ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ
บทความการศึกษา 20 ก.ย. 2559 เปิดอ่าน : 16,336 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ
Advertisement

โดย...ทีมข่าวในประเทศโพสต์ทูเดย์

ประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ-วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่ระบบเอนทรานซ์แบบแพ้คัดออกซึ่งใช้มายาวนานกว่า 40 ปี เข้าสู่ระบบแอดมิชชั่นที่ผสมผสานระหว่างคะแนนสอบกลาง (โอเน็ต) กับคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (จีแพ็กซ์) รวมถึงระบบรับตรงที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเปิดสอบเอง

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบ-วิธีการคัดเลือกบุคคล ไม่ได้ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ

มากไปกว่านั้น ดูเหมือนว่าความสุขของเด็กนักเรียนจะค่อยๆ ลดน้อยถอยลงตามลำดับ

ล่าสุด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ภายใต้การนำของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ มีแนวคิด “ปลดแอก” ความเครียดให้นักเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กมัธยมปลายที่ต้อง “วิ่งรอก” สอบตรงกับมหาวิทยาลัยตลอดทั้งปี ด้วยการจัดระเบียบระบบรับตรงใหม่

รูปธรรมของแนวคิดดังกล่าวถูกส่งผ่านมติที่ประชุมร่วมระหว่างศธ.ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นตรงกันว่า ภายในปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยทุกแห่งจะเปิดรับตรงร่วมกัน เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ

กล่าวคือจะใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน ได้แก่ แบบวัดความถนัดทั่วไป (GAT)แบบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) และวิชาสามัญ 9 วิชา เมื่อนักเรียนทราบคะแนนแล้วนำไปยื่นสมัครกับคณะที่ต้องการ คะแนนนั้นก็จะถูกส่งเข้าไปยังส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่เป็น “เคลียริ่งเฮาส์” จัดลำดับคะแนนตามจำนวนที่นั่ง

“การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาตามระบบใหม่จะเริ่มดำเนินการได้ในเดือน มี.ค.-เม.ย. 2560 ส่วนการรับสมัครจะใช้ระบบเคลียริ่งเฮาส์ 2 ครั้ง เบื้องต้นจะให้นักเรียนเลือกได้ 4 สาขาวิชาทั้งสองครั้ง หลังจากเคลียริ่งเฮาส์ทั้งสองครั้งแล้ว หากมหาวิทยาลัยยังมีที่ว่างก็สามารถเปิดรับสมัครเองได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ที่กำหนด” พล.อ.ดาว์พงษ์ อธิบาย

แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะเต็มไปด้วยเจตนาดี แต่ก็ยังถูกตั้งคำถามถึงผลเลิศของนโยบายว่าเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ “ปลายเหตุ” เท่านั้นหรือไม่

นั่นเพราะหากในภาพกว้างจะพบว่าต้นตอของปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ระบบอันชำรุด ไม่สามารถช่วยให้เด็กนักเรียนรู้จักตัวเองหรือค้นหาทักษะ-ความถนัดเฉพาะของตัวเองได้ เด็กจึงเติบโตขึ้นอย่างไร้ทิศทาง สอดรับกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทรัพยากรและบุคลากรไม่เพียงพอ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านงานแนะแนวอาชีพ เด็กจึงไม่มีทางเลือก

เดิมพันเดียวที่เหลืออยู่ คือการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ว่ากันอย่างเป็นธรรม ใช่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเพิกเฉยหรือไม่รับรู้ถึงปัญหา ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ นวัตกรรม Samsung Career Discovery “ค้นพบตัวเอง ค้นพบอาชีพ” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคเอกชนอย่างบริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้เด็กค้นหาความถนัดของตัวเอง และค้นพบเส้นทางอาชีพในอนาคต

นวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบความถนัดและทางเลือกของอาชีพได้เอง ผ่านการตอบคำถามเชิงจิตวิทยาวัดผล “พหุปัญญา” ทางเว็บแอพพลิเคชั่น [http:]www.samsungslc.org/scd ซึ่งจะแปรผลออกมาเป็นกราฟวงกลม แสดงสัดส่วนของความถนัดในแต่ละด้าน

สำหรับทฤษฎีพหุปัญญานั้น ถูกคิดค้นและนำเสนอโดย ศ.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาการศึกษาแห่งฮาร์วาร์ด ซึ่งแบ่งปัญญาของมนุษย์ออกเป็น 8 ด้าน มนุษย์ทุกคนมีครบในทุกๆ ด้าน เพียงแต่จะมีบางด้านโดดเด่นแตกต่างกันออกไป

ทฤษฎีนี้ไม่ได้เสนอขึ้นมาเพื่อจัดอันดับว่าใครมีปัญญามากน้อยกว่ากัน แต่มีไว้เพื่อให้คนได้ค้นพบและใช้ปัญญาที่ตัวเองถนัดเพื่อประโยชน์แก่สังคม

นิยดา พงศ์พาชำนาญเวช คุณครูโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ กทม. ยอมรับว่า นวัตกรรมช่วยค้นหาความถนัดของเด็กมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมาก โดยเฉพาะกับเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัยที่เริ่มค้นหาตัวเอง

“เด็กส่วนใหญ่จะมีอาชีพในอุดมคติไม่ตรงกับความเป็นจริง ฉะนั้นเมื่อเรามีเครื่องมือคือแบบสำรวจที่ช่วยให้ค้นพบตัวเองได้ก่อน จะช่วยกระตุ้นให้เขารู้ตัวว่าต้องฝึกฝนทักษะด้านใดให้ตรงกับความสามารถที่แท้จริง” นิยดา ระบุ

สอดคล้องกับ บุญยงค์ มีพร้อม หัวหน้างานแนะแนวชั้น ม.6 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ กทม. ที่ระบุว่า การใช้สื่อใหม่มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน เป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการตัดสินใจ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนดีกว่ามีเพียงแต่ครูเป็นผู้แนะนำ

จริยาภรณ์ คุ้มพันธ์ คุณครูโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ จ.ปทุมธานี บอกว่า ได้นำเครื่องมือไปทดสอบกับเด็กชั้น ม.1-3 พบว่าเด็กตื่นตัวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กที่กำลังต้องเลือกแผนการเรียน ขณะที่ครูก็ได้รับประโยชน์ จากการนำเครื่องมือไปใช้ร่วมกับกระบวนการในห้องเรียน

หลายนวัตกรรมอาจต้องนำมาใช้เพื่อหนุนเสริมระบบการศึกษาไทยให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้เด็กมีทางเลือกและมีอิสระที่จะเลือกตามความถนัดและความชื่นชอบของตัวเอง

 

 

ขอบคุณที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 กันยายน 2559

 


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?

ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
เปิดอ่าน 7,744 ครั้ง
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 11,819 ครั้ง
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
เปิดอ่าน 11,391 ครั้ง
7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 9,224 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)
เปิดอ่าน 7,615 ครั้ง
หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง

หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง
เปิดอ่าน 35,398 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด

ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
เปิดอ่าน 8,632 ครั้ง
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”

“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
เปิดอ่าน 30,409 ครั้ง
จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?

จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
เปิดอ่าน 9,976 ครั้ง
8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
เปิดอ่าน 19,543 ครั้ง
โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?
เปิดอ่าน 8,815 ครั้ง
สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้

สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้
เปิดอ่าน 5,046 ครั้ง
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่

8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
เปิดอ่าน 15,073 ครั้ง
จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

จุดยืนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เปิดอ่าน 6,928 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)
เปิดอ่าน 7,651 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ถ้าผมเป็น "รมต.ศึกษา"
ถ้าผมเป็น "รมต.ศึกษา"
เปิดอ่าน 14,643 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
เปิดอ่าน 13,709 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรนัย-อัตนัย เรียงความ-ย่อความ
ปรนัย-อัตนัย เรียงความ-ย่อความ
เปิดอ่าน 11,484 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา : มุ่งการขยายโครงสร้าง คือเลือกทางสู่ความล้มเหลว โดย ประเสริฐ ตันสกุล
ปฏิรูปการศึกษา : มุ่งการขยายโครงสร้าง คือเลือกทางสู่ความล้มเหลว โดย ประเสริฐ ตันสกุล
เปิดอ่าน 12,420 ☕ คลิกอ่านเลย

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
เปิดอ่าน 14,510 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในกะลา
การศึกษาในกะลา
เปิดอ่าน 10,483 ☕ คลิกอ่านเลย

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
เปิดอ่าน 6,938 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

แนะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้คุณ "หมดไฟ" ในการทำงาน
แนะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้คุณ "หมดไฟ" ในการทำงาน
เปิดอ่าน 17,472 ครั้ง

การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)
การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)
เปิดอ่าน 15,641 ครั้ง

SEO กับ SEM คืออะไร...ต่างกันแค่ไหน?
SEO กับ SEM คืออะไร...ต่างกันแค่ไหน?
เปิดอ่าน 15,368 ครั้ง

วิธีแก้ the dependency service or group failed to start ใน Win7
วิธีแก้ the dependency service or group failed to start ใน Win7
เปิดอ่าน 43,212 ครั้ง

ฮือฮา! ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดรอบ7ปี คืน14เม.ย.2557 เฉิดฉายกลางท้องฟ้าคู่ดวงจันทร์
ฮือฮา! ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดรอบ7ปี คืน14เม.ย.2557 เฉิดฉายกลางท้องฟ้าคู่ดวงจันทร์
เปิดอ่าน 15,715 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ