Advertisement
Advertisement
.....พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์.....
พระเมรุมาศ ... พระเมรุมาศใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพสำหรับ “การตาย” ที่ใช้ราชาศัพท์ว่า “สวรรคต” เช่น พระมหากษัตริย์, พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า (อุปราชวังหน้า) พระบรมโอรสาธิราช เป็นต้น ภายในจะมีพระเมรุทอง ทั่วไปนิยมเป็นกุฎาคารหรือเรือนยอด พระเมรุทองใช้ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งสุดท้ายตามโบราณราชประเพณี
พระเมรุ .... พระเมรุใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์เมื่อตายใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือ สิ้นพระชนม์ ในพระเมรุไม่มีพระเมรุทอง
พระเมรุพิมาน .... เป็นสมมุตินาม คือ อาคารถาวรที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งตั้งพระบรมศพ หรือพระศพ ครั้นเวลาถวายพระเพลิงอัญเชิญพระบรมศพ หรือพระศพจากพระเมรุพิมานไปถวายพระเพลิงที่พระเมร ุ(ขนาดน้อย) อีกแห่งใกล้ๆ กันหรือไม่ไกลกันมาก
พระเมรุบรรพต ..... พระเมรุซึ่งสร้างบนภูเขาสมมุติ
เมรุทิศ .... คือเมรุประจำ 4 ทิศ หรือ 8 ทิศ หรืออาจลดลงสุดแต่เหตุการณ์
เมรุประตู.... คือเมรุที่ทำเป็นประตูเข้าออก
เมรุแทรก.... คือเมรุซึ่งแทรกกลางระหว่างเมรุทิศทั้ง 4 หรือ จะแทรกตรงไหนก็ได้สุดแต่ความเหมาะสม
เมรุพระบุพโพ.... คือเมรุขนาดน้อย สำหรับถวายพระเพลิงพระบุพโพ (น้ำเหลือง) ส่วนใหญ่จะทำที่วัดมหาธาตุ ฯลฯ
ภาพพระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ ต่อไปนี้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบกุฎาคารหรือเรือนยอด ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์สืบทอดจากโบราณราชประเพณี และพัฒนามาเป็นลำดับตามควรแก่โอกาส และตามภาวะสังคม
ณ ปัจจุบัน ศิลปวัฒนธรรมแบบนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้มีโอกาสสืบทอด อนุรักษ์ แสดง ศิลปสถาปัตยกรรมแบบพระเมรุเป็นเอกในโลก
พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุนี้ ปัจจุบันยังเป็นโอกาสให้สถาปนิกได้มีโอกาสแสดงความคิดเนรมิตสร้างสรรค์ สืบทอด อนุรักษ์ ขนบประเพณี นับว่า สถาปนิกบรรพบุรุษท่านได้มอบสมบัติทางปัญญา (Intellectual prorerty) ไว้ให้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่า สมควรสืบทอดต่อไปเท่าที่ภาวะของสังคมจะอำนวยให้
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ “ พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร
โดย ศาสตราจารย์ น.อ.สมภพ ภิรมย์ ร.น. ราชบัณฑิต
ภาพรูปแบบพระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔
|
๑.
|
พระเมรุ พระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔)
เป็นภาพถ่ายเมรุครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ |
๒.
|
พระเมรุมาศ (เมรุใหญ่) ซึ่งมีพระเมรุทองอยู่ภายใน พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระเมรุมาศตามแบบโบราณราชประเพณีศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ องค์สุดท้าย ซึ่งกระบวนแห่มีรูปสัตว์หิมพานต์ตั้งบุษบกไตรสังเค็ด แห่เป็นคู่ ๆ รวม ๔๐ คู่ด้วย |
๓.
|
พระเมรุบรรพตสมโภชพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เมื่องานแล้ว สมโภชพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล แต่พระราชเพลิงในพระเมรุน้อยที่เชิงภูเขา |
๔.
|
งานออกพระเมรุ พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พ.ศ. ๒๔๒๓ |
๕.
|
พระเมรุพิมาน (พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส ซ้าย) พระเมรุมณฑป (ขวา) และพระเมรุประตู สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (องค์แรก) |
๖.
|
พระเมรุพระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงษ์ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ |
๗.
|
พระเมรุ ๕ ยอด สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย (กรมพระเทพนารีรัตน์) และสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
ณ ท้องสนามหลวง (วัตถุก่อสร้างที่เหลือจากงานพระเมรุเป็นต้นกำเนิดให้เกิด “โรงพยาบาลศิริราช”) |
๘.
|
พระเมรุ เจ้าฟ้านภาพรจำรัสศรี และพระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม ณ ท้องสนามหลวง |
๙.
|
พระเมรุ พระองค์เจ้าอิสริยาภรณ์ และพระองค์เจ้าอรองค์ฯ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ที่วัดเทพศิรินทร์ เป็นงานแรก |
๙.
|
พระเมรุพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ที่สวนมิสกวัน พ.ศ.๒๔๕๒ |
๑๐.
|
พระเมรุ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชที่สวนมิสกวัน ต่อมาเป็นเมรุเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม
(สมเด็จพระปิยมาวดีฯ) เป็นงานที่สอง |
๑๑.
|
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นแบบพระเมรุมาศแบบใหม่ครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงดำรงพระชนม์อยู่โดยสวัสดิภาพ พระราชทานพระกระแสพระราชดำรัสสั่งถึงการพระบรมศพของพระองค์ไว้ดังนี้.-
“แต่ก่อนมา ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตลง ก็ต้องปลูกเมรุใหญ่ซึ่งคนไม่เคยเห็นแล้วจะนึกเดาไม่ถูกว่าโตใหญ่เพียงไร เปลืองทั้งแรงคนและเปลืองทั้งพระราชทรัพย์ ถ้าจะทำในเวลานี้ดูไม่สมกับการที่เปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ไม่เป็นเกียรติยศยืดยาวไปได้เท่าใด ไม่เป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง กลับเป็นความเดือดร้อน ถ้าเป็นการศพท่านผู้มีพระคุณ หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่ อันควรจะได้เกียรติยศ ฉันก็ไม่อาจจะลดทอน ด้วยเกรงว่าคนจะไม่เข้าใจว่า เพราะผู้นั้นประพฤติไม่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด จึงไม่ทำการศพให้สมเกียรติยศซึ่งควรจะได้ แต่เมื่อตัวฉันเองแล้วเห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องอันใด เป็นถ้อยคำที่จะพูดได้ถนัด จึงขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาอันพอสมควร ณ ท้องสนามหลวง แล้วแต่จะเห็นสมควรกันต่อไป”
(เทศาภิบาล เล่ม 10 หน้า 59 และจากเรื่องงานถวายพระเพลิงศพ พระบรมศพ โดย นายยิ้ม ปัณฑยางกูร ในหนังสือจันทรเกษม ฉบับที่ 11 เมษายน 2499) อ้างตามหนังสือพระเมรุมาศฯ....ปริยวาที

๑๒.
|
พระเมรุ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช วัดเบญจมบพิตร |
๑๓.
|
พระเมรุ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พ.ศ.๒๔๖๕ |
๑๔.
|
พระเมรุมาศ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๖ และ ๗
เมรุเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดีฯ) เป็นงานที่สอง |
๑๕.
|
พระเมรุ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงทางสถาปัตยกรรม
ทรงมณฑปผสมปรางค์ งามแปลกตาผสมผสานกันดี |
๑๖.
|
พระเมรุ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณอินทราชัย |
๑๗.
|
พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลัง (ตะวันออก) แสดงศาลาเปลื้องเครื่อง |
๑๘.
|
พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทัศนียภาพเวลากลางคืน โปร่ง-เบา-เรียบ-ง่าย
งามสง่า เป็นสถาปัตยกรรมสมบูรณ์ลักษณ์(ARCHITECTONIC) |
๑๙.
|
พระเมรุ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โปรดสังเกต ยอดมณฑป งดงามยิ่ง การออกจตุรมุขสมส่วน |
๒๐.
|
พระเมรุ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สถาปัตยกรรมเรือนยอดทรงมงกุฏมั่นคง งดงาม เป็นสถาปัตยกรรมสมบูรณ์ลักษณ์ (ARCHITECTONIC)
พระเมรุมาศเป็นสถาปัตยกรรมกำมะลอชั่วคราว (PSEUDO ARCHITECTURE) แต่มั่นคงดุจของจริง
(PERMANENT) |
๒๑.
|
พระเมรุ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์(จำลองแบบจากพระเมรุ
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาพิมุข)พระที่นั่งทรงธรรม (ขวา) ศาลาเปลื้องเครื่อง (ซ้าย) |
๒๒.
|
พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ |
๒๓.
|
พระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗
พระบรมราชินีพระองค์สุดท้าย ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
๒๔.
|
พระเมรุทิศ เป็น พระเมรุมณฑปขนาดน้อย |
๒๕.
|
พระเมรุ พระบุพโพ (น้ำเหลือง) ส่วนมากจะกระทำที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ |
|
|
|
ที่มา : กระทู้ "พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ "
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/11/K4862392/K4862392.html |
Advertisement
|
เปิดอ่าน 9,333 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,613 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,435 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,016 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,751 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,885 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,948 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,299 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,584 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,026 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,001 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,967 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,346 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,064 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,176 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 14,862 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 40,540 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,004 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 27,014 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,306 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,885 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 14,555 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 24,176 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,699 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,382 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 37,926 ครั้ง |
|
|