Advertisement
คอลัมน์ เหลาดินสอ รอสอน: เราสอบไปเพื่ออะไร?
โดย สาธร อุพันวัน CEO โรงเรียนกวดวิชาออนดีมานด์
ทุกวันนี้เราสอบไปเพื่ออะไร หลายๆ ท่านคงสงสัยใช่ไหมครับ เด็กทุกวันนี้ทำไมเรียนกันเยอะ ไม่ใช่แค่เรียนเยอะเท่านั้นนะครับ การสอบของไทยก็เยอะตาม แล้วซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก
ปัจจุบันการสอบมีหลายแบบ เช่น การสอบตรงของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย ข้อสอบใช้กันคนละข้อสอบ รวมไปถึงการสอบ Admissionกลาง ทำให้เด็กต้องสอบหลายรอบ ข้อสอบก็ยาก ทำให้เด็กมีภาวะกดดันและเกิดความเครียด จนอาจเป็นที่มาของคำถามว่า เราสอบไป เพื่ออะไร? ที่ทำอยู่มันใช่ไหม? แล้วต้อง ปรับเปลี่ยนอย่างไร?
สมัยก่อนตอนที่ยังเรียกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่าการสอบ Entrance เด็กที่สอบติดหมอหรือวิศวะอย่างน้อยๆ ก็ต้องได้คะแนนจากการสอบคณิตศาสตร์ 80-90% ขึ้นไป ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นการสอบคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า PAT1 สิ่งที่น่าตกใจมากคือ มีนักเรียนที่สอบ PAT1 กว่า 239,345 คน มีเพียง 621 คน ที่ได้คะแนนมากกว่า 50% แต่จำนวนรับแพทย์,ทันตแพทย์ในปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น1,487คน แสดงว่ามีน้องที่ติดหมอแล้วได้คะแนนต่ำกว่า50% หรือสอบตกมากกว่า 866 คน
ถามว่าน้องที่สอบติดหมอ เรียนหนักขนาดนั้น ไม่เก่งหรือไม่ตั้งใจเรียนจนทำให้ได้คะแนนแค่นี้หรือ ผมบอกเลยว่าความจริงไม่ใช่เป็นเพราะข้อสอบนั้นยากเกินไปและมีการตอบคำถามที่ซับซ้อนเกินไป นอกจากนั้นข้อสอบแบบนี้จะวัดความสามารถเด็กอ่อนไม่ได้เลยเพราะขนาดเด็กเก่งยังได้คะแนนแค่นี้ ซ้ำร้ายเคยมีกรณีสอบตรง เข้านิเทศศาสตร์ จุฬา ซึ่งมีข้อกำหนดว่า เด็กต้องสอบ PAT1 ได้เกิน 60%ขึ้นไป จึงจะมีสิทธิผ่านเข้าสัมภาษณ์ต่อไป
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีใครผ่านเกณฑ์แม้แต่คนเดียว สุดท้ายก็ไม่รู้ว่ามีกระบวนการแก้ไขกันอย่างไรถึงจัดการรับเข้าให้เสร็จสิ้นได้ ตรงข้ามกับการสอบของต่างประเทศอย่าง SAT เด็กไทยมักได้คะแนน 90% ขึ้นไป เช่นเดียวกับ GMAT ที่ใช้คะแนนในการสอบเข้าปริญญาโท เด็กไทยส่วนมากสอบได้ 90%ขึ้นไปหรือได้ 100 เต็มก็เยอะเช่นเดียวกัน
ในกรณีนี้สิ่งที่จะชี้ให้เห็นก็คือ การสอบของต่างประเทศนั้น เค้าทำข้อสอบขึ้นมาเพื่อให้เด็กทำได้ ออกในสิ่งที่บอกกล่าวไว้ล่วงหน้า ออกในสิ่งที่สอนอย่างมีมาตรฐานที่เหมาะสม ในขณะที่ข้อสอบของไทยติดนิสัยที่ต้องออกข้อสอบให้ยาก การแต่งตัวเลือก ก็ให้ยากๆ ใครเผลอจะเลือกตัวเลือกที่ผิด คิดแต่ว่าจะออกข้อสอบอย่างไรให้เด็กทำไม่ได้
ในขณะที่ข้อสอบ SAT ส่วนใหญ่ไม่เป็นแบบนั้น จะมีเพียงท้ายข้อสอบที่ต้องการวัดระดับเด็กเท่านั้น ผมก็ไม่รู้ว่าทัศนคตินี้ เริ่มเป็นกันมาตั้งแต่สมัยไหน แต่ประเทศเราเป็นแบบนี้ ความจริงเราควรมาคิดกันใหม่เรื่องการศึกษาว่า เราควรสอนอะไรเด็ก เด็กควรมีความรู้แค่ไหน และออกข้อสอบให้เหมาะสม เมื่อเด็กทำได้ก็แสดงว่า เด็กนั้นได้ความรู้ สร้างความสำเร็จให้เด็ก การศึกษาของเราประสบความสำเร็จตาม ไม่ใช่การออกข้อสอบยากให้เด็กทำไม่ได้โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าเราสอบไปเพื่ออะไร
มาถึงตรงนี้ ผมไม่ได้บอกว่าระบบสอบคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทยนั้นไม่ดี หลายๆ เรื่องเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและ ผลักดันต่อ ทั้งการสอบ Admission ปีละ2ครั้ง เป็นแนวทางที่ดีช่วยลดความกดดันของเด็กลงได้มาก, การประกาศคะแนนก่อนแล้วค่อยเลือกคณะ ก็เป็นการจัดระบบที่ทำให้เด็กสามารถเลือกในสิ่งที่ตรงกับความถนัดและความสามารถของตนเองได้มากขึ้น รวมถึง การรับตรงก็เป็นนโยบายที่ถูกทาง ที่ทำให้คนอยู่ในท้องถิ่น เด็กๆ มีความสนใจและภาคภูมิใจที่จะได้เรียนมหาวิทยาลัย ในท้องถิ่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมา รวมทั้งเป็นการกระจายคนเก่งไม่ให้เกิดการกระจุกตัวที่มหาวิทยาลัยหนึ่งๆ มากเกินไป
ประเด็นสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยน เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยแต่ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมาก คือ การใช้การสอบมาตรฐานกลางซึ่งมีอยู่แล้ว โดยสามารถยื่นคะแนนได้กับทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย ลดการจัดสอบกันเองของแต่ละมหาวิทยาลัย การทำแบบนี้จะลดการสอบที่ไม่จำเป็น เด็กเองจะรู้คะแนนก่อน ได้คะแนนเท่านี้ควรนำไปยื่นที่คณะไหน มหาวิทยาลัยใดที่เหมาะกับตัวเอง เป็นการลดความกดดันของเด็ก ลดการเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ไม่เสียเวลาเตรียมตัวสอบหลายที่ ทั้งยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครองจากค่าสอบและค่าเดินทาง
อีกประเด็นหนึ่ง คือ ถ้าถามว่าแก่นของการสอบที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน มันคือกระบวนการสร้างความรู้ให้เด็ก มันคือการคัดคนจากความรู้ที่เราสร้างให้ ดังนั้นเราควรสร้างค่านิยมใหม่ เปลี่ยน "ความยากเกินไป" ซึ่งใช้วัดอะไรไม่ได้ มาเป็น "ความยากในระดับมาตรฐาน" ซึ่งใช้วัด "ความสามารถที่แท้จริงของเด็ก" เพื่อคัดเลือกเด็กเข้าคณะที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
ยุทธศาสตร์ที่ดีของการแก้ปัญหาต้องให้หนักและตรงประเด็น หลายคนชอบพูดว่าการศึกษาไทยแก้ไม่ได้ ผมว่าไม่ใช่ มันแก้ได้ สิ่งที่เสนอไม่ได้ยากแค่สองข้อ
หนึ่ง คือ ใช้การสอบมาตรฐานกลางที่มีอยู่แล้วยื่นได้หลายคณะ ไม่ต้องเปลืองพลังเยอะ และ สอง คือ การปรับเปลี่ยนการออกข้อสอบให้มีความยากระดับมาตรฐาน ไม่ยากจนเกินไป ที่วัดความสามารถของเด็กได้จริง
สิ่งเหล่านี้ทำได้ง่ายกว่าที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ เราจะเสียสละผลประโยชน์บางอย่างหรือไม่ ถ้าช่วยกันทำ มันก็แก้ได้ แล้วสุดท้ายพวกเราทุกคนจะพบกับคำตอบร่วมกันว่า เราไม่ได้สอบเพื่อสร้างความกดดันให้เด็ก เราไม่ได้สร้างกิจกรรมที่มันไม่เกิดมูลค่า แต่เราสอบเพื่อสร้างกระบวนการให้ความรู้เด็ก เราสอบเพื่อคัดเลือกเด็กไปพัฒนาต่อได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ..
นี่แหละครับ คำตอบว่า เราสอบไป เพื่ออะไร?
สอบเพื่อคัดเลือกเด็กไปพัฒนาต่อได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 กันยายน 2558
กำลังใจให้เด็กๆ ของขวัญวันเด็ก 🎁COD🎁ตุ๊กตายัดนุ่น รูปการ์ตูนอนิเมะ หมูน่ารัก ของขวัญวันเกิด ของเล่นสําหรับเด็ก ในราคา ฿48 - ฿149 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/8zpN8YfPIq?share_channel_code=6
Advertisement
![ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : จับตามองครูในศตวรรษที่ 21 "ครูหัวใจสะเต็ม" ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : จับตามองครูในศตวรรษที่ 21 "ครูหัวใจสะเต็ม"](news_pic/p62205270620.jpg) เปิดอ่าน 20,139 ครั้ง ![เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย เหลียวหลัง แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานไทย](news_pic/p59743161752.jpg) เปิดอ่าน 8,302 ครั้ง ![การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย](news_pic/p16115850740.jpg) เปิดอ่าน 72,285 ครั้ง ![ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี](news_pic/p76735341114.jpg) เปิดอ่าน 20,466 ครั้ง ![ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ) ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)](news_pic/p82641631216.jpg) เปิดอ่าน 10,026 ครั้ง ![ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร ? โดย ดร. วิชัย พยัคฆโส ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร ? โดย ดร. วิชัย พยัคฆโส](news_pic/p30372241928.jpg) เปิดอ่าน 13,743 ครั้ง ![เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา" เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"](news_pic/p23688770547.jpg) เปิดอ่าน 16,095 ครั้ง ![กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย](news_pic/p17452591058.jpg) เปิดอ่าน 9,714 ครั้ง ![ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย](news_pic/p64895321148.jpg) เปิดอ่าน 26,119 ครั้ง ![ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน](news_pic/p97381660900.jpg) เปิดอ่าน 9,783 ครั้ง ![ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก](news_pic/p43833000305.jpg) เปิดอ่าน 18,882 ครั้ง ![ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง](news_pic/p29856760854.jpg) เปิดอ่าน 8,994 ครั้ง ![ปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค 6 เดือน กศจ.ไปต่ออย่างไร? โดย อดิศร เนาวนนท์ ปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค 6 เดือน กศจ.ไปต่ออย่างไร? โดย อดิศร เนาวนนท์](news_pic/p38026230618.jpg) เปิดอ่าน 22,623 ครั้ง ![บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง](news_pic/p82412270909.jpg) เปิดอ่าน 8,842 ครั้ง ![รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี การสร้างพลังใจครูทั้งแผ่นดิน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี การสร้างพลังใจครูทั้งแผ่นดิน](news_pic/p36169050843.jpg) เปิดอ่าน 8,329 ครั้ง ![มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ](news_pic/p25863310330.jpg) เปิดอ่าน 10,978 ครั้ง
|
!["ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ "ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้](news_pic/p19684381004.jpg)
เปิดอ่าน 12,389 ☕ คลิกอ่านเลย |
![ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์" ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"](news_pic/p33106640719.jpg)
เปิดอ่าน 10,283 ☕ คลิกอ่านเลย | ![แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด](news_pic/p96723460755.jpg)
เปิดอ่าน 27,914 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย](news_pic/p64895321148.jpg)
เปิดอ่าน 26,119 ☕ คลิกอ่านเลย | ![เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์](news_pic/p65766001934.jpg)
เปิดอ่าน 46,362 ☕ คลิกอ่านเลย | ![การศึกษาประชารัฐ FOCUS ที่พัฒนาครู การศึกษาประชารัฐ FOCUS ที่พัฒนาครู](news_pic/p22739631315.jpg)
เปิดอ่าน 22,123 ☕ คลิกอ่านเลย | ![การปฏิรูปการศึกษาอย่าทำแบบปะผุ...ต้องปรับทั้งระบบ การปฏิรูปการศึกษาอย่าทำแบบปะผุ...ต้องปรับทั้งระบบ](news_pic/p36695740549.jpg)
เปิดอ่าน 8,997 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ ![วังน้ำเขียว สวิสเซอร์แลนด์แดนอีสาน วังน้ำเขียว สวิสเซอร์แลนด์แดนอีสาน](news_pic/p42059951138.jpg)
เปิดอ่าน 12,873 ครั้ง | ![จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ](news_pic/p83235781132.jpg)
เปิดอ่าน 14,796 ครั้ง | ![มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ](news_pic/p18040340222.jpg)
เปิดอ่าน 25,825 ครั้ง | ![เตือนปั่นจักรยานหนักกระเทือน จนเป็นเหตุให้ "นกเขาไม่ขันได้" เตือนปั่นจักรยานหนักกระเทือน จนเป็นเหตุให้ "นกเขาไม่ขันได้"](news_pic/p16273230643.jpg)
เปิดอ่าน 10,213 ครั้ง | ![รับทำ seo ให้กับทุกเว็บไซต์ติดอันดับ Google 1 วันรู้ผล รับทำ seo ให้กับทุกเว็บไซต์ติดอันดับ Google 1 วันรู้ผล](news_pic/p45428980810.jpg)
เปิดอ่าน 3,042 ครั้ง |
|
|