Advertisement
Advertisement
การเขียนรายงาน
รูปแบบของรายงาน
-
ส่วนประกอบตอนต้น
-
ส่วนเนื้อเรื่อง
-
หน้าปกรายงาน ควรเขียนด้วยรายมือตัวบรรจง ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
-
คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
-
คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน
-
สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน
-
บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ
-
ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
-
ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
-
ส่วนประกอบตอนท้าย
-
บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แตง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า
-
ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
กระบวนการเขียนรายงาน
รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้
ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้
-
การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน
-
การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )
6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตาม
การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
Advertisement
|
เปิดอ่าน 3,960 ครั้ง |
เปิดอ่าน 74,023 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,162 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,510 ครั้ง |
เปิดอ่าน 68,137 ครั้ง |
เปิดอ่าน 68,761 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,873 ครั้ง |
เปิดอ่าน 287,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 208 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,466 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,981 ครั้ง |
เปิดอ่าน 51,522 ครั้ง |
เปิดอ่าน 81,922 ครั้ง |
เปิดอ่าน 91,421 ครั้ง |
เปิดอ่าน 82,539 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 68,671 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 5,510 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,477 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 37,207 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 28,645 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 3,776 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 43,423 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 14,550 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 36,109 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 33,516 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 15,138 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 21,285 ครั้ง |
|
|