Advertisement
การปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไปโดยที่ยังมองไม่เห็นหนทางที่จะแก้ปัญหาความตกต่ำของคุณภาพการศึกษาไทย ย่อมมีหายนะรออยู่ข้างหน้า สารพัดเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ นำมาแก้ปัญหาการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ STEM หรือ ปตอ. (ประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษาในระดับมัธยมศึกษา) ก็เปรียบเสมือนกับการปะผุอุดรอยรั่วของท้องเรือเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลเข้าท้องเรือทำให้จมลงไปใต้น้ำได้เท่านั้น
เวลาที่สูญเสียไปคือต้นทุนของประเทศ โลกยุคนี้กำลังเผชิญอยู่กับการแข่งขันทั้งทางการค้าและทางเทคโนโลยี โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค New Digital World ไปแล้ว บัดนี้ประเทศที่เคยตามหลังเรามาห่างๆ กำลังจะแซงขึ้นหน้าประเทศเราอย่างน่าประหลาดใจ ทั้งๆ ที่เราได้อัดฉีดงบประมาณทุ่มเทลงไปอย่างมากมาย แต่ก็ไม่ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นได้ อาการป่วยยังคงซึมลึก ดูได้จากผลการสอบ PISA คราวล่าสุด แล้วจะให้ผู้ปกครองนักเรียนหรือชาวบ้านที่ไม่มีทางเลือก ไม่รู้สึกกระวนกระวายใจในอนาคตของบุตรหลานของเขาได้อย่างไร
ในสามก๊ก อ้องอุ้น เมื่อกำจัด ตั๋งโต๊ะ ได้แล้ว ก็ได้รับแต่งตั้งจากฮ่องเต้ให้เป็นอุปราช เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาไม่เชื่อคำแนะนำของ ตันก๋ง สหายคนสนิท ที่เสนอให้โอกาสแก่ ลิฉุย กุยกี ลูกน้องเก่าของตั๋งโต๊ะ ที่ได้ทำหนังสือมาเพื่อขอมอบตัว กลับตัดสินใจผิดพลาด สั่งให้แม่ทัพชื่อ ลิโป้ ลุยหวังเผด็จศึก จนทำให้ศัตรูที่จนตรอกเหลือทางรอดทางเดียวคือหันกลับมาสู้บุกยึดเมืองหลวงคืน ในที่สุดก็ต่อต้านศัตรูที่บุกมาไม่ได้ ต้องพ่ายแพ้แล้วถูกทหารข้าศึกรุมประชาทัณฑ์จนตายในที่สุด บทเรียนในครั้งนั้นคือ การวางแผนนโยบายที่ผิดพลาด "เดินหมากผิดแค่ตัวเดียวทำให้เสียทั้งกระดาน"
การปฏิรูปการศึกษาไทยจะต้องปฏิรูปทั้งระบบ ต้องกล้าหาญและวางแผนวางนโยบายให้ถูกต้อง แม้จะต้องรื้อทั้งระบบก็ต้องยอม จะมามัวนั่งปะผุรอยรั่วของเก่าอยู่อย่างทุกวันนี้ไม่ได้ ต้องมีทฤษฎีอ้างอิง มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมารองรับ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมามันล้าสมัยไปหมดแล้ว ระบบเก่าๆ เปื่อยผุพังไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียนขังนักเรียนทั้งวันอยู่ในห้อง การวัดผลการเรียน การสอบ Gat Pat การสอบ O-Net, A-Net การสอบแก้ 0 ร. มส. การให้ผ่านโดยไม่มีการเรียนซ้ำชั้น หรือการประเมิน ผลงานของครู มันคือระบบเก่าที่เละที่สุด
บทความฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้นำเสนอให้ท่านนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตัดสินใจทำการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ Action Research โดยส่งนักวิจัยหรือครู ไปศึกษาวิจัยในประเทศที่จัดการศึกษาประสบผลสำเร็จ ใน 5 ประเทศ เช่น สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟินแลนด์ เป็นต้น ในบทความฉบับนี้อยากเสนอท่านนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เลือกทำวิจัยแบบ Case study research model หรือแบบ Mix model ก็ได้ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 100-200 ล้านบาท ซึ่งไม่มากมายอะไรเลยเมื่อเทียบกับเวลาที่เราต้องสูญเสียไป ส่วนเค้าโครงการวิจัยท่านต้องให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำนำเสนอให้ตรงกับประเด็นปัญหา การวิจัยอาจใช้เวลาถึงหนึ่งปี การแก้ปัญหาที่ผ่านมาเราใช้เพียงการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางเลือกอย่างตื้นเขิน (Shallow Analyses) ใช้เพียงสามัญสำนึก หรือคิดเอาเอง จึงแก้ปัญหาไม่ถูกจุด คุณภาพการศึกษาไทยจึงได้ดัมพ์หัวต่ำลงไปเรื่อยๆ
ปัจจุบัน เรามีตัวอย่างสถาบันการศึกษาที่ทันสมัยเป็น Modern School ให้เห็น ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เช่น โรงเรียนนานาชาติที่ประสบผลสำเร็จในหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเอเชียของ ดร.วิพรรธ์ เริงวิทยา ที่ชลบุรี ท่านนำรูปแบบการจัดการโรงเรียนมาจากอังกฤษ Imperial College ห้องเรียนหนึ่งมีนักเรียนบรรจุอยู่เพียงห้องละ 15 คน เด็กนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียน วัฒนธรรมองค์กรภายในโรงเรียนมีความแตกต่างจากโรงเรียนในแบบไทยๆ อย่างมาก หรืออีกตัวอย่าง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ต้นแบบวิทยาศาสตร์ ที่มีคะแนน PISA ใกล้เคียงกับประเทศชั้นนำในระดับโลก มีหลายประเทศในโลกที่เขาจัดเวลาเรียนเพียงครึ่งวันแต่คุณภาพการศึกษาของเขากลับสูงขึ้น เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น
เด็กยุคใหม่เกิดมาพร้อมกับ Digital การพัฒนาตนเอง การเรียน การลงทุนใช้ระยะเวลาสั้นๆ กิจกรรมการเรียนบางรายวิชาก็เป็นแบบ on line learning คุณสมบัติพื้นฐานของคนในยุคนี้จึงต้องเป็นวัฒนธรรมสากล มีจรรยาบรรณสากล เช่น มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน สู้งาน หิวกระหายที่จะใฝ่รู้ มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสืบค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง สามารถในการสื่อสารภาษาสากล มีความเข้าใจผู้อื่นและทำงานร่วมมือกับคนอื่นได้ มีทักษะที่จำเป็นในอนาคต มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะไปพัฒนาตนเองต่อไปได้
รัฐบาลต้องปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับโดยเร่งด่วน ต้องจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยของ ผู้เรียน เด็กที่จบหลักสูตรในแต่ละระดับต้องสามารถนำความรู้ทักษะประสบการณ์ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนากับช่างก่อสร้าง เขาบอกว่าเขาเรียนจบชั้น ป.6 ไม่มีเงินเรียนต่อ พ่อแม่มีลูกหลายคน จึงตามญาติลงมาทำงานก่อสร้างที่กรุงเทพฯ แรกเริ่มก็ช่วยงานขนหินปูนทราย เดินเหล็กผูกเหล็ก หิ้วถังปูน ต่อมาก็เป็นช่างเชื่อมเหล็ก ปักผังตั้งแบบวางเสา พัฒนาตนเองมาเรื่อยๆ จนอ่านแบบเป็น สั่งวัสดุได้ รับเหมางานเป็น แล้วก็พัฒนาตนเองมาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นเจ้าของกิจการ ผู้เขียนถามช่างว่า ความรู้ที่ได้มาจากการเรียนจบชั้น ป.6 ได้นำมาใช้บ้างหรือไม่ เขาตอบว่าก็สามารถนำมาใช้อ่านรายการต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ความรู้ทางคณิตศาสตร์ก็สามารถนำมาคิดคำนวณหาต้นทุนกำไรได้ นำมาทำบัญชีรับจ่ายง่ายๆ ได้ มีความเข้าใจในสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองแบบทั่วไป
เด็กที่เรียนจบเพียงชั้น ม.3 ไม่สามารถเรียนต่อก็ออกทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองช่วยพ่อแม่ได้ เด็กเหล่านี้มีบางคนขณะเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมักไม่ค่อยสนใจเรียน เพราะเขารู้ตัวเองว่าถึงจะตั้งใจเรียนดีอย่างไรก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เด็กจึงกังวลถึงแต่เรื่องจะออกไปหาเงินเลี้ยงชีวิต หรือไม่บางคนก็เกเรไปเลย ถามว่าหลักสูตรการศึกษาไทยได้เตรียมสอนทักษะในการทำมาหากินให้เด็กในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้เพียงพอหรือไม่ ในหลายประเทศ เช่น ยุโรป อเมริกา สิงคโปร์ เด็กที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสามารถทำงานหาเงินเลี้ยงตนเองได้ เด็กที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 เด็กไทยทางโรงเรียนได้สอนทักษะอะไรบ้างเพื่อให้เขาสามารถนำความรู้ในระดับชั้น ม.ปลายมาประกอบอาชีพได้ ในหลายประเทศเด็กขณะที่เรียนอยู่ได้ออกมาทำงาน พาร์ตไทม์ หาเงินใช้ส่วนตัวได้ เช่น ที่สิงคโปร์ เยอรมนี ญี่ปุ่น เป็นต้น บางคนออกจากระบบโรงเรียนเพื่อประกอบอาชีพได้เลย ถามว่าระบบการศึกษาไทยได้มีหลักสูตรวิชาชีพให้เด็กในแต่ละระดับชั้นเพียงพอหรือไม่
เด็กไทยที่เรียนจบในระดับชั้นปริญญาตรี มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำงานอิสระ เป็นผู้ประกอบการเองได้หรือไม่ หรือรอเพื่อจะสอบบรรจุเป็นพนักงานลูกจ้างรายเดือนไปตลอดชีวิตได้เท่านั้น หลักสูตรแต่ละระดับต้องให้ความรู้ทักษะทางด้านประกอบอาชีพ ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในภาคสนาม มีทักษะในทางการเงินการบัญชี มีความกล้าท้าทายที่จะเป็นผู้ประกอบการเองได้ หลักสูตรที่ผ่านมาทักษะที่สำคัญในชีวิต ทางโรงเรียนกลับไม่ได้สอน เรียนจบมาแล้วต้องไปค้นหาเอาเอง ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาไทยต้องปฏิรูปทั้งระบบจึงจะไปรอด
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปกับเพื่อนชาว Bosnia ที่ สปป.ลาว นครเวียงจันทน์ ได้ไปเยี่ยมสำนักงานของเด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ของลาว อายุ 20 ปีปลาย-30 ปีต้นๆ ที่เปิดกิจการร้านเกมกระดาน (Board Game) เป็นธุรกิจแบบ ช่วยเหลือสังคม (Social Entrepreneur) เจ้าของกิจการเป็นเด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ของลาว เรียนจบการศึกษามาจากออสเตรเลีย 2 คน อเมริกา 1 คน เปิดร้านเกมกระดาน (Board Game) พวกเขามีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบเกมกระดานเข้าสู่สังคมของคนรุ่นใหม่ของลาวและเพื่อธุรกิจด้วย มีกลุ่มเยาวชนลาวที่เล่นเกมอยู่ในวันนั้นประมาณ 20 คน ส่วนหนึ่งเป็นเด็กที่กำลังเรียนในมหาวิทยาลัยของลาว มาจากโรงเรียนพรสวรรค์ ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นนำของลาว มาจากโรงเรียนนานาชาติในลาว และมีบางส่วนที่เรียนจบมหาวิทยาลัยมาแล้ว ในร้านไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เกมกระดาน (Board Game) จะช่วยฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การเจรจาต่อรอง การตัดสินใจ การศึกษาพฤติกรรมของคน เป็นการแข่งขันเพื่อชนะและเพื่อความร่วมมือ เป็นกิจกรรมที่จะช่วยดึงเด็กออกจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หน้าจอทีวี ช่วยให้คนในสังคมได้หันหน้าเข้าหากันได้พบปะพูดคุยสนทนา หรือทำให้คนในครอบครัวได้หันหน้าเข้ามาพูดคุยกัน เขาจะพยายามนำเกมกระดานเหล่านี้เข้าสู่สถาบันการศึกษาของลาว โดยจะนำเข้าไปในลักษณะเปิดเป็นชุมนุม (Club) เป็นชมรมของนักเรียนนักศึกษา แล้วขยายไปทั่วประเทศ ผู้เขียนถามว่าเกมกระดานมีคนเล่นในประเทศลาวอยู่มากเพียงใด ได้รับคำตอบว่า ขณะนี้มีกลุ่มคนในลาวที่สนใจเล่นอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มของเขาเองนี้กลุ่มหนึ่ง และกลุ่มฝรั่งนานาชาติ (Expat) ที่อยู่ในเวียงจันทน์อีกกลุ่มหนึ่ง ส่วนในประเทศไทย เกมกระดาน (Board Game) มีห้างหุ้นส่วนแรกที่นำเข้ามาเปิดกิจการในเมืองไทยจนได้รับใบอนุญาตถูกต้อง ตั้งอยู่แถวสุขุมวิท พระโขนง BTS ขณะนี้ได้เผยแพร่นำเข้าสู่สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยไทยบ้างแล้ว และได้ขยายกิจการไปยังพม่า เขมร และลาว ในอนาคตเกมกระดานจะเข้าไปสู่สถานศึกษาในรูปแบบของชมรม สมาคม สโมสร มีการจัดการแข่งขันเพื่อหาแชมป์ในระดับโลก เกมกระดาน (Board Game) จะช่วยยกระดับการรู้จักคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กได้มากกว่าที่จะให้ครูสอนให้เด็กรู้จักคิดเป็น การสอนคนให้รู้จักคิดวิเคราะห์มันต้องมีเครื่องมือครับ
ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชน ฉบับวันที่ 24 ก.พ. 2560 (กรอบบ่าย)
Advertisement
เปิดอ่าน 6,461 ครั้ง เปิดอ่าน 7,820 ครั้ง เปิดอ่าน 10,337 ครั้ง เปิดอ่าน 8,652 ครั้ง เปิดอ่าน 13,531 ครั้ง เปิดอ่าน 20,656 ครั้ง เปิดอ่าน 10,912 ครั้ง เปิดอ่าน 7,701 ครั้ง เปิดอ่าน 22,340 ครั้ง เปิดอ่าน 15,309 ครั้ง เปิดอ่าน 9,638 ครั้ง เปิดอ่าน 10,373 ครั้ง เปิดอ่าน 10,918 ครั้ง เปิดอ่าน 14,313 ครั้ง เปิดอ่าน 32,730 ครั้ง เปิดอ่าน 33,540 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 15,309 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,627 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,797 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 50,101 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,515 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,203 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,918 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,110 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,383 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,095 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,195 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,527 ครั้ง |
|
|