Advertisement
❝ ยังมีคนไทยอีกหลายคน ไม่แน่ใจว่าเวลาเจ็บป่วยหรือปวดตามร่างกายควรจะเลือกกินยาอะไร ระหว่าง พาราเซตามอล แอสไพริน ความรู้เรื่องนี้ของคนไทยก็ไม่ต่างจากคนอังกฤษ ❞
จากงานวิจัยชิ้นล่าสุดของ ประเทศอังกฤษ ได้ข้อสรุปที่น่าประหลาดใจว่า 1 ใน 3 ของคนอังกฤษไม่รู้ถึงความแตกต่างของ ยาแก้ปวด แต่ละชนิด เวลาไปซื้อยาที่ร้านหมอ คนอังกฤษก็มักจะเรียกหายาที่ต้องการจากชื่อยี่ห้อ โดยไม่รู้ว่ามีตัวยาอะไรอยู่ในยานั้นบ้าง
ยาแก้ปวดที่เราคุ้นชื่อกันดีและหาซื้อได้ตามร้านขายยานั้น ส่วนใหญ่เป็นยา "สูตรเดี่ยว" ชื่อเราค่อนข้างคุ้นหูมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หาก ต้องกินยาแก้ปวดให้เลือกกินพาราเซตามอล หรืออะเซตามินโนเฟน (Acetaminophen) เพราะมีสรรพคุณแก้ปวดลดไข้ ไม่กัดกระเพาะ เหมือนยาแก้ปวดทั่วไป และมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็ไม่ควรกินต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน เพราะหากกินเกินปริมาณมากและติดต่อกันนานๆ จะมีผลต่อตับและไต
แอสไพรินถือเป็นยาแก้ปวดตำรับเก่าแก่ที่สุดและราคาไม่แพง มีสรรพคุณแตกต่างจากพาราเซตามอลตรงที่แก้ปวดและลดการอักเสบ
งาน วิจัยหลายชิ้นแนะนำให้กินยาแอสไพรินวันละเม็ด เพื่อช่วยให้หลอดเลือดหัวใจไม่แข็งตัว แต่การกินยาแอสไพรินมากเกินไป ก็อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและไตวายได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระมัดระวังก่อนกินยาก็คือ ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียงมากน้อยต่างกัน หากกินผิดขนาด (กินมากหรือน้อยเกิน) หรือผิดประเภท เพราะนอกจากไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้ป่วยหนักขึ้นไปอีกก็ได้ และยิ่งช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว พากันเป็นหวัดไปตามกัน
พอเป็นแล้วก็มักจะหันหน้าเข้าพึ่งยาแก้หวัดกันอย่างอัตโนมัติ โดยเฉพาะยาแก้หวัดบรรจุแผงหลายยี่ห้อที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดหรือร้านหมอตี๋ ทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติครอบจักรวาล ทั้งบรรเทาอาการ ปวดหัว ลดไข้ คัดจมูก ลดน้ำมูก ลดเสมหะ เจ็บคอ ฯลฯ
ยาประเภทนี้มีส่วนผสมของฟีนิลโปรปาโนลามีน (Phenylpropanolamine) หรือพีพีเอ ที่เชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้ยาเกิดภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) เมื่อ 5 ปีก่อนยาแก้หวัดเหล่านี้ จึงถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศสั่งถอนออกจากท้องตลาด
อย.แนะ นำว่า ถ้าเป็นหวัดควรเลือกกินยาเดี่ยว นอกจากจะถูกกว่าแล้ว ยังไม่ต้องรับผลข้างเคียงจากยาโดยไม่จำเป็น เป็นต้นว่า เมื่อมีไข้ ไม่มีน้ำมูก ให้กินพาราเซตามอล ซึ่งใช้แก้ไข้ปวด หากคัดจมูก จึงค่อยกินยาแอนตี้ฮิสทามิน เช่น คลอร์เฟนิรามีน เพราะตัวยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ดังนั้น หากมีไข้อย่างเดียว ไม่ต้องกินให้ง่วงกันไปเปล่าๆ
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ถ้าไม่หนักหนาอะไรก็นอนพักผ่อนแทน ดีกว่ากินยาแก้ปวดแบบพร่ำเพรื่อนะคะ
ข้อมูลจาก : สยามดารา
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) คลิกเลย👇👇
฿129https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 12,964 ครั้ง  เปิดอ่าน 10,734 ครั้ง  เปิดอ่าน 8,609 ครั้ง  เปิดอ่าน 17,276 ครั้ง  เปิดอ่าน 15,841 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,993 ครั้ง  เปิดอ่าน 8,441 ครั้ง  เปิดอ่าน 10,401 ครั้ง  เปิดอ่าน 17,158 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,529 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,279 ครั้ง  เปิดอ่าน 14,020 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,354 ครั้ง  เปิดอ่าน 26,162 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,796 ครั้ง  เปิดอ่าน 35,324 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 129,608 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 13,605 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 26,771 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,352 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 24,132 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,045 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 32,885 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 8,946 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 2,590 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 53,569 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 15,714 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 18,181 ครั้ง |
|
|