การสอน สนับสนุนการฝึกงานหรือสหกิจศึกษาอย่างจริงจังและเป็นระบบ
กำหนดค่าตอบแทนแรงงานฝีมือตามสมรรถนะมากกว่าการกำหนดตามวุฒิการศึกษา และลดช่องว่างเงินเดือนระหว่างช่างเทคนิคกับระดับปริญญาตรีให้แคบลง ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
2.2.ส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงทางสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.เมื่อเข้าสู่การทำงานส่วนใหญ่มุ่งหวังศึกษาต่อให้ได้ระดับปริญญาตรี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาต่อเนื่อง ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อเนื่องในสายวิชาชีพเดิม
หากกฎเกณฑ์ไม่เอื้ออำนวยและมีความยากในการศึกษาต่อสายเดิม ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเส้นทางไปเรียนต่อในสาขาที่ไม่สอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจ ดังปรากฏในข้อมูลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น สกอ.และมหาวิทยาลัยด้านวิชาชีพจะต้องหาทางออกในเรื่องนี้ร่วมกันอย่างจริง จังที่สามารถปฏิบัติได้ และสอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
3.พัฒนาสมรรถนะ กำลังคน ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยจะได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา บัตรรับรองคุณวุฒิที่จบการศึกษามา แต่การทำงานจริงวุฒิการศึกษามิใช่เป็นตัวชี้วัดว่ามีสมรรถนะในระดับใด ดังนั้น กำลังคนเมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสมรรถนะการทำงานสูงขึ้นทั้งในภาคการผลิตและบริการ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญเรื่องสมรรถนะ เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลบังคับใช้ หนึ่งในสาระสำคัญคือการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ประเทศไทยต้องมีความพร้อมที่จะให้กำลังคนใน 7 สาขาวิชาชีพที่มีความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement) สามารถประกอบอาชีพในประเทศนั้น ๆ ได้ตามกฎระเบียบและคุณสมบัติที่กำหนด
บทสรุปของรายงาน "ระบบการศึกษากับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย" เป็นสิ่งที่ผมอยากจะย้ำเตือนทุกภาคส่วนของประเทศว่าผลของปัญหาทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในวันนี้เปรียบเสมือนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่เราเห็นโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเท่านั้น
แต่ยังคงมีส่วนสำคัญคือก้อนภูเขาไฟทั้งลูกที่อยู่ใต้น้ำและรอคอยการปะทุ ซึ่งทุกปัญหาเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ และจะเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศไม่เพียงแต่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะเป็นปัญหาเรื่องความมั่นคงของประเทศไทยในทุกมิติ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเป็นระบบ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 02 ธ.ค. 2557
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ระบบการศึกษาที่ไม่สมดุล (1)
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
Advertisement
|
เปิดอ่าน 7,189 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,536 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,171 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,619 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,132 ครั้ง |
เปิดอ่าน 50,605 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,785 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,974 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,797 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,257 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,430 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,728 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,762 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,305 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,561 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 11,659 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 32,929 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 31,070 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,450 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,724 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,410 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,748 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 9,173 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 67,203 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,884 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,299 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,375 ครั้ง |
|
|