Advertisement
กรมอนามัย เผย ไม่กินอาหารเช้าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (กรมอนามัย)
กรมอนามัย เผยไม่กินอาหารเช้าอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน พบคนทำงานกินข้าวเช้าเป็นประจำเกินครึ่ง ขณะที่เด็กวัยเรียนไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ 30 โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้าโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย ในปี 2555 จำนวน 220 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 20–60 ปี ร้อยละ 59.55 กินอาหารเช้าเป็นประจำ ส่วนร้อยละ 24.09 กินอาหารเช้าเกือบทุกวัน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า เพศชายกินอาหารเช้าทุกวันมากกว่าเพศหญิง คือ ร้อยละ 64 ในขณะที่เพศหญิง กินอาหารเช้าร้อยละ 57.24
สำหรับอาหารเช้าที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานเป็นประจำ อันดับ 1 คือ ข้าว ร้อยละ 50.45 รองลงมาคือดื่มชา กาแฟ แทนข้าว ร้อยละ 25 ตามมาด้วย ดื่มนมจืดพร่องมันเนย ร้อยละ 13.64 ส่วนคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า สาเหตุหลักเป็นเพราะการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ
ทั้งนี้ นายแพทย์เจษฎา ระบุว่า การไม่รับประทานอาหารเช้าจะส่งผลให้การเริ่มต้นระบบเผาผลาญของร่างกายช้าลง ร่างกายจึงรู้สึกหิวตลอดเวลา และกินอาหารในมื้อถัดไปมากยิ่งขึ้น กินจุบกินจิบ และมักเลือกเมนูอาหารที่ให้พลังงานสูงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การอดอาหารเช้ายังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากคนที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ จะลดภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน หรือภาวะดื้อของอินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 35–50 และผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกายังพบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจอีกด้วย
สำหรับพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6-11 ปี ร้อยละ 30 ไม่กินอาหารเช้า และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิง อายุ 12–14 ปี ไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ 52 ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับอาหารเช้าโดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอม
นั่นเพราะหากเด็กวัยเรียนไม่รับประทานอาหารเช้าจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ เพราะร่างกายจะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ และเมื่อไม่ได้ทานอาหารเช้าทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหาร จะส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลม เพราะสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ยิ่งมีอาการในช่วงเวลาเรียน จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียน อาจเป็นโรคกระเพาะจนถึงขั้นต้องพักการเรียนได้
นายแพทย์เจษฎา กล่าวด้วยว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่มีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาหารเช้าที่เหมาะสมสำหรับทุกกลุ่มวัยควรให้พลังงานประมาณ 400–450 กิโลแคลอรี่ โดยเลือกอาหารเช้าให้มีความหลากหลาย ปรุงสุก สด ใหม่เสมอ หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปเพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อย และมีโซเดียมสูง แต่สามารถเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จที่มีขายทั่วไปได้ เช่น ข้าวต้มหมู ไก่ ข้าวผัดหมูใส่ไข่ ข้าวไข่เจียว บะหมี่ผัด ข้าวหมูทอด และเพิ่มผักสด ผลไม้สดเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน
สำหรับการเตรียมอาหารเช้าให้เด็กวัยเรียน ต้องเป็นเมนูที่ถูกหลักโภชนาการ มีโปรตีนสูง และเตรียมง่าย เช่น ข้าวต้มเครื่อง โจ๊ก ข้าวผัด อาหารประเภทซีเรียลผสมนมรสจืด ขนมปังแซนวิช สำหรับข้าวเหนียวหมูปิ้งซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่หาซื้อได้ง่าย ต้องเลือกเป็นหมูปิ้งไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไป และควรเพิ่มผักสดเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กกินผักด้วย ควรใช้ผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน และรสขม เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง แครอท หรือหั่นผักให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อเพิ่มสีสันในเมนูอาหาร ที่สำคัญควรเตรียมนมรสจืด 1 กล่อง และผลไม้ประมาณ 1 ผล เช่น ส้ม แอปเปิล ชมพู่ เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน
"หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าซึ่งถือเป็นมื้อที่สำคัญมาก หากไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าเองก็ควรจะเพิ่มเวลาสัก 10-20 นาที เพื่อออกไปเลือกเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมนอกบ้าน เพราะทุกวัยโดยเฉพาะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงาน สารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ขมหวาน ขนมขบเขี้ยว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนของเด็กไทย พร้อมทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้สมองสามารถเรียนรู้ จดจำ มีสมาธิ พร้อมเริ่มวันใหม่ ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้กันเพื่อนได้อย่างดี ควบคู่กับสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ที่มาจาก กรมอนามัย
Advertisement
เปิดอ่าน 6,422 ครั้ง เปิดอ่าน 15,947 ครั้ง เปิดอ่าน 16,379 ครั้ง เปิดอ่าน 45,486 ครั้ง เปิดอ่าน 11,516 ครั้ง เปิดอ่าน 18,684 ครั้ง เปิดอ่าน 22,646 ครั้ง เปิดอ่าน 55,479 ครั้ง เปิดอ่าน 12,118 ครั้ง เปิดอ่าน 9,738 ครั้ง เปิดอ่าน 1,717 ครั้ง เปิดอ่าน 10,302 ครั้ง เปิดอ่าน 13,757 ครั้ง เปิดอ่าน 14,602 ครั้ง เปิดอ่าน 14,657 ครั้ง เปิดอ่าน 8,971 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 19,185 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,816 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,243 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,923 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 28,250 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,848 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 34,259 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,594 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,857 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,161 ครั้ง |
เปิดอ่าน 59,438 ครั้ง |
|
|