Advertisement
การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?
ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินจากหน่วยงานภายนอกทุก ๕ ปี จึงทำให้เกิด สำนักงานประเมินและรับรองมาตรฐานการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ขึ้น โดยทำการประเมินรอบที่ ๑ รอบที่ ๒ และรอบที่ ๓ ผ่านไปเกือบทุกสถานศึกษาแล้ว
ทั้งนี้ โดยใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์การประเมิน มีระเบียบวิธีการประเมินจากสถานที่จริงโดยใช้นักประเมินที่ได้รับการอบรม และมีประสบการณ์ด้านการศึกษามาเป็นอย่างดี จุดมุ่งหมายสูงสุดในการประเมินแต่ครั้งอยู่ที่การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กว่าทศวรรษที่ผ่านมา วัฒนธรรมการประเมินจากหน่วยงานภายนอกได้ซึมซับลงสู่สถานศึกษาไม่น้อย เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมของแต่ละสถานศึกษา
ผู้เรียนได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้ได้รับรางวัลระดับต่างๆ มากขึ้น ครูกระตือรือร้นปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน แสวงหาความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพมากขึ้น โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและสาระสำคัญในการทำงาน
ทั้งหมดนี้ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า เป็นผลมาจากการประเมินจาก สมศ.
แต่สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนวัฒนธรรมการประเมินของ สมศ. คือคุณภาพของผู้เรียน หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บทบาทของ สมศ. ไม่สามารถกระตุ้นสถานศึกษาให้พัฒนาผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตร
เพราะครูเอาเวลาส่วนใหญ่ไปทำตามมาตรฐานข้ออื่นๆ จำนวน ๑๑ ข้อมากเกินไป ส่วนอีก ๑ ข้อ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงปล่อยปละละเลย (มาตรฐานทั้งหมดมี ๑๒ ข้อ)
ถามว่า หัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาอยู่ที่ใด เหตุผลหลักในการจัดตั้งโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อใคร และผู้ปกครองฝากลูกหลานไว้กับสถานศึกษาด้วยความหวังสูงสุดในเรื่องใด ในแต่ละวันที่ผู้เรียนใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนั้น เขาได้อะไรบ้าง
๑ ปี เขามาเรียน ๒๐๐ วัน ไม่เคยขาดเรียน มาโรงเรียนแต่เช้า ๗ โมงเช้า ๔ หรือ ๕ โมงเย็นค่อยกลับบ้าน บางรายต้องเรียนพิเศษตามความต้องการของพ่อแม่อีก จนถึง ๒ ทุ่ม ความเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนเหล่านี้ สมศ. มองเห็นเป็นอะไร ตีค่าผู้เรียนอย่างไร
ในเมื่อคุณภาพผู้เรียน มิได้เป็นผลโดยตรงมาจากการประเมินของ สมศ. จึงเกิดกระแสการต่อต้านการประเมินอย่างต่อเนื่องยาวนาน
แม้ในใจจะรู้สึกต่อต้าน แต่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาก็ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะเป็นกฎหมายที่บรรดานักการเมืองเห็นชอบแล้วในสภาผู้แทนราษฎรตามกระบวนการประชาธิปไตย (นักการเมืองคาดหวังอะไรจากกฎหมายฉบับนี้)
ณ วันนี้ มีความเคลื่อนไหวในทำนองว่า จะเปลี่ยนวิธีการประเมิน เปลี่ยนมาตรฐานและตัวชี้วัดในการประเมิน จึงถามว่า ทำไปทำไม มีความจำเป็นแค่ไหน ทำเพื่ออะไร เด็กนักเรียนจะได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างไรบ้าง
ในเมื่อหัวใจของการจัดการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียน การจะดูแลบำรุงรักษาหัวใจให้แข็งแรง สามารถเป็นกำลังสำคัญของสังคมและประเทศชาติได้ จำเป็นต้องได้รับอาหารสมองที่ดีโดยผู้ปรุงอาหารที่เหมาะสม ก็ปรากฏชัดแล้วว่า ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา สมศ. เป็นผู้ประกอบอาหารที่ใช้ไม่ได้ แล้วจำเป็นต้องมีการประเมินรอบที่ ๔ ไปทำไม
ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ วันที่ 5 - 11 มิ.ย. 2558
กล้องติดรถยนต์อัจฉริยะ [ 70mai Dash Cam M310 ] ความคมชัด 1296P มุมมองภาพ 130 องศา บันทึกขณะจอดรถ 24 ชั่วโมง
฿1,599 - ฿2,099https://s.shopee.co.th/3VUpSqeE2N?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 39,200 ครั้ง เปิดอ่าน 7,494 ครั้ง เปิดอ่าน 8,327 ครั้ง เปิดอ่าน 10,400 ครั้ง เปิดอ่าน 16,461 ครั้ง เปิดอ่าน 15,865 ครั้ง เปิดอ่าน 7,744 ครั้ง เปิดอ่าน 9,603 ครั้ง เปิดอ่าน 23,399 ครั้ง เปิดอ่าน 10,654 ครั้ง เปิดอ่าน 29,153 ครั้ง เปิดอ่าน 19,614 ครั้ง เปิดอ่าน 10,196 ครั้ง เปิดอ่าน 23,826 ครั้ง เปิดอ่าน 11,392 ครั้ง เปิดอ่าน 50,342 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 8,237 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,504 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,324 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,019 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 33,798 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,512 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,646 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 2,867 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,107 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,933 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,380 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,401 ครั้ง |
|
|