Advertisement
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันไม่เคยมีรายงานการตรวจพบสารไดออกซินในขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม พร้อมเผยผลการทดลองโดยนำตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติก ที่จำหน่ายในท้องตลาด ชนิดพอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิพรอพิลีน (PP) พอลิคาร์บอเนต (PC)และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ไปวางในรถยนต์ที่จอดกลางแดด 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นนำไปตรวจวิเคราะห์หาสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบี โดยใช้เทคนิคและวัดปริมาณ ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ผลตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และสื่อสังคมออนไลน์เตือนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่เก็บในหลังรถยนต์ และจอดกลางแดด โดยมีโอกาสได้รับสารไดออกซินที่แพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติก เนื่องจากอากาศร้อนจัด อาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆ ได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นกลัวถึงอันตรายจากการดื่มน้ำบรรจุ ขวดพลาสติก ในเรื่องนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีภารกิ ในการวิเคราะห์ วิจัยทางด้านไดออกซิน น้ำดื่ม และวัสดุสัมผัสอาหาร ขอชี้แจงข้อมูลเพื่อให้ความรู้ผู้บริโภคดังนี้ --
สารไดออกซิน (Dioxins) เป็นชื่อกลุ่มสารที่มีโครงสร้างและสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย สารกลุ่มโพลี คลอริเนตเตท ไดเบนโซพารา ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) สารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตท ไดเบนโซ ฟูแรน (Polychlorinated dibenzo furans: PCDFs) และสารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตทไบฟีนิล ที่มีสมบัติคล้ายสารไดออกซิน (Dioxins–like polychlorinated biphenyls: DL-PCBs) ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือว่าสาร 2,3,7,8–Tetrachlorodibenzo-para-dioxin (2,3,7,8-TCDD) เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงสุด
สารไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้คือกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น การสร้างกลุ่มสาร ไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้
นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า กระแสข่าวเรื่องไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น หลังรถยนต์นั้น เป็นเหมือนเรื่องเล่าต่อๆ กันมาโดยปราศจากแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด ความจริงที่สืบค้นจากข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่มีการพิจารณาตรวจแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง แล้วทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารไดออกซินนั้นไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้
ความจริงคือขวดพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต)ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น สำหรับขวดบรรจุน้ำ ชนิดเติม ซึ่งมีการบรรจุซ้ำจะเป็นขวดความจุประมาณ 20 ลิตรมี 3 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติก ชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) ขวดใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) และขวดพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมากพอที่จะท้าให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค
ด้วยเหตุนี้ห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงทำการทดลองโดยซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว โดยใช้เทคนิคขั้นสูง Isotope Dilution และวัดปริมาณด้วยเครื่องมือ High Resolution Gas Chromatography/High Resolution Mass Spectrometry ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง ขอแนะนำผู้บริโภคควรพิจารณาแหล่งของข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และตรวจสอบที่มาด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 02 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Advertisement
เปิดอ่าน 72,620 ครั้ง เปิดอ่าน 1,239 ครั้ง เปิดอ่าน 12,023 ครั้ง เปิดอ่าน 20,926 ครั้ง เปิดอ่าน 20,837 ครั้ง เปิดอ่าน 22,603 ครั้ง เปิดอ่าน 15,951 ครั้ง เปิดอ่าน 12,140 ครั้ง เปิดอ่าน 14,699 ครั้ง เปิดอ่าน 3,624 ครั้ง เปิดอ่าน 16,372 ครั้ง เปิดอ่าน 55,628 ครั้ง เปิดอ่าน 9,163 ครั้ง เปิดอ่าน 64,370 ครั้ง เปิดอ่าน 12,983 ครั้ง เปิดอ่าน 9,927 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,740 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,461 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,431 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,260 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,060 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,801 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 31,643 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,845 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,489 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,733 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,583 ครั้ง |
|
|