ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ


บทความการศึกษา 23 ก.พ. 2559 เวลา 09:57 น. เปิดอ่าน : 19,045 ครั้ง

Advertisement

ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ

ผลกระทบจึงเกิดต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและคุณภาพการศึกษาของชาติในภาพรวม หากถามว่าเราปล่อยให้ปัญหาการพัฒนาผู้คนในระดับรากหญ้าอยู่มาถึงวันนี้ได้อย่างไร

การศึกษาไทย...ใช้งบประมาณมาก...แต่คุณภาพด้อยกว่าประเทศอื่น แถมยังมี “สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตน” ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กชนบทกับในเมืองที่เกิดช่องว่างกันมากขึ้น ด้วยเด็กในเมืองมีปัจจัยการเรียนรู้และฐานะครอบครัวที่ดีกว่า ได้เรียนรู้ในโรงเรียนที่มีความพร้อมกว่า ได้กวดวิชาเพิ่มเติม แต่สำหรับเด็กชนบทที่อยู่ตาม เกาะ แก่ง ป่าเขา บนดอย ตะเข็บชายแดน หรือพื้นที่ห่างไกล ปัจจัยความพร้อมดังกล่าวมีน้อยมากโดยเฉพาะโรงเรียนที่เป็นแหล่งเรียนรู้หลักยังขาดความพร้อมปัจจัยในการพัฒนาทุกด้าน ด้วยเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งโรงเรียนลักษณะที่ว่านี้ยังมีอยู่ไม่น้อยกว่า 15,000 แห่ง ที่เด็กรุ่นแล้วรุ่นเล่าผ่านออกไปโดยที่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่

ผลกระทบจึงเกิดต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและคุณภาพการศึกษาของชาติในภาพรวม หากถามว่าเราปล่อยให้ปัญหาการพัฒนาผู้คนในระดับรากหญ้าอยู่มาถึงวันนี้ได้อย่างไร ก็คงตอบแทนได้ว่า ทุกรัฐบาลก็ได้มีการแก้ปัญหาแต่เป็นการแก้ไขไม่ตรงจุดตรงบริบทโดยเฉพาะขาดความจริงจัง ต่อเนื่อง ทั่วถึง เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งไป ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจึงไม่ได้แค่มีอยู่ แต่กำลังจะเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและความยุ่งยากในการแก้ไขมากขึ้น จึงน่าจะต้องถึงเวลามาคิดแก้ปัญหานี้กันอย่างจริงจังเพื่อคุณภาพผู้เรียนของเด็กระดับรากหญ้าและคุณภาพการศึกษาของชาติ เพื่อให้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นรูปธรรม จึงขอนำเสนอตัวอย่างแนวทางการบริหารจัดการ ตามบริบทที่ตั้งของโรงเรียน ดังนี้

บริบทแรก คือ กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลตาม เกาะ แก่ง ภูเขา บนดอย ตะเข็บชายแดน หรือพื้นที่พิเศษโรงเรียนตามภูมิศาสตร์ที่ว่านี้แม้จะมีจำนวนเด็กน้อยแค่ไหน ก็คงไปยุบรวมหรือยุบเลิกไม่ได้เพราะจะทำให้เด็กเสียโอกาสด้านการศึกษาหรือออกกลางคันตามมา การแก้ปัญหาหลักก็คงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องสนับสนุนปัจจัยในการพัฒนาให้พร้อมทุกด้าน เพราะการที่จะหวังให้มีเครือข่ายภาคีจากส่วนต่าง ๆ เข้าไปช่วยคงเป็นไปได้ยากหรือไม่ทั่วถึง ด้วยสภาพปัญหาของพื้นที่กับการเดินทาง หรือกรณีหวังให้ชุมชนมาช่วยสร้างความเข้มแข็งเพื่อความยั่งยืนยิ่งเป็นไปได้ยากใหญ่เพราะลำพังประชาชนเองก็เอาตัวไม่ค่อยจะรอด

รัฐจึงต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่ในปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงมีวิธีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนขนาดเล็กตามภูมิศาสตร์และศักยภาพของเด็กเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นด้านมาตรฐานคุณภาพการศึกษา หลักสูตร ตำราเรียน คู่มือครู นวัตกรรม การใช้เครือข่ายการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมทางไกลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดูแลจัดอาหารเช้าและกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้ฟรี ปลดล็อกเกณฑ์อัตราส่วนครูต่อนักเรียนเพื่อให้มีครูพอสอนครบชั้น การสรรหาครูและผู้บริหารมืออาชีพเข้าไปพัฒนา ในระยะยาวจะต้องมีสถาบันผลิตครูสำหรับสอนโรงเรียนขนาดเล็กโดยตรง พร้อมมีมาตรการสร้างขวัญกำลังใจทั้งด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน วิทยฐานะให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้ได้รับความก้าวหน้า ไม่ใช่ทุกอย่างใช้เกณฑ์เดียวเหมือนกันทั้งประเทศเช่นปัจจุบันนี้ก็คงไม่ได้

บริบทสอง กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่การคมนาคมสะดวก ชุมชนเมืองหรือตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนที่มีความพร้อมกว่า กลุ่มนี้น่าจะมีอยู่หลายพันแห่ง ซึ่งเด็กในโรงเรียนภูมิศาสตร์นี้จริง ๆ แล้วน่าจะได้รับโอกาสด้านคุณภาพมานานแล้วเพราะมีทางเลือกด้วยอยู่ในพื้นที่ไม่ยุ่งยากเหมือนกลุ่มแรก หากภาครัฐและชุมชนมีการบริหารจัดการที่ดีร่วมกัน แต่ปัญหานี้ยังมีอยู่ก็เพราะยังมีการยื้อยุดเพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กบริบทนี้ต้องดำรงอยู่ด้วยสารพัดเหตุผล โดยไม่ได้ยึดเอาคุณภาพผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ทั้งที่รู้ว่าความพร้อมการพัฒนายังน้อยเพราะขาดครูผู้สอน การบริหารจัดการเหมือนกับโรงเรียนขนาดใหญ่ทุกอย่าง ครูต้องทิ้งห้องเรียนเพื่อไปร่วมกิจกรรม โครงการ ที่หน่วยเหนือสั่งการจนแทบไม่มีเวลาสอน ที่สำคัญเมื่อโรงเรียนมีจำนวนมาก งบประมาณที่ถูกส่งไปก็กลายเป็นเบี้ยหัวแตกไม่พอกับการแก้ปัญหาและพัฒนา คุณภาพเด็กจึงไม่เกิดตามเป้าหมายของการใช้งบประมาณ ในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนขนาดเล็กบริบทที่ว่านี้น่าจะมีทางออกได้หลายวิธี อาทิ

จัดเป็นศูนย์เครือข่ายนิติบุคคล บริหารงานในรูปคณะกรรมการ มีผู้บริหารโรงเรียนที่ตั้งศูนย์เป็นประธาน ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในเครือข่ายเป็นคณะกรรมการ ทำหน้าที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายทั้งหมด ส่วนงานประจำหรืองานธุรการให้โรงเรียนที่ตั้งศูนย์ที่มีความพร้อมด้านบุคลากรเป็นผู้ดำเนินการ หากทำได้เช่นนี้ก็จะทำให้ครูโรงเรียนขนาดเล็กมีเวลาสอนมากขึ้น รวมถึงจะทำให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งด้านครู สื่อ และปัจจัยต่างๆ ส่วนเด็กก็จะได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนต่างโรงเรียน เกิดการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีการนี้เมื่อมีตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายว่างลงไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ให้ตัดไปเป็นอัตราครูผู้สอนแทน เพราะมีคณะกรรมการบริหารอยู่แล้ว หากทำได้เช่นนี้คุณภาพผู้เรียนก็จะดีขึ้น ปัญหาครูไม่พอสอนจะลดน้อยลงงบประมาณก็จะถูกนำไปใช้เกิดคุณค่ากับผู้เรียน การเกื้อกูลในเครือข่ายก็จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 50 คน ที่ไม่สามารถรวมเป็นศูนย์เครือข่ายได้จะด้วยเหตุใดก็ตาม ส่วนนี้อาจโอนให้หน่วยงานการศึกษาอื่นมาจัดแทน หรือจัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อที่จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยพัฒนาได้มากขึ้น

วิธีสุดท้ายที่จะขอนำเสนอ คือ การยุบรวมหรือยกเลิก สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในชุมชนเมืองที่ไม่ได้ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในศูนย์นิติบุคคล หรือไม่สามารถจัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ได้ โดยรัฐต้องจัดค่าพาหนะ ประกันอุบัติเหตุให้ การบริหารจัดการด้วยวิธีการนี้นอกจากจะเกิดผลดีต่อคุณภาพเด็กแล้ว ยังจะทำให้รัฐเหลือปัจจัยไปช่วยพัฒนาเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กในบริบทแรกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

การบริหารจัดโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณภาพสูงสุดเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่นั้นเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกัน เพราะการที่จะปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายแก้ไขอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะโรงเรียนเกี่ยวข้องในหลายภาคส่วนและในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจะให้ได้ผลนั้นจะต้อง รู้ลึก รู้จริง ถึงแก่นแท้บริบทของพื้นที่และมีวิธีการแก้ไขที่สอดคล้องกับปัญหาอย่างตรงจุด ทั่วถึง และต่อเนื่อง ปัญหาความเหลื่อมล้ำคุณภาพชีวิตคนชนบทกับคนเมืองก็จะลดน้อยลง คุณภาพการศึกษาของชาติก็จะดีขึ้น แต่หากยังปล่อยให้โรงเรียนขนาดเล็กเป็นไปตามยถากรรมต่อไป โอกาสที่จะเห็นผู้คนระดับรากหญ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เห็นประเทศชาติก้าวเดินผ่านพ้นประเทศกำลัง (ด้อย) พัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วก็คงยังยากไกลเกินฝันที่จะเดินไปได้ถึงอยู่อีกแน่.

กลิ่น สระทองเนียม

 

ที่มา: http://www.dailynews.co.th 


ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?


เปิดอ่าน 9,072 ครั้ง
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้


เปิดอ่าน 10,017 ครั้ง
การศึกษาในกะลา

การศึกษาในกะลา


เปิดอ่าน 11,184 ครั้ง
ราชภัฏกับธนาคาร

ราชภัฏกับธนาคาร


เปิดอ่าน 7,622 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เด็กรุ่นใหม่... เขาทำ (อาชีพ) อะไร

เด็กรุ่นใหม่... เขาทำ (อาชีพ) อะไร

เปิดอ่าน 8,508 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ไขคำตอบ "โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค4.0?"
ไขคำตอบ "โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค4.0?"
เปิดอ่าน 40,903 ☕ คลิกอ่านเลย

ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
เปิดอ่าน 17,696 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทย…ไปถึงไหนแล้ว?? ผู้เขียน สหัส แก้วยัง
การศึกษาไทย…ไปถึงไหนแล้ว?? ผู้เขียน สหัส แก้วยัง
เปิดอ่าน 50,979 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)
เปิดอ่าน 9,576 ☕ คลิกอ่านเลย

"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 55,607 ☕ คลิกอ่านเลย

ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
เปิดอ่าน 9,830 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วันนี้คุณบำรุงผิวหน้าด้วยอโลเวร่าหรือยัง ?
วันนี้คุณบำรุงผิวหน้าด้วยอโลเวร่าหรือยัง ?
เปิดอ่าน 13,636 ครั้ง

ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"
เปิดอ่าน 31,881 ครั้ง

ทำไมนะ…ลูกเราถึงไม่ฉลาด
ทำไมนะ…ลูกเราถึงไม่ฉลาด
เปิดอ่าน 8,420 ครั้ง

6 หนทางสู่ความร่ำรวยตั้งแต่อายุยังน้อย
6 หนทางสู่ความร่ำรวยตั้งแต่อายุยังน้อย
เปิดอ่าน 24,804 ครั้ง

ใบบัว มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง?
ใบบัว มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง?
เปิดอ่าน 36,717 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ