Advertisement
Advertisement
อ.ดวงรัตน์ ริยอง
มีการระบาดทั่วโลก พบมากในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกชุกเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของพยาธิที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับพยาธิปากขอ จึงพบการแพร่กระจายโรคพยาธิปากขอและพยาธิเส้นด้ายอยู่ในบริเวณเดียวกัน คนที่เป็นโรคพยาธิปากขอเมื่อออกจากพื้นที่ที่มีโรคแล้วก็จะหายจากโรคในเวลาไม่กี่ปี แต่คนที่เป็นพยาธิเส้นด้ายมีการติดเชื้อนานกว่าเพราะเกิดการติดเชื้อในตัวเอง คนเป็นโฮสต์ที่สำคัญในวงจรชีวิตพยาธิตัวเต็มวัยฝังอยู่ในเยื่อบุผนังลำไส้เล็กและตอนบนของลำไส้เล็กส่วนกลาง นอกจากนี้อาจพบได้ตั้งแต่บริเวณท้ายกระเพาะอาหารและไส้ติ่ง
พยาธิเส้นด้ายมีลักษณะอย่างไร?
เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เนื่องจากพยาธิสามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและแพร่พันธุ์ได้ทั้งในโฮสต์ และอยู่เป็นอิสระนอกร่างกายโฮสต์ พยาธิตัวเมียมีลำตัวเรียวเล็ก ปลายหางแหลม พยาธิตัวผู้ปกติไม่พบในอุจจาระ พยาธิตัวเต็มวัยอยู่ในลำไส้เล็กเมื่อตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กันตัวเมียออกไข่และไข่ฟักเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ทันทีในลำไส้ และปะปนออกมาพร้อมกับอุจจาระอยู่ในดิน เมื่อ ตัวอ่อนระยะที่ 1 ลงสู่พื้นดินจะเจริญเติบโตมีการลอกคราบเป็น ตัวอ่อนระยะที่ 2 และตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ จะติดต่อเข้าสู่คนโดยการไชผ่านผิวหนังเป็นส่วนใหญ่หรืออาจปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำดื่มเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเข้าสู่กระแสโลหิตไปยังหัวใจ และปอด บางส่วนจะเจริญเติบโต และลอกคราบไปเป็นตัวเต็มวัยระยะอ่อนในปอด บางส่วนไปยังลำไส้มีการลอกคราบครั้งสุดท้าย เจริญเป็นพยาธิตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์ และออกไข่ต่อไป
การติดเชื้อจากภายในร่างกาย
เกิดจากตัวอ่อนระยะที่ 1 ทั้งหมดหรือบางส่วนที่อยู่ในลำไล้ลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ได้ในลำไส้ และสามารถไชผ่านผนังลำไส้เล็กส่วนปลาย และสำไส้ใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดทำให้พยาธิเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ โดยที่ไม่ได้รับเชื้อใหม่เพิ่มเข้ามาอีก
การติดเชื้อจากภายนอกร่างกาย
เกิดจากพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ที่ออกมาในอุจจาระและมีพยาธิบางส่วนติดค้างอยู่ที่ผิวหนังบริเวณรอบๆ ทวารหนัก ตัวอ่อนระยะที่ 1 มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 และไชผ่านผิวหนังบริเวณนั้นเข้าสู่กระแสเลือดทำให้พยาธิเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้โดยไม่ต้องลงไปฟักตัวเป็นระยะติดต่อในดินแต่พยาธิได้ออกมาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกแล้วโดยพยาธิออกมาอยู่บนร่างกายแล้วนั่นเอง
มีอาการสำคัญอย่างไร
ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไชผ่านผิวหนังเข้าไปทำให้เกิดอาการคันและมีผื่นแดง บางครั้งตัวอ่อนไม่สามารถเดินทางไปยังปอดได้สำเร็จ จึงเดินทางอยู่บริเวณผิวหนังทำให้เกิดรอยนูนคดเคี้ยว เรียกอาการเช่นนี้ว่า creeping eruption เมื่อตัวอ่อนเดินทางมาถึงปอด ทำให้เกิดแผลในปอดมีจุดเลือดออก และมีอาการอักเสบ (pneumonitis) ร่วมกับอาการไอและมีไข้ อาการในผู้ป่วยทั่วไปมีได้ตั้งแต่ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง จนกระทั่งการย่อยและการดูดซึมของอาหารผิดปกติ ถ้ามีพยาธิจำนวนมากผนังลำไส้อาจถูกไชจนพรุนคล้ายรังผึ้ง ทำให้ลำไส้เกิดเน่าเป็นขุยหลุดออกไปเป็นแผลใหญ่ได้ ทำให้เลือดออกในลำไส้ ลำไส้ทะลุ ผู้ป่วยที่สุขภาพอ่อนแอมาก เช่น ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาพวกสเตียรอยด์ ทำให้เกิดการติดเชื้อในตนเอง มีพยาธิเพิ่มจำนวนมากมายในร่างกาย พยาธิไชผนังลำไส้เข้าอวัยวะภายในทั่วร่างกายเกิดการแพร่กระจายไปยังตับ ตับอ่อน หัวใจ ไต หรือระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคพยาธิเส้นด้าย
การตรวจอุจจาระเพื่อหาตัวอ่อนระยะที่ 1 และ 2 โดยวิธี direct smear แต่ถ้ามีพยาธิจำนวนน้อยการตรวจแบบเข้มข้น (concentration method) จะได้ผลดีกว่า การตรวจน้ำย่อยหรือเสมหะอาจพบตัวอ่อนได้
เป็นแล้วจะทำการรักษาได้อย่างไร
กินยา Thiabendazole หรือ Albendazole
จะมีวิธีป้องกันอย่างไร
สวมรองเท้าที่ปกปิดเพื่อป้องกันตัวอ่อนติดต่อไชเข้าผิวหนัง ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะและมีอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการกระจายของไข่พยาธิ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธินี้แก่ประชาชนในชุมชนใน ผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิต้องรักษาให้หายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพยาธิ
ข้อมูลจาก ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Advertisement
|
เปิดอ่าน 12,682 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,641 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,943 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,277 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,279 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,418 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,979 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,731 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,291 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,274 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,716 ครั้ง |
เปิดอ่าน 85,176 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,932 ครั้ง |
เปิดอ่าน 43,796 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 19,698 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 41,912 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 1,372 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 63,982 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,794 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 29,584 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 35,847 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 23,083 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,649 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 9,882 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 19,125 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,758 ครั้ง |
|
|