ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทบาทของพิธีกรและข้อควรพึงระวัง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,515 ครั้ง
บทบาทของพิธีกรและข้อควรพึงระวัง

Advertisement

พิธีกร (Master of Ceremony: MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
 
     หน้าที่ของพิธีกร  
 
 
       1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ ในแต่ละกิจกรรม
             1. แจ้งกำหนดการ
             2. แจ้งรายละเอียดของรายการ
             3. แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
             4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ
       2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น
             1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
             2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
             2. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน
       3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น
             1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
             2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
             3. แจ้งขอความร่วมมือ
             4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
             5. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี / รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น
             6. กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี
             7. กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ
             8. กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล
       4. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น
             1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
             2. มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ 
        5. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น
             1. กล่าวละลายพฤติกรรม
             2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี
        6. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
             1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
             2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

         โฆษกผู้ประกาศ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร กับประชาชน เพื่อให้ได้รับความสนับสนุนร่วมมือ อันจะทำให้กิจการงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่แตกต่างในแต่ละกิจกรรม เช่น
                 •  การบอกกล่าว
                 •  การชี้แจง   
                 •  การเผยแพร่
                 •  แก้ความเข้าใจผิด
                 •  การสำรวจประชามติ

          บทบาทการทำหน้าที่ของโฆษกผู้ประกาศ โดยการใช้เครื่องมือด้านสื่อต่าง ๆ เช่น เอกสาร สื่อวิทยุโทรทัศน์ จัดเวทีประชาคม เดินสำรวจประชามติ เป็นกระบวนการประชาสัมพันธ์ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป เช่นกระบวนการจัดกิจกรรมโดยใช้เวทีประชาคม ผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ ในการควบคุม ดำเนินการให้ไปตามวัตถุประสงค์ในแต่ละครั้ง ผู้ที่เป็นพิธีกรในการดำเนินการรายการดังกล่าว จะต้องมีความเข้าใจ ในกระบวนการ และรู้หลักการวิธีการ ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น ๆ เป็นภาระหน้าที่ของพิธีกรทั้งสิ้น ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้อง ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพิธีกรดังต่อไปนี้

         พิธีกร คือ บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตนจากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น ไม่ใช้สักแต่จะพูดอย่างเดียวไม่ มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่จะต้องรับผิดชอบในด้านการพูดในตำแหน่งพิธีกร ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง ๆ พิธีกรหรือโฆษก อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในกิจกรรมนั้น ๆ สร้างความเข้าใจในข้อมูล ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของข้อเท็จจริง ให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้องปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม พิธีกร จะถูกกล่าวถึงมากในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนโฆษกจะเป็นคำที่เรียกใช้ในส่วนที่ก่อนถึงเวลาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ หรือบางครั้งในท้องถิ่นชนบทจะเรียกรวมกันเช่น “ โฆษกพิธีกร ดำเนินการ ต่อไป ” ไม่ว่าจะเรียกว่าพิธีกรหรือโฆษกในกิจกรรมนั้น ๆ จะต้องเป็นการพูดคุยในที่ชุมชน นั่นคือต่อคนส่วนมากทุกครั้งเป็นการพูดในที่ชุมชน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หากพูดผิดก็จะทำให้เสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร และถ้าหากทำดีพูดดีก็จะมีสง่าราศีแก่ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิต ของสุนทรภู่ที่ว่า

“ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง ”

           ฉะนั้น คนที่เป็นพิธีกรที่ดี มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้ เช่น
                   •  เตรียมพร้อม
                   •  ซ้อมดี
                   •  ท่าทีสง่า
                   •  หน้าตาสุขุม
                   •  ทักที่ประชุมอย่าวกวน
                   •  เริ่มต้นให้โน้มน้าว
                   •  เรื่องราวให้กระชับ
                   •  จับตาที่ผู้ฟัง
                   •  เสียงดังให้พอดี
                   •  อย่าให้มีอ้ออ้า    
                   •  ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา

            บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่ จะมี 2 กลุ่มคือ
                   1. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
                   2. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ ไหวพริบทุกคนทำได้

 
     
 
   การเตรียมตัวในการทำหน้าที่พิธีกร หรือโฆษก ผู้ประกาศ  
 
          
          พิธีกรหรือโฆษก จะต้องมีการเตรียมตัวในการทำหน้าที่ ดังนี้
              
1.  ศึกษาข้อมูล / วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้นำ ผู้ชม โอกาส วัตถุประสงค์ของงานพิธี รายการที่กำหนดไว้ เพื่อทราบความมุ่งหมายของการทำหน้าที่
               2. เตรียมเนื้อหาและคำพูด เริ่มต้นอย่างไร ? มุขตลก ขำขัน แทรกอย่างไร คำคม ลูกเล่น จุดเด่นที่ควรกล่าวถึง ต้องเตรียมค้นคว้าศึกษาจากศูนย์ข้อมูลมาให้พร้อม
               3.  ตรวจสอบความเหมาะสม ของบทความที่เตรียมมาว่าเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
               4. ต้องมีการฝึกซ้อมไม่ว่าจะซ้อมหลอกหรือซ้อมจริง ต้องมีการฝึกซ้อม
               5.  ศึกษาสถานที่จัดงานหรือพิธีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
               6.  เตรียมเสื้อผ้าและชุดการแต่งกาย อย่างเหมาะสมกับกิจกรรม พร้อมดูแลตั้งแต่ หัวจรดเท้า
 
     
 
   ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่พิธีกร หรือโฆษก
 
 

        
          ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่ของพิธีกรหรือโฆษก
มีดังนี้
                •  ทำจิตให้แจ่มใส
                •  ไปถึงก่อนเวลา
                •  อุ่นเครื่องแก้ประหม่า
                •  ทำหน้าที่สุดฝีมือ
                •  เลื่องลือผลงาน


 
 
   ข้อพึงระวัง สำหรับการทำหน้าที่เป็นพิธีกร  
 
 

   
            ข้อพึงระวังสำหรับการทำหน้าที่เป็นพิธีกร
                 
•  ต้องดูดีมีบุคลิก
                  •  ต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งเครียด
                  •  ต้องแสดงออกอย่างสุภาพและให้เกียรติ ร่าเริงแจ่มใส ให้ความเป็นกันเอง
                  •  ต้องมีการประสานงานด้านข้อมูล และพร้อมเผชิญปัญหาโดยไม่หงุดหงิด
                  •  ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจนให้ชวนฟัง น่าติดตาม
                  •  ต้องเสริมจุดเด่นของคนอื่นไม่ใช่ของตนเอง
                  •  สร้างความประทับใจ ด้านสุภาษิต หรือคำคม

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 19 พ.ค. 2552


บทบาทของพิธีกรและข้อควรพึงระวัง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระวังคนหลอกลวง

ระวังคนหลอกลวง


เปิดอ่าน 6,415 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เคล็ดลับ.....เพื่อสุขภาพดี  ด้วย 6 อ

เคล็ดลับ.....เพื่อสุขภาพดี ด้วย 6 อ

เปิดอ่าน 6,412 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
พรุ่งนี้อาจสายเกินไป
พรุ่งนี้อาจสายเกินไป
เปิดอ่าน 6,427 ☕ คลิกอ่านเลย

ให้โอกาสครูนักเรียนรวมทีมแข่งขันประกวดสื่อ
ให้โอกาสครูนักเรียนรวมทีมแข่งขันประกวดสื่อ
เปิดอ่าน 6,412 ☕ คลิกอ่านเลย

เรารักกัน...หรือแค่...ฉันรักเธอ
เรารักกัน...หรือแค่...ฉันรักเธอ
เปิดอ่าน 6,424 ☕ คลิกอ่านเลย

ตัวเลขไหน......บอกอะไรคุณได้บ้าง
ตัวเลขไหน......บอกอะไรคุณได้บ้าง
เปิดอ่าน 6,415 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบทดสอบสมอง...เด็ดมากๆ
แบบทดสอบสมอง...เด็ดมากๆ
เปิดอ่าน 6,691 ☕ คลิกอ่านเลย

นิ้วก้อย..บอกอะไรคุณ..!!
นิ้วก้อย..บอกอะไรคุณ..!!
เปิดอ่าน 6,439 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รู้ยังหมากัดคน บางกรณีฟ้องเจ้าของหมาไม่ได้นะ
รู้ยังหมากัดคน บางกรณีฟ้องเจ้าของหมาไม่ได้นะ
เปิดอ่าน 77,640 ครั้ง

เจ๋งอะ! มาดูวิธีวาดภาพสามมิติแบบง่ายๆ กัน
เจ๋งอะ! มาดูวิธีวาดภาพสามมิติแบบง่ายๆ กัน
เปิดอ่าน 36,052 ครั้ง

กิจกรรมวันสงกรานต์
กิจกรรมวันสงกรานต์
เปิดอ่าน 12,834 ครั้ง

ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
เปิดอ่าน 11,789 ครั้ง

สักนิด เตือนสติคุณครู
สักนิด เตือนสติคุณครู
เปิดอ่าน 461,618 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ