Advertisement
Advertisement
เกริ่นจากข้างต้น หลายคนก็คงจะสงสัยว่า โรคหอบจากอารมณ์มีลักษณะอย่างไร มีด้วยหรือ?...อย่ารอช้าไปหาคำตอบจากบทความด้านล่างกันเถอะ!!
โรคหอบจากอารมณ์คืออะไร
การที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่าง ๆ ทางร่างกายติดตามมา อาการดังกล่าวมักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่น ๆ
ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเร็ว บ่นหายใจลำบาก หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น อาจพบอาการเกร็ง มือจีบ อาจมีอาการชาบริเวณรอบปากและนิ้วมือได้ ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง รวมทั้งมีการลดลงของค่าแคลเซียมที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลงด้วย
อาการดังกล่าวมักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยก่อนเกิดอาการอาจพบว่า ผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หรือที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน ต้องสอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจคล้ายคลึงกับอาการหอบจากสาเหตุทางกายได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวานและอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป
วิธีการรักษาอาการหายใจหอบ โดยการพยายามหายใจให้ช้าลง หรือให้หายใจในถุงกระดาษที่ครอบทั้งปากและจมูก รวมทั้งการได้รับยาในกลุ่มยาคลายกังวล จะช่วยให้อาการหายใจหอบทุเลาลง แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฉีด ซึ่งจะออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว
อาการดังกล่าวมักพบบ่อยในผู้ป่วยหญิงที่อยู่ในวัยเรียนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น ก่อนเกิดอาการมักมีปัญหากดดันจิตใจ แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัวอยู่เดิม หรือบุคลิกเดิมของผู้ป่วยไม่มีปัญหาในการปรับตัวกับภาวะกดดันมาก่อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการโดยที่ไม่มีปัญหากดดันที่ชัดเจน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุทางกายที่กล่าวไปข้างต้น
ถือว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงหรือไม่นั้นผู้ป่วยควรได้รับการอธิบายเพื่อเข้าใจถึงกลไกการเกิดอาการ รวมทั้งได้รับความมั่นใจว่าอาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และควรให้มาติดต่อรักษากับแพทย์ตามนัด
ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเมื่อเกิดอาการ และเนื่องจากอาการหอบทางอารมณ์ มักสัมพันธ์กับความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับมือและการแก้ไขสาเหตุของความตึงเครียด รวมทั้งได้รับการดูแลด้านจิตใจ เพื่อให้ปรับตัวในการรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น
ในผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี อาการดังกล่าว จะไม่ได้นำไปสู่โรคอื่น ๆ ที่อันตรายร้ายแรง การพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยจะได้ประโยชน์ในแง่การได้รับความสะดวกเมื่อไปติดต่อกับทางโรงพยาบาล และในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ผู้ป่วยที่สามารถใช้วิธีการฝึกหายใจให้ช้าลง ในการลดอาการหอบหายใจเร็ว อาจไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์ใด ๆ แต่หากไม่สามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้ อาจพกถุงกระดาษติดตัวเพื่อใช้เวลาเกิดอาการ
อาการหอบไม่อันตราย หากรู้จักวิธีป้องกันตนเอง และให้ข้อมูลการดูแลที่ถูกต้องแก่คนรอบข้าง เพื่อประโยชน์ในชั่วโมงเร่งด่วนหากอาการกำเริบ.
พญ.ธนิตา หิรัญเทพ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์
Advertisement
|
เปิดอ่าน 11,978 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,342 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,496 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,312 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,545 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,718 ครั้ง |
เปิดอ่าน 157,669 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,050 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,209 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,037 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,652 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,619 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,542 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,796 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,640 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 14,037 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 17,306 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 82,141 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,818 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,640 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,200 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,810 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 10,033 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,951 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 39,733 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,861 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,848 ครั้ง |
|
|