Advertisement
❝ รู้เขา รู้เรา สบายแปดอย่าง สร้างความเชื่อมั่น สร้างสรรค์ผลงาน ❞
กฎหลักของ "มารยาทเน็ต" (2)

|
หมายเหตุ : ดัดแปลงจาก http://www.albion.com/netiquette/corerules.html คัดลอกมาจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดย เวอร์จิเนีย เชีย แปลและเรียบเรียง โดย สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต (http://thainetizen.org) ในการเสวนากล้วยน้ำไทวิชาการ หัวข้อ "กติกาพลเมืองชาวเน็ต" จากแนวปฏิบัติสู่จารีตประเพณีจนถึงกฎหมายลายลักษณ์อักษร เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท
กฎข้อที่สาม รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ
มารยาทเน็ตในแต่ละ "พื้นที่" ไม่เหมือนกัน
การกระทำอะไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยอมรับได้ในที่หนึ่ง แต่ถ้าเป็นที่อื่นอาจจะไม่ใช่ เช่น คุณอาจซุบซิบนินทาไร้สาระได้เวลาโพสต์กระทู้เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ แต่ถ้าเผยแพร่ข่าวลือที่ไม่มีมูลในเมลลิสต์ของนักข่าว คุณก็จะเป็นคนที่ไม่มีใครชอบหน้าเอามากๆ
เนื่องจากมารยาทเน็ตในแต่ละที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน ดังนั้นกฎที่ตามมาคือ .... ซุ่มก่อนร่วมวง
เมื่อคุณเข้าไปในพื้นที่ใดๆ ที่นั่นถือเป็นที่ใหม่สำหรับคุณ ดังนั้น ลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั่นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือเข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา
กฎข้อที่สี่ เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ
คนปัจจุบันดูเหมือนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามากนัก แม้ว่า (หรืออาจจะเพราะ) เรานอนน้อยลง และยังมีเครื่องมือทุ่นแรงมากขึ้นกว่าคนรุ่นปู่รุ่นพ่อเคยมี เมื่อคุณส่งอี-เมล โพสต์ข้อความลงอินเตอร์เน็ต รู้ไว้ว่าคุณกำลังทำให้คนอื่นเสียเวลามาอ่าน ดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณควรแน่ใจก่อนส่ง ว่าข้อความหรืออี-เมลนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา
คำว่า "แบนด์วิธ" (bandwidth) บางครั้งมีความหมายพ้องกับเวลา แต่จริงๆ แล้วมันเป็นคนละเรื่องกัน แบนด์วิธคือความจุของข้อมูลของสายไฟและช่องทางที่เชื่อมต่อทุกคนในโลกไซเบอร์สเปซ
ข้อมูลที่สายไฟรับได้นั้น มีปริมาณจำกัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ แม้ว่าจะส่งผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกที่ไฮเทคที่สุดก็ตาม คำว่า "แบนด์วิธ" บางครั้งก็หมายถึงความจุของระบบโฮสต์ เมื่อคุณโพสต์ข้อความเดียวกันในกลุ่มข่าวเดียวกัน 5 ครั้ง คุณกำลังทำให้เสียเวลา (ของคนที่เข้าไปเปิดอ่านทั้ง 5 ข้อความ) และเปลืองแบนด์วิธ (เพราะข้อมูลที่ซ้ำกันทั้งหมดนั้นต้องเก็บไว้ที่ไหนสักแห่ง)
คุณไม่ได้เป็นศูนย์กลางของไซเบอร์สเปซ
บางทีคำเตือนข้อนี้อาจจะดูไม่จำเป็นสำหรับผู้อ่านส่วนใหญ่ แต่ฉันยังคิดว่าควรต้องพูดถึง เพราะยิ่งเมื่อคุณกำลังทำรายงานหรือโปรเจ็คต์และกำลังคลุกคลีตีโมงกับมันอย่างหนัก คุณอาจจะลืมคิดไปว่า คนอื่นมีเรื่องอื่นที่ต้องทำนอกเรื่องของคุณ ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าคำถามทุกคำถามของคุณจะได้รับคำตอบในทันทีทันใด และอย่าทึกทักเอาเองว่าผู้อ่านทุกคนจะต้องเห็นด้วย หรือสนใจข้อโต้แย้งที่กระตือรือร้นของคุณ
กฎสำหรับกระดานสนทนา (discussion group)
กฎข้อสี่นี้มีนัยสำหรับผู้ใช้กระดานสนทนาหรือ discussion group ผู้ที่เข้ามาอ่านกระดานแบบนี้ส่วนใหญ่นั่งแช่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปอยู่แล้ว นานจนครอบครัวเพื่อนฝูงต้องนั่งเคาะนิ้วรอว่าเมื่อไหร่ถึงจะมากินข้าวสักที ในขณะที่ผู้ใช้เหล่านี้กำลังติดตามวิธีใหม่ล่าสุดในการฝึกลูกสุนัขสูตรทำหมูย่างจิ้มแจ่วในกระดานบนอินเตอร์เน็ต
นอกจากนั้น โปรแกรมรายการข่าวหลายโปรแกรมก็ทำงานได้ช้ามาก และผู้อ่านยังต้องตะลุยอ่านหัวข้อทั้งหมด กว่าที่จะไปถึงเนื้อความจริงๆ ไม่มีใครชอบหรอกถ้าต้องเสียเวลาทำทั้งหมดนั้นแล้วพบว่า มันไม่เห็นจะคุ้มค่าเวลาที่เสียไปเลย
ควรส่งอี-เมลหรือข้อความไปให้ใครบ้าง?
ในอดีต คนคัดลอกเอกสารโดยใช้กระดาษคาร์บอน ซึ่งอย่างมากก็ทำสำเนาได้แค่ 5 ครั้ง ดังนั้นเมื่อคุณจะส่งสำเนา 5 ครั้ง คุณจึงต้องคิดอย่างหนัก แต่ปัจจุบันการคัดลอกข้อความและส่งต่อให้คนอื่น (CC ในอี-เมล) นั้นทำได้ง่ายดาย บางครั้งเราลอกอี-เมลส่งต่อกันจนเป็นนิสัย โดยทั่วไป นี่ถือเป็นเรื่องไร้มารยาท
วันนี้คนมีเวลาน้อยลงกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะพวกเขามีข้อมูลต้องรับรู้มากมาย ดังนั้นก่อนจะส่งเมลต่อไปให้ใคร ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเขาจำเป็นจะต้องรู้เรื่องในอี-เมลนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ ก็อย่าส่ง ถ้าอาจจะอยากรู้ ก็ทบทวนทีก่อนส่ง
ขอบคุณ มติขนออนไลน์ (19/5/09) ครับ
วันที่ 19 พ.ค. 2552
ไฟโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์ led Solar light ไฟโซล่า ไฟ solar cell IP67 กันน้ำและป้องกันฟ้าผ่ 10000W รับประกัน30ปี
฿199 - ฿1,358https://s.shopee.co.th/6pmJMLjlQH?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 7,525 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,551 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,546 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,584 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,774 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,541 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,561 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,529 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,557 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,537 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,550 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,553 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,538 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,547 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,918 ครั้ง  เปิดอ่าน 7,538 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 7,544 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 7,551 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,539 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,541 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,548 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,553 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 7,536 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 8,176 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 41,919 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 15,410 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 21,108 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,439 ครั้ง |
|
|