ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559


บทความการศึกษา 28 ม.ค. 2559 เวลา 09:23 น. เปิดอ่าน : 8,713 ครั้ง
Advertisement

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

Advertisement

โดย เพชร เหมือนพันธุ์

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฟันธงนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาเรื่องการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" Kick off ออกไปเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เพื่อขับเคลื่อนรัฐนาวาการศึกษาไทยให้ก้าวเข้าสู่สนามแข่งขันในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกด้วยนโยบายสั้นๆ ว่า "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็ว เข้าถึงภายในรั้วโรงเรียน เข้าใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุดตั้งแต่มีนโยบายปฏิรูปการศึกษามาในรอบ 20 ปี นโยบายนี้หากมีการขับเคลื่อนจัดการที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน

พลังแรงสั่นสะเทือนนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เหมือนแผ่นดินไหวเล็กๆ แต่มีพลังอำนาจขับเคลื่อนสูง สั่นสะเทือนไปถึงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของนักเรียน ของครู และผู้ปกครอง เป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร พลังอำนาจคลื่นสั่นสะเทือนจะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงตามมา และจะมีอาฟเตอร์ช็อก (After Shock) ตามมาอีกหลายครั้ง จะเกิดปฏิกิริยาโต้กลับ (Reaction) จากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือครู นักเรียน ผู้ปกครอง และสังคม เพราะนโยบายนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปถึงโครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างเวลาเรียน และการวัดผลการเรียน

ผลกระทบจากนโยบายนี้คือสไตล์การสอนของครูจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับธรรมชาติของรายวิชา เด็กลดเวลานั่งเรียนในห้องลง ครูลดเวลายืนอธิบายบรรยาย (Lecture) หน้าชั้นตลอดวันลง "กิจกรรมการเพิ่มเวลารู้" จะเป็นแรงขับให้ทุกสถาบันการศึกษาแสวงหารูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทและทรัพยากรขององค์กรตน

การเปลี่ยนแปลงจะยังไม่หยุดนิ่งจนกว่าพลังอำนาจของนโยบายจะนิ่ง เมื่อพลังแรงขับเคลื่อนสงบลงก็จะตกผลึก กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ขององค์กรที่จะเกิดขึ้น

ในสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือฟินแลนด์ เขาจะจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้สัมผัสกับโลกเสมือนจริง ได้เรียนรู้จากการกระทำ เริ่มจากกิจกรรมการฝึกนิสัย กิริยามารยาท การสร้างความมีระเบียบ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจนักกีฬา ผ่านกิจกรรมชั้นเรียน กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมความรับผิดชอบการรักษาความสะอาดห้องเรียน บริเวณโรงเรียน กิจกรรมจิตสาธารณะ กิจกรรมสภานักเรียน กิจกรรมคณะสีนักเรียน ฯลฯ ในกิจกรรมชมรมนักเรียนที่เขาจัดจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ประเภทที่ 1 เป็นกิจกรรมชุมนุมที่ใช้กำลัง เช่น ชุมนุมกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล เทนนิส ฯลฯ ดนตรี ศิลปะ และประเภทที่ 2 ชุมนุมเชิงวิชาการ เช่น ชุมนุมภาษาไทย ชุมนุมภาษาอังกฤษ ชุมนุมภาษาต่างประเทศ ชุมนุมวิทยาศาสตร์ ชุมนุมคณิตศาสตร์ ชุมนุมบรรณารักษ์ ชุมนุมเกษตรกร ฯลฯ และกิจกรรมฝึกประสบการณ์ เช่น กิจกรรมออกฝึกงานหรือออกฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะมีการออกไปสัมผัสกับสถานประกอบการจริง ได้ไปฝึกงานในสถานประกอบการ

ต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็กที่เรียนอยู่ในระดับชั้น ม.2 เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีพลังมาก เริ่มแสวงหาประสบการณ์ อยากรู้อยากเห็นอยากเป็น เป็นวัยที่ก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเต็มที่ หากทางโรงเรียนไม่จัดให้ เด็กจะก้าวร้าว ก่อกวน เกเร สร้างปัญหาให้แก่โรงเรียน ในประเทศไทยเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นจะถูกโรงเรียนละเลยไม่ให้ความสนใจ เพราะทุกโรงเรียนต่างหันไปสนใจเด็กนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกโรงเรียนต่างผลักดันให้เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายไปสอบเข้าเรียนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่ดีให้ได้ เด็กมัธยมศึกษาตอนต้นจึงถูกปล่อยทิ้ง ต่างจากโรงเรียนมัธยมในต่างประเทศ

ปรากฏการณ์จากคลื่นกระแสพลังผลักดันลูกแรกที่จะเกิดกับครู นักเรียน ผู้ปกครองคือ อาการแตกตื่นตระหนกโกลาหล (Chaos) ต่อต้าน หรือแรงฝืนแรงขืนต่อนโยบาย จนกว่าพลังอำนาจของแรงสั่นสะเทือนของนโยบายจะหยุดนิ่ง หลังจากนั้นเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างสงบ ปรับตัวลงได้ สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นหรือจะอุบัติขึ้น ความเปลี่ยนแปลงจะตามมา

ผู้บริหารสถานศึกษาและครูทุกคนต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift) คำกล่าวอ้างที่ ว่า "เพิ่มเวลามั่วให้เด็ก เพิ่มภาระให้ครู เพิ่มเวลาเล่นให้เด็ก" หรือสารพัดข้ออ้างเพื่อป้องกันตนเอง (Self defense) หรือกลไกป้องกันตนเอง (Defense Mechanic) ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และต้องสนองนโยบายให้ได้ รับมือกับอาฟเตอร์ช็อก (After Shock) ที่จะตามมาอีกหลายลูกให้ทัน

อาฟเตอร์ช็อกลูกที่ 1 คือการปฏิรูปหลักสูตรให้สอดคล้องกับเวลาเรียน บางวิชาจะถูกตัดออกไปเพราะเด็กสามารถเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากสังคมได้ หลายวิชาที่เป็นขยะ (Garbage) จะต้องตัดทิ้งไป เนื้อหาวิชาที่ซ้ำซ้อน เรียนแล้วเรียนอีกจะต้องตัดออก เช่น ในรายวิชาภาษาไทย มีเนื้อหาที่ว่าด้วยอักษร 3 หมู่ คือ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ เรียนมาตั้งแต่ชั้น ป.3-4 จนถึงระดับปริญญาตรี หรือในวิชาคณิตศาสตร์ที่เนื้อหาไม่ได้สัมพันธ์กับวิถีชีวิตจริง วิชาการเงินการบัญชีที่ทุกคนจำเป็นต้องสัมผัสต้องใช้กลับไม่มีสอนในโรงเรียน การรื้อโครงสร้างของหลักสูตรของเนื้อหาวิชาจะต้องสร้างคนไทย ครูไทย นักเรียนไทย ให้มีความรู้เรื่องเงิน เรื่องบัญชีรับ-จ่าย หลายวิชาในห้องเรียนในหลักสูตรไม่มีความจำเป็นในชีวิตของผู้เรียน ไม่แก้ปัญหาในอนาคต เป็นขยะในหลักสูตร ควรตัดทิ้ง เรียนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ที่ผ่านมาเจ้านายไปดูงานประเทศไหนมาเห็นของเขาดีก็เอามาจับยัดใส่เข้าไปในหลักสูตร เข้าไปในชั้นเรียน เด็กเรียนจนสำลัก เรียนจนเบลอแต่ไม่เกิดการเรียนรู้ เพราะเด็กไม่รับหรือรับไม่ได้ ก็เหมือนเทน้ำใส่ลงไปในแก้วที่น้ำมันเต็มจนล้นแก้วแล้ว

อาฟเตอร์ช็อกลูกที่ 2 คือพฤติกรรมการสอนของครูต้องเปลี่ยนแปลง การจัดทำแผนการสอน (Lesson Plan) ต้องเปลี่ยนแปลง ครูที่เก่งคือครูที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสามารถรู้จักคิดแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โสเครติส (Socrates) กล่าวว่า "ฉันไม่เคยสอนอะไรใครเลย ฉันเพียงแต่ทำให้เขาคิดเป็นเท่านั้น" สไตล์การสอนแบบเล็กเชอร์ (Lecture) ที่ครูยืนพูดอยู่หน้าห้องคนเดียวตลอดชั่วโมงตลอดวัน เป็นพระเอกอยู่คนเดียวนั้นก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้น้อยมาก ควรลด เลิก ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง กิจกรรมการเรียนการสอนผ่านโครงงานผ่านการได้ฝึกปฏิบัติจริงในโรงฝึกงานในสถานประกอบการ ผ่านการทำกิจกรรมชุมนุม จะสร้างให้เกิดการเผชิญกับปัญหาจริง เด็กได้ร่วมกันหาวิธีการแก้ปัญหา ได้การแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทีม การเผชิญปัญหา ทำให้ต้องมีการคิดแก้ปัญหา คิดวางแผน คิดออกแบบกิจกรรมการสร้างปัญหา แก้ปัญหาขณะดำเนินการ ซึ่งเป็นขบวนการเรียนรู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง การทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เลือกทางเลือกที่ดีที่เหมาะสมเป็น ความรู้ทุกวันนี้แขวนอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในคลื่นแม่เหล็กอยู่กับครู Google

ดังนั้น เมื่อฐานของความรู้เปลี่ยนจากครูไปอยู่ที่สื่อ Online แล้ว ครูก็มีหน้าที่จัดให้นักเรียนรู้จักใช้เครื่องมือแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเท่านั้น

อาฟเตอร์ช็อกลูกที่ 3 คือวัฒนธรรมการเรียนของเด็กจะเปลี่ยนไป เด็กจะมีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือสมัยใหม่แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูหยุดสอนแบบเก่า หันไปสอนแบบทันสมัย นักเรียนหยุดเรียนในรูปแบบเดิม หันไปเรียนในรูปแบบใหม่ หยุดการจัดกิจกรรมเข้าร่วมชุมนุมแบบบังคับ หรือเกณฑ์เข้าร่วมกิจกรรม เปลี่ยนเป็นให้เด็กมีความหิวกระหาย มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ใครไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นความเสียหาย จะไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน เข้ากลุ่มไม่ได้ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติอย่างสนุกสนานและมีความหมายด้วยตนเอง กิจกรรมนักเรียนจะเป็นเครื่องมือในการสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน สร้างให้เป็นนักสู้ สร้างให้เป็นนักกีฬา สร้างให้เป็นนักเผชิญปัญหา

ในวันที่ดูฟุตบอลเยาวชนเอเชียไปโอลิมปิกที่ กาตาร์ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น นั่งดูไปก็เอาใจช่วยทีมชาติไทยไป หวังว่าทีมไทยน่าจะมีโอกาสชนะญี่ปุ่นบ้าง แต่ขณะที่นั่งลุ้นไปก็มีสิ่งหนึ่งที่อุบัติขึ้นในสมองของผู้เขียน คือรู้ว่านักกีฬาฟุตบอลของญี่ปุ่นมีชิป (Chip) สำคัญตัวหนึ่งที่ฝังอยู่ในสมองของนักฟุตบอลญี่ปุ่นทุกคนคือ "เขาต้องชนะเท่านั้น" ซึ่งสิ่งนี้ถูกปลูกฝังมาในสมองของเด็กทุกคนตั้งแต่วันเข้าโรงเรียน ฝังอยู่ในกิจกรรมนักเรียนของเด็ก ของทุกโรงเรียน คือการได้เข้าร่วมกิจกรรมในภาคบ่ายนั้น เด็กญี่ปุ่นจะได้รับการปลูกฝังว่าต้องมีการวางแผนก่อนเล่นทุกครั้ง และการวางแผนจะต้องวางแผนเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ให้ได้ทุกครั้ง และทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะมีครูหรือผู้ที่มีความรู้มาเป็นโค้ชให้ทุกครั้ง เด็กทุกคนจะมีความหิวกระหายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทุกคน มีระเบียบ มีวินัยการทำงานเป็นทีม การเคารพกฎกติกาในการเล่นจะถูกปลูกฝังไปด้วยทุกครั้ง ดังนั้น กีฬาฟุตบอลเยาวชนไปโอลิมปิกโลกในวันนั้น "ฉันต้องเป็นฝ่ายชนะเท่านั้น"

อาฟเตอร์ช็อกลูกที่ 4 คือกิจกรรมการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ การวัดผลในโรงเรียนที่เราถือปฏิบัติอยู่ทุกวันนั้นเป็นกิจกรรมที่ล้าสมัย การวัดผลที่ใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบ (ปรนัย) เกิดขึ้นมาในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ.2508-2510 และมารุ่งเรืองประมาณปี พ.ศ.2513-2516 และมาเป็นกฎหมายปรากฏในหลักสูตรปี 2521 และยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ เป็นเครื่องมือวัดผลที่ใช้ได้ในเฉพาะบางแห่งบางเรื่อง แต่ไทยเอามาใช้ในทุกแห่งทุกเรื่อง ทุกสถานที่ทุกเวลา เพราะผลดีคือมันใช้ง่าย สะดวก เป็นวิทยาศาสตร์ มีความเที่ยงตรงสูง ฯลฯ ส่วนผลเสียไม่มีใครพูดถึง เช่น ลอกกันได้ง่าย เดาได้ง่าย ครูผู้สอนผู้วัดผลก็เมกอัพ นั่งเทียนให้เกรดให้คะแนนได้ง่าย ครูขี้เกียจบางคนสามารถยกเมฆได้ เป็นข้อสอบที่ไม่ส่งเสริมให้เด็กคิดเป็นแก้ปัญหาเป็น สอนให้มักง่าย สอนให้นั่งรอคำตอบ ข่าวล่าสุดในไลน์ที่ส่งเป็นภาพถ่ายจากเพื่อนมา พบว่าเด็กเขมรสอบวัดผลด้วยข้อสอบอัตนัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ใครทุจริตลอกข้อสอบต้องติดคุก

อาฟเตอร์ช็อกลูกที่ 5 เด็กไทยรู้จักคิด คนไทยมีศักยภาพที่จะเข้าสู่สนามแข่งขันได้อย่างมั่นใจ จึงเสนอไว้เพื่อให้ผู้มีอำนาจพิจารณา

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 28 ม.ค. 2559 (กรอบบ่าย) 


เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559เดินหน้าปฏิรูปการศึกษา2559

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์

เปิดอ่าน 9,692 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย
อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย
เปิดอ่าน 14,558 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
เปิดอ่าน 7,435 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
เปิดอ่าน 9,398 ☕ คลิกอ่านเลย

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
เปิดอ่าน 15,125 ☕ คลิกอ่านเลย

8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
เปิดอ่าน 16,428 ☕ คลิกอ่านเลย

มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
เปิดอ่าน 10,015 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีจำศัพท์
วิธีจำศัพท์
เปิดอ่าน 16,143 ครั้ง

เทคนิคการปลูกกล้วย ให้มีกลิ่นต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี
เทคนิคการปลูกกล้วย ให้มีกลิ่นต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี
เปิดอ่าน 20,451 ครั้ง

13 ตุลาคม ของทุกปี "วันนวมินทรมหาราช"
13 ตุลาคม ของทุกปี "วันนวมินทรมหาราช"
เปิดอ่าน 3,310 ครั้ง

โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์
โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์
เปิดอ่าน 19,544 ครั้ง

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
เปิดอ่าน 19,954 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ