ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทความทางจิตวิทยา .....ครูในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,300 ครั้ง
บทความทางจิตวิทยา .....ครูในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม

Advertisement

บทความทางจิตวิทยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน วันทนียตระกูล

ครูในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม
          พฤติกรรม หมายถึงการกระทำซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของจิตใจที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งอาจสังเกตได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม  บางลักษณะอาจสังเกตได้โดยไม่ใช้เครื่องมือช่วยเหลือต้องใช้เครื่องมือช่วย  พฤติกรรมในมนุษย์ 
หมายถึงอาการกระทำหรือกิริยาที่แสดงออกมาทางร่างกายกล้ามเนื้อสมองในทางอารมณ์ ความคิดและความรู้สึก พฤติกรรมเป็นผลจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นมาเร้าในเวลาใดจะมีการตอบสนองเมื่อนั้น

      ศาสตราจารย์.สุรางค์ โคว้ตระกูล ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการสอนบุคคลจะต้องสอนเพื่อให้เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จึงได้เน้นว่า คนที่เป็นครูจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมและได้กล่าวถึงรายละเอียดดังนี้ ดร

        พื้นฐานความคิด (Basic Assumptions) ในทางวิทยาศาสตร์พฤติกรรมที่ครูควรจะยึดถือเป็นหลักมีดังต่อไปนี้
            -
พฤติกรรมของบุคคลแต่ละอย่างจะต้องมีสาเหตุ
            -
พฤติกรรมหนึ่งอาจจะมาจากสาเหตุได้หลายอย่าง  ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
            -
พฤติกรรมอย่างเดียวกัน อาจจะเนื่องมาจากสาเหตุต่างชนิดกัน
       การที่จะเข้าใจพฤติกรรมของนักเรียนครูจะต้องพยายามนำหลักการในการศึกษาพฤติกรรมของนักจิตวิทยามาใช้ด้วย

ในการศึกษาพฤติกรรมนั้น  นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคล (B) เป็นผลของความปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมรอบตัวของบุคคล (E) และเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล (P) หรือถ้าเขียนเป็นสมการก็จะเขียนได้ดังนี้ คือ B=E x P

อาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปถ้าหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่สะสมถ้าหากครูพยายามนึกอยู่เสมอว่า พฤติกรรมทุกชนิดจะต้องมีสาเหตุ  การพยายามศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมก็เป็นวิธีช่วยนักเรียนที่มีปัญหาได้เช่นเดียวกัน ถ้าครูพยายามจัดสิ่งแวดล้อมและจัดหาประสบการณ์ที่ดีให้นักเรียน ก็จะเป็นการช่วยให้นักรเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในตัวแปรที่ดีต่างๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียนได้ สรุปแล้วลำดับขั้นของการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนมีดังต่อไปนี้

1. ครูจะต้องทราบก่อนว่าควรศึกษาพฤติกรรมอะไร และควรจะให้คำจำกัดความของพฤติกรรมนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กชาย ก. ครูจะต้องอธิบายว่าพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กชาย ก. หมายความว่าอย่างไร
             2. 
ควรหาตัวแปรที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมนั้น
             3. ควรหาวิธีการเก็บข้อมูล  เพื่อที่จะทราบว่าตัวแปรแต่ละอย่างมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
นั้น ๆ อย่างไร

ผู้ที่จะเป็นครูไม่ควรคิดว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องมีพรสวรรค์ อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีหลักการเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้นถ้าครูจะพยายามศึกษาและนำผลของการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนมาใช้ก็สามารถปรับปรุงตนเองให้เป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพได้

ในเรื่องที่เกี่ยวกับการช่วยนักเรียนให้พัฒนาบุคลิกภาพนั้น ครูจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรม และพยายามที่จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการตัดสินใจ  คือพยายามฝึกหัดตนเอง  ไม่ควรตัดสินเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมอย่างปัจจุบันทันด่วน  หรือไม่ควรอธิบายลักษณะของนักเรียนว่า เกียจคร้าน  เห็นแก่ตัว แต่ควรศึกษาต่อไปว่า  เหตุใดนักเรียนจึงไม่ทำงาน หรือเหตุใดนักเรียนจึงไม่เอื้อเฟื้อคนอื่น ก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียน  ครูควรพยายามหาสาเหตุโดยตั้งเป็นสมมติฐานหลายๆ อย่างแล้วหาข้อมูลมาพิสูจน์  ตัวอย่างเช่น เด็กชาย ก. อายุ 11 ปี มีฐานะดีแต่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการขโมยเงินจากทางบ้านอยู่เสมอ  วันหนึ่งผู้ปกครองแจ้งกับครูประจำชั้นว่า เด็กชาย ก. ขโมยเงินทางบ้านเป็นจำนวลหลายร้อยบาท ในกรณีเช่นนี้ครูควรศึกษาว่าเหตุใดเด็กชาย ก. จึงขโมยเงินและพยายามหาข้อมูลมาพิสูจน์

       
ตัวอย่างการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของการขโมยของเด็กชาย ก. อาจจะมีดังต่อไปนี้
        1.  เด็กชาย ก.
ขโมยเงินเพราะต้องการซื้อของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้า ของใช้
        2.  เด็กชาย ก.
เอาเงินไปเพราะต้องการใช้เงินไปเที่ยวหลังจากเลิกเรียนแล้ว
        3.  เด็กชาย ก.
ขโมยเงินเพราะโกรธทางบ้าน เลยขโมยเพื่อจะให้พ่อแม่กลุ้มใจ
        4.  เด็กชาย ก.
ขโมยเงินเพื่อซื้อของแจกเพื่อน เพื่อให้เพื่อนชอบตน

                                            ฯลฯ

          วิธีการที่ครูหาข้อมูลก็มีหลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็กชาย ก. เท่านั้นในขั้นแรกของครูควรจะสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และสังเกตจากพฤติกรรมของนักเรียนในขณะที่อยู่โรงเรียน เป็นต้นว่า เด็กชาย ก. มีของใช้ครบหรือไม่ตอนนี้  หรือแต่งตัวอย่างไร  ใครเป็นผู้ซื้อของหรือเครื่องแต่งตัวให้เด็กชาย  . หากถามผู้ปกครองว่าใครเป็นผู้ซื้อของให้เด็กชาย ก. ถ้าผู้ปกครองบอกว่าเป็นคนซื้อของให้ ไม่เคยให้เด็กชาย ก. เดือดร้อนเลย ถ้าอยากได้เสื้อผ้าก็ซื้อให้เสมอโดยไม่จำกัดนอกจากนั้นเด็กชาย ก. ได้เงิน  ค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่ารถก็ไม่ต้องเสีย  อาหารเช้าก็รับประทานจากบ้าน และเก็บเข้าออมสินเวลาเงินเหลือ  ถ้าครูทราบเช่นนี้ก็อาจจะคิดว่าสมมติฐานข้อ 1 คงจะไม่สามารถเป็นสาเหตุพฤติกรรมขโมยของเด็กชาย ก.ได้

          สำหรับสมมติฐานข้อ 2 เด็กชาย ก. เอาเงินไปเที่ยวหลังจากเลิกเรียนแล้วนั้น ก็อาจจะหาข้อมูลว่าเด็กชาย ก. กลับบ้านอย่างไร ถึงบ้านกี่โมง ถ้าความจริงมีอยู่ว่า เด็กชาย ก. ถึงบ้านประมาณ 16.00-17.00 . เพราะมีรถมารับที่โรงเรียนทุกวัน หลังจากนั้นก็ตรงไปบ้าน สมมติฐานข้อ 2 ก็ใช้ไม่ได้

          สำหรับสมมติฐานข้อ 3 นั้น อาจจะหาข้อมูลจาก เด็กชาย ก. เอง โดยสัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ของเด็กชาย ก. กับ พ่อ แม่ พี่ น้อง ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไร และถามผู้ปกครองด้วยว่า เป็นอย่างไร  ถ้าหากว่าความสัมพันธ์ดี ทุกคนมีความรักใคร่ปรองดองดี เพราะเด็กชาย ก. เป็นลูกชายคนเดียว สมมติฐานข้อ 3 ก็อาจจะเป็นไปไม่ได้

          ส่วนสมมติฐานข้อ 4 นั้น ครูอาจจะหาข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กชาย ก. ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน การปฏิสัมพันธ์ของเด็กชาย ก.และเพื่อนๆ นอกจากนี้อาจจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า สังคมมิติ (Sociometric Techniques) เพื่อช่วยให้ได้ข้อมูลก็ได้ ในกรณีของเด็กชาย ก. ครูใช้เทคนิคสังคมมิติหาความสัมพันธ์ของเด็กชาย ก. และเพื่อนๆ โดยสร้างสถานการณ์  การนั่งรถไปแข่งขันฟุตบอลนอกสถานที่ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น  โดยให้นักเรียนบอกชื่อเพื่อน 3 คน ที่ตนอยากนั่งใกล้ตามลำดับความชอบจากที่ 1 ถึง 3จากการสร้างสังคมสัมพันธ์  (Sociogram)  จากข้อมูลที่ได้ปรากฏว่าเด็กชาย ก. ไม่มีใครเลือกเลย นอกจากนี้ครูเคยจำได้ว่า เด็กชาย ก. เคยเอาของแพงๆ มาฝากเพื่อนและเมื่อครูถามว่าเอามาจากไหน คำตอบของเด็กชาย ก. ก็คือว่า คุณพ่อ คุณแม่ซื้อมาจากฮ่องกงและอยากให้เพื่อนรัก  จึงขโมยเงินทางบ้านมาซื้อของให้เพื่อน  เพื่อจะให้เพื่อนรักตน

          ครูจะช่วยเด็กชาย ก. ได้อย่างไร
          1. ครูควรพยายามสังเกตศึกษาพฤติกรรมของเด็กชาย ก. ต่อไปว่ามีพฤติกรรมอะไรที่ทำให้เพื่อนรังเกียจที่จะเป็นเพื่อนด้วย และพยายามที่จะช่วยเด็กชาย ก.
ให้เปลี่ยนพฤติกรรม
          2. ครูควรใช้มูลจากสังคมมิติให้เป็นประโยชน์ โดยดูว่าเด็กชาย ก. มีความรักและรู้สึกสนิทสนม อยากเป็นเพื่อนกับใครเป็นพิเศษ  เมื่อทราบแล้วครูควรจะพยายามพูดกับนักเรียน 3 คน ที่เด็กชาย ก. เลือก โดยขอความร่วมมือให้ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กชาย ก. ที่เพื่อนไม่ชอบและพยายามที่จะให้เด็กชาย ก.
ร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วย
          3. ครูควรอธิบายให้ทางบ้านทราบถึงสาเหตุที่เด็กชาย ก. ขโมยเงิน และขอความร่วมมือจากทางบ้านให้ช่วยเด็กชาย ก.
ปรับปรุงตัวเองเพื่อจะให้มีเพื่อน
          ในการศึกษาและสังเกตของครู พบว่าลักษณะนิสัยของเด็กชาย ก. ที่เพื่อนไม่ชอบคือ

             1)
 โมโหง่าย
             2)
ค่อนข้างจะคิดถึงตนเองมากกว่าคนอื่น ซึ่งเพื่อนคิดว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว นิสัยเช่นนี้เพื่อนที่เด็กชาย ก. รัก รวมทั้งผู้ปกครองควรต้องช่วยชี้แจงให้เด็กชาย ก. ทราบว่าเด็กชาย ก. ควรจะปรับปรุงอย่างไร พยายามช่วยเด็กชาย ก. ให้เห็นว่า ถ้าเด็กชาย  . ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อนก็จะยังคงไม่ชอบสิ่งของและเงินซื้อความเป็นเพื่อนไม่ได้

           เรื่องที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเรื่องจริง และจบด้วยดีคือ เด็กชาย ก. เปลี่ยนพฤติกรรมได้กลายเป็นคนมีเพื่อนฝูงมากในห้อง เพราะเด็กชาย ก. เป็นนักกีฬาเล่นฟุตบอลเก่งด้วย

มีนักเรียนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กชายอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับเด็กชาย ก. เด็กคนนี้ขโมยเงินเพราะอยากให้ครูโกรธ ที่จริงขโมยแล้วก็ไม่ได้ใช้ แลหลังจากถามทางบ้านก็ปรากฏว่า เคยขโมยสร้อยข้อมือของคุณแม่ด้วยเหตุผลเดียวกัน คืออยากให้แม่โกรธ เพราะนักเรียนผู้นี้รู้สึกว่าทั้งแม่และครูคอยจู้จี้เจ้าระเบียบและเคร่งครัดอยู่ตลอดเวลา

สรุปได้ว่า พฤติกรรมขโมยของนักเรียนมีสาเหตุแตกต่างกัน
  ไม่ควรจะตัดสินใจอย่างรีบด่วนหรือยึดความคิดเห็นของตน โดยไม่หาสาเหตุก่อน ตัวอย่างเช่น ถ้าครูสังเกตว่า เด็กชาย ข. ไม่เคยยกมือตอบหรือถามคำถามเลยและสรุปว่าเป็นเพราะเด็กชาย ข. ขี้อาย ก็จะไม่มีประโยชน์ และจะไม่สามารถช่วยเด็กชาย ข. ให้ร่วมกิจกรรมในห้องเรียนได้ ดังนั้น ครูควรจะศึกษาว่าเหตุใด เด็กชาย ข. จึงไม่เคยยกมือตอบหรือถามคำถามในชั้นเลย การศึกษาก็อาจจะเริ่มต้นด้วยสมมติฐานสาเหตุของพฤติกรรมการเรียน  เพราะถ้าจะแก้ไขพฤติกรรมจะต้องทราบสาเหตุของพฤติกรรมนั้น ถ้าจะช่วยเด็กชาย ข. ควรจะเน้นในปัญหาที่ว่าเด็กชาย ข. ไม่เคยยกมือตอบคำถาม และร่วมกิจกรรมในห้องเรียน ผลจากการศึกษาอาจจะเป็นเพราะเด็กชาย ข. เคยถูกครูดุเวลาตอบคำถามไม่ถูกในปีที่แล้วๆ มาครูก็อาจจะแก้ให้โดยบอกกับเด็กชาย ข. เป็นส่วนตัวว่า ขอให้ยกมือตอบคำถามของครูถ้าทราบ ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร และครูควรจะเริ่มป้อนคำถามเด็กชาย ข. โดยใช้คำถามง่ายๆ และชมเด็กชาย ข. เวลาตอบถูก จะเป็นการให้กำลังใจแก่เด็กชาย ข. และเป็นข้อจูงใจให้ยกมือตอบหรือถามคำถามต่อไป
 
           จากตัวอย่างข้างบนนี้ ผู้ที่เป็นครูควรพยายามเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม คือ พยายามหาข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 16 พ.ค. 2552


บทความทางจิตวิทยา .....ครูในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมบทความทางจิตวิทยา.....ครูในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

รักสุขภาพ.....ด้วย 18 วิธี

รักสุขภาพ.....ด้วย 18 วิธี


เปิดอ่าน 6,257 ครั้ง
อย่าเสียใจกับกาลผิดหวัง

อย่าเสียใจกับกาลผิดหวัง


เปิดอ่าน 6,251 ครั้ง
ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง


เปิดอ่าน 6,266 ครั้ง
เตือน...ระวัง...อันตราย...

เตือน...ระวัง...อันตราย...


เปิดอ่าน 6,257 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แตกต่างแต่สวย

แตกต่างแต่สวย

เปิดอ่าน 6,269 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
  "งานเท่านั้นที่จะฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ตายไปได้
"งานเท่านั้นที่จะฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ตายไปได้
เปิดอ่าน 6,254 ☕ คลิกอ่านเลย

แอบถามผู้ตรวจผลงานเลยเอามาฝาก
แอบถามผู้ตรวจผลงานเลยเอามาฝาก
เปิดอ่าน 6,250 ☕ คลิกอ่านเลย

มาดูเร็ว!! ...แมวนุ่งกระโปรง(ประดิษฐ์ตุ๊กตาถุงแขน)
มาดูเร็ว!! ...แมวนุ่งกระโปรง(ประดิษฐ์ตุ๊กตาถุงแขน)
เปิดอ่าน 6,268 ☕ คลิกอ่านเลย

"ดูจิต" มีสติอย่างเบิกบาน
"ดูจิต" มีสติอย่างเบิกบาน
เปิดอ่าน 6,254 ☕ คลิกอ่านเลย

กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!!!!!!!!
กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!!!!!!!!
เปิดอ่าน 6,258 ☕ คลิกอ่านเลย

ความรู้สึกลึก ๆ ระหว่างยุงกับความรัก.....
ความรู้สึกลึก ๆ ระหว่างยุงกับความรัก.....
เปิดอ่าน 6,252 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับสมบูรณ์(4 สี)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับสมบูรณ์(4 สี)
เปิดอ่าน 452,095 ครั้ง

ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
เปิดอ่าน 11,569 ครั้ง

นางสงกรานต์ ปี 2559 "มณฑาเทวี" ทำนายฝนตกไม่ทั่วเมือง ข้าวพัง-ของแพง
นางสงกรานต์ ปี 2559 "มณฑาเทวี" ทำนายฝนตกไม่ทั่วเมือง ข้าวพัง-ของแพง
เปิดอ่าน 24,912 ครั้ง

การเลือกโต๊ะที่เป็นมงคล
การเลือกโต๊ะที่เป็นมงคล
เปิดอ่าน 12,476 ครั้ง

จุฬาฯวิจัยสารสกัดดอกสะเดา มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
จุฬาฯวิจัยสารสกัดดอกสะเดา มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
เปิดอ่าน 18,908 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ