Advertisement
Advertisement
โลกอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของความเชื่อใจกันนับแต่วันแรก เราคงจำกันได้กับวันที่เราเคย finger ว่าใครออนไลน์บนเครื่องไหนกันบ้าง เพราะยุคแรกของอินเทอร์เน็ตนั้นมันเป็นช่องทางเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยเป็นหลัก
แต่ในยุคนี้ที่อินเทอร์เน็ตนั้นเต็มไปด้วยอันตราย ความเชื่อใจแบบเดียวกันนี้ แม้จะลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ แต่เรายังคงล็อกอินเว็บด้วยการเชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัส ไวร์เลสแลนของเราส่วนมากมีการป้องกันเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีการป้องกันใดๆ เลย ปัญหาหลักในเรื่องนี้คงเป็นเรื่องของความยุ่งยากในการติดตั้ง แต่ความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งคือการเพิ่มความปลอดภัยให้อินเทอร์เน็ตนั้นมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก การเข้ารหัสแบบ TLS ให้กับการเชื่อมต่อทั้งหมด หมายถึงการคำนวณปริมาณมากมายให้กับผู้ใช้ทุกๆ คนโดยที่เซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถแคชผลการคำนวณไว้ใช้งานได้ แต่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยสองเทคโนโลยีหลัก
การทำงานแบบมัลติเธรด ที่กระจายงานไปยังหลายๆ ซีพียูได้ เมื่อผู้ใช้เพิ่มขึ้น การเพิ่มจำนวนคอร์ของซีพียูช่วยให้เราสามารถรองรับผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นได้
Multi-Core เช่น Core 2 เป็นการใส่ซีพียูจำนวนมากกว่าหนึ่งชุดเข้าไปในแพคเกจเดียวกัน ทั้งสองคอร์มักจะสามารถสื่อสารถึงกันได้เร็วเป็นพิเศษทำให้แชร์ข้อมูลกันได้ง่าย
SMT เป็นการแยกร่างซีพียูคอร์เดี่ยวให้ทำงานเสมือนว่ามีสองคอร์ไป ผลที่ได้อาจทำให้หลายๆ คนแปลกใจคือหากเราสามารถแยกงานออกเป็นสองเธรด แล้วทำงานบนซีพียูแบบ SMT แล้ว ผลลัพธ์จะเร็วขึ้น 14-200% เลยทีเดียว
การใช้ซีพียูแบบเฉพาะทาง ลองนึกถึงการ์ดกราฟิกที่ทำหน้าที่คำนวณข้อมูลสามมิติโดยเฉพาะ ทำให้มันทำงานได้เร็วอย่างไม่น่าเชื่อ การเข้ารหัสก็สามารถใช้ชิปแบบเฉพาะได้เช่นกัน แต่ใน Core Microarchitecture ได้มีการใส่คำสั่งหลายคำสั่งเพื่อเพิ่มความเร็วการเข้ารหัสมาอยู่แล้ว คือ
ชุดคำสั่ง AES ได้แก่ AESENC, AESENCLAST, AESDEC, และ AESDECLAST ชุดคำสั่งเหล่านี้สามารถเร่งความเร็วการเข้ารหัสในแบบ AES ให้เร็วกว่าการใช้คำสั่ง x86 ตามปรกติได้ประมาณสามถึงสี่เท่าตัว
ชุดคำสั่งการคูณแบบเป็นชุด ได้แก่ PCLMULQDQ ซึ่งเป็นคำสั่งคูณเลข 64 บิตทีละสี่ชุดพร้อมๆ กัน การคุณจำนวนมากๆ นั้นเป็นเรื่องปรกติมากในการเข้ารหัสแทบทุกอัลกอลิธึ่ม ดังนั้นคำสั่งแบบนี้จึงสามารถช่วยเพิ่มความเร็วการเข้ารหัสได้แทบทุกรูปแบบ
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ยังต้องการการปรับปรุงจากโลกซอฟต์แวร์อีกมากให้สามารถทำงานโดยใช้ทรัพยากรในซีพียูได้อย่างเต็มที นับแต่การคอมไพล์ใหม่เพื่อให้ซอฟต์แวร์ใช้คำสั่งใหม่ๆ ได้ หรือการออปติไมซ์ในด้วยมือ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ใหม่ทั้งหมด
ข้อมูลจาก สนุก.คอม
Advertisement
|
เปิดอ่าน 21,905 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,252 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,725 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,635 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,032 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,802 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,636 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,001 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,897 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,778 ครั้ง |
เปิดอ่าน 39,539 ครั้ง |
เปิดอ่าน 43,525 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,745 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,721 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,722 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 34,877 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 9,974 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,303 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,610 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 35,078 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,618 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,374 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 4,206 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,202 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 24,130 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,727 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 31,586 ครั้ง |
|
|