ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ


บทความการศึกษา 2 ต.ค. 2562 เวลา 08:27 น. เปิดอ่าน : 32,920 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
 

จากการที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๔ กำหนดว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากําหนด นั้น คุรุสภาซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพและออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ จึงได้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าใบอนุญาตประกอบวิชา ชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้สอดรับตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยกำหนดเงื่อนไขด้านมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ว่าต้องมีคุณสมบัติ (๑) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน  (๒) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ  ถึงแม้จะมีการออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูมาแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายฉบับ แต่ก็มิได้มีการแก้ไขในคุณสมบัติ ๒ ข้อดังกล่าวข้างต้น เป็นการยืนยันว่ามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพต้องมีทั้งการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนและปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งหมายถึงสาขาวิชาเอกของนักศึกษาแต่ละคน เช่น วิทยาศาสตร์  ภาษาไทย สังคมศึกษา
ภาษาอังกฤษ เป็นต้น 
 
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา นำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้คุณภาพของบัณฑิต มีมาตรฐานใกล้เคียงกันและสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ภายใต้แนวคิดที่ต้องเป็นหลักสูตรบูรณาการ และอิงสมรรถนะมากกว่าหลักสูตรอิงเนื้อหา เน้นสมรรถนะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาผู้เรียน มีการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  มาตรฐานผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้โครงสร้างหลักสูตรมีความยืดหยุ่น สถาบันผลิตครูมีอิสระในการสร้างหลักสูตรผลิตครูที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์และสภาพบริบทเชิงพื้นที่ของสถานศึกษา สะท้อนอัตลักษณ์ของผู้เรียน รวมทั้งความต้องการของผู้เรียน ให้ครอบคลุมทั้งการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนประจำการ การพัฒนาครูประจำการและนอกประจำการ
 
ในหลักสูตรวิชาชีพครู (มคอ. ๑) กำหนดโครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย ๓ หมวดวิชา ได้แก่ ๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต ๒) หมวดวิชาเฉพาะด้าน (ไม่น้อยกว่า ๓๔ หน่วยกิต) ประกอบด้วยวิชาชีพครูที่เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า ๒๒ หน่วยกิต  และปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต และรายวิชาเอกของแต่ละสาขาไม่น้อยกว่า  ๖๐-๘๐ หน่วยกิต ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหลักสูตรวิชาเอกเดี่ยว เอกคู่ หรือวิชาเอก-โท และ ๓) หมวดวิชาเลือกเสรี อีกไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ซึ่งในหมวดวิชาเฉพาะด้านจะประกอบด้วยวิชาชีพครูที่กำหนดมาตรฐานความรู้ของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดปรัชญาศึกษา จิตวิทยาการศึกษา ค่านิยม อุดมการณ์ และจิตวิญญาณความเป็นครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู หลักสูตรและวิทยาการ การจัดการเรียนรู้ ความรู้ตามกรอบ TPCK แนวคิด STEM ความรอบรู้ด้านดิจิทัล  การวัดและประเมินการศึกษา ทักษะการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการเรียนรู้สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูมาใช้ในการออกแบบหลักสูตรรายวิชา กิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับลักษณะธรรมชาติและสภาพบริบทของผู้เรียนที่แตกต่างกัน เน้นที่ต้องเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นั่นหมายความว่า แต่ละรายวิชาที่สถาบันการศึกษากำหนดให้เรียนในหมวดวิชาชีพครู ต้องมีการฝึกปฏิบัติในระหว่างเรียนของแต่ละวิชาสอดคล้องกับมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพของคุรุสภา ว่าต้องมีการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน แยกออกจากการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี  
   
ดังนั้น การที่จะนับรวมเวลาของการฝึกปฏิบัติระหว่างเรียนกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา มิน่าจะตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมายทั้งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพที่ออกมาบังคับใช้ ในข้อเท็จจริงการที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เรียน(นักศึกษาครู) ได้มีการฝึกปฏิบัติระหว่างเรียนก่อนก็เพื่อเป็นการให้ได้ทดลองลงมือปฏิบัติจริงหลังจากที่ได้เรียนภาคทฤษฎีแล้วภายใต้การสอน และการให้คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง และที่สำคัญผู้เรียนเกิดทักษะมีสมรรถนะที่สามารถนำไปใช้ได้ในการปฏิบัติการสอนจริงในสถานศึกษาอย่างมั่นใจ เพราะได้รับการฝึกฝนหลายครั้งจากอาจารย์ผู้สอนอย่างใกล้ชิด และจากประสบการณ์การนิเทศนักศึกษาฝึกสอนหลักสูตร ๕ ปี พบว่า นักศึกษาเกือบทั้งหมดจะยังไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนมาตลอด ๔ ปี ไปใช้ในการปฏิบัติการสอนของตนในภาคเรียนที่ ๑ ได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะการนำแผนการสอนไปใช้จริงในห้องเรียน นักศึกษาจะพบปัญหามากมายในการใช้แผนการสอนที่เขียนขึ้นมาตามทฤษฎีที่ได้เรียนมา ตั้งแต่ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การใช้เวลาจัดกิจกรรมที่ไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ เนื่องจากเด็กนักเรียนบางคน/กลุ่มยังทำกิจกรรมไม่เสร็จ การสอนก็ไม่บรรลุผลสำเร็จถึงขั้นสุดท้ายตามแผนการสอน ก็จะเกิดการลองผิดลองถูกไปในตัวเองแม้จะมีครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ คอยดูแลให้คำแนะนำแต่ก็ไม่ใช่ทุกชั่วโมงสอน นั่นหมายถึงต้องมีบางชั่วโมงสอนอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยๆ ผลที่ได้รับย่อมไม่เป็นผลดีกับทั้งตัวนักศึกษาฝึกสอน และนักเรียนที่ถูกสอนด้วย แต่พอเข้าสู่ภาคเรียนที่ ๒ นักศึกษาจะมีความมั่นใจในการสอนของตนเองมากขึ้น เขาสามารถที่จะเรียนรู้และปรับปรุงการเขียนแผนการสอนที่สามารถนำไปใช้จริงได้ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในชั้นเรียนได้ และมีความสุขกับการสอนของตนเอง แสดงว่านักศึกษาครูสามารถปรับตัวและจัดกระบวนการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีระยะเวลาการฝึกปฏิบัติมาก คือ ๑ ปีเต็ม หรือ ๒ ภาคเรียน
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่สถาบันผลิตนักศึกษาครู จะกำหนดให้การมอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาครูได้ลงไปทำกิจกรรม/โครงการต่างๆ ในสถานศึกษาและถือว่าเป็นการฝึกปฏิบัติการสอน แล้วนับชั่วโมงรวมเข้ากับการฝึกปฏิบัติการสอนจริงในสถานศึกษา เพื่อให้ครบ ๑ ปี ตามกฎหมาย น่าจะต้องพิจารณาตามเจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับข้างต้น
 

ธีรวุธ  ธาดาตันติโชค

 


การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนกับการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา:เจตนารมณ์ข้อกฎหมายข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)


เปิดอ่าน 8,250 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)


เปิดอ่าน 8,526 ครั้ง
คุณครูหายไปไหนครับ?

คุณครูหายไปไหนครับ?


เปิดอ่าน 20,656 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย

Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย

เปิดอ่าน 26,630 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 12,935 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 49,312 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1
ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1
เปิดอ่าน 6,483 ☕ คลิกอ่านเลย

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล
เปิดอ่าน 8,524 ☕ คลิกอ่านเลย

เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 10,119 ☕ คลิกอ่านเลย

7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 10,193 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คุณแม่มือใหม่ดูเลย ที่ญี่ปุ่นมีโรงเรียนสอนแม่เลี้ยงลูก (รายการ ดูให้รู้)
คุณแม่มือใหม่ดูเลย ที่ญี่ปุ่นมีโรงเรียนสอนแม่เลี้ยงลูก (รายการ ดูให้รู้)
เปิดอ่าน 11,375 ครั้ง

Cut-Away Leaf Art ตัดใบไม้ให้เป็นงานอาร์ต
Cut-Away Leaf Art ตัดใบไม้ให้เป็นงานอาร์ต
เปิดอ่าน 40,440 ครั้ง

ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!
ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!
เปิดอ่าน 40,168 ครั้ง

แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
เปิดอ่าน 24,843 ครั้ง

  เปิดวงวิพากษ์อินเทอร์เน็ต โลกเสมือนคนยุคใหม่
เปิดวงวิพากษ์อินเทอร์เน็ต โลกเสมือนคนยุคใหม่
เปิดอ่าน 8,922 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ