ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
บทความการศึกษา 18 พ.ย. 2559 เปิดอ่าน : 9,535 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
Advertisement

โดย บุญญฤทธิ์ บัวขำ

นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ถือเป็นประเทศอันดับ 3 ของโลก ที่มีลูกเสือ กาลเวลาผ่านไป 105 ปี กิจการลูกเสือทั่วโลกเจริญก้าวหน้าไปมากมายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

สำหรับประเทศไทย ปริมาณลูกเสือเจริญก้าวหน้ากว่าชาติใดๆ เพราะตามหลักสูตรของการศึกษาไทยได้บังคับให้นักเรียนชายทุกคนต้องเป็นลูกเสือ

แตกต่างจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบบอาสาสมัคร ทำให้กระบวนการในไทยเริ่มถดถอยลง เพราะกิจกรรมเข้าไปไม่ถึงตัวเด็กอย่างแท้จริง แต่กลับไปถึงบุคลากรทางลูกเสือมากกว่า

โดยเฉพาะวิชาลูกเสือที่เป็นทักษะพิเศษที่น่าสนใจกลับไม่นำมาเปิดสอน เช่น วิชาช่วยเหลือคนตกน้ำ หรือการเดินทางไกลก็เริ่มลดเหลือน้อยลง

กระทั่ง ดร.จารึก อะยะวงศ์ ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดพุทธบูชา ผู้สนใจในกิจการลูกเสือไทยมาร่วม 40 ปี ได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวันมาแล้วหลายฉบับ หนึ่งในนั้นคือฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2559 หลังการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ซึ่ง ดร.จารึก ต้องการให้มีการปฏิรูปลูกเสืออย่างจริงจัง เพื่อให้การศึกษาไทยก้าวหน้าอย่างแท้จริง

ดร.จารึก เผยว่า ปัจจุบันคุณภาพของลูกเสือไทยเริ่มถดถอยลงไปกว่าที่ผ่านมา ทำให้ประชาชน รวมถึงผู้ที่อยู่ในวงการลูกเสือเริ่มพูดถึงกรณีนี้มากขึ้น

ปัญหามาจาก 3 ปัจจัย คือ 1.เป็นระบบราชการ 2.เป็นหลักสูตรบังคับให้ทุกคนต้องเป็นลูกเสือ และ 3.กระบวนการฝึกอบรมไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551 มาตราที่ 4 ซึ่งระบุว่าให้เด็กและเยาวชน ทั้งชายและหญิงอาสาสมัครเข้ามาเป็นลูกเสือและเนตรนารี ไม่ใช่เป็นระบบหลักสูตร

อีกทั้งยังไม่ตรงกับหลักการของขบวนการลูกเสือสากลตามที่ "ลอร์ด เบเดน โพเอลล์" ผู้ให้กำเนิดกิจการลูกเสือชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า

"การลูกเสือมิใช่เรื่องวิชาการที่พึงศึกษาอย่างคร่ำเคร่ง อีกทั้งไม่ใช่การประมวลของลัทธิคำสั่งสอนและตำรับตำราทั้งหลาย หากแต่เป็นเกมการละเล่นสนุกสนานกลางแจ้ง เป็นสถานที่ที่ผู้ใหญ่กับเด็กสามารถออกไปผจญภัยร่วมกัน ดุจพี่น้องทั้งวัยสูงกว่าและอ่อนกว่า อันนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยและความสุขสำราญ ความชำนาญด้วยฝีไม้ลายมือและการช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน นี่คืออุดมการณ์ลูกเสือที่เกิดขึ้นมา"

เมื่อผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สอบถามผู้เรียนหลายคน ส่วนใหญ่ต่างให้ความเห็นว่า "ลูกเสือ-เนตรนารี" เป็นวิชาที่ดี เพราะช่วยให้มีระเบียบวินัย และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้อื่น

แต่เรื่องของหลักสูตรและระบบการเรียนการสอน ยังไม่ถูกใจบรรดาลูกเสือ-เนตรนารีรุ่นเยาว์มากนัก จนทำให้พวกเขาและเธอรู้สึกไม่อยากเรียนวิชานี้

นายดวง บุญจันทร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จากโรงเรียนมักกะสันพิทยา ให้ความเห็นว่า รู้สึกเบื่อที่ต้องมาเรียนแบบซ้ำๆ เดิมๆ และต้องมานั่งฟังครูผู้สอนวิชาลูกเสือบ่น

"อยากให้ครูเขาชวนกันร้องเพลง เต้น เหมือนเวลาไปเข้าค่าย ทุกวันนี้การผูกเงื่อนที่ครูสอนก็จำไม่ได้แล้ว เพราะไม่ได้นำไปใช้เลย ได้ใช้เพียงแค่ระหว่างเข้าค่ายเท่านั้น" นายดวง กล่าว

นางสาวชลธิชา จิตรภักดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนมักกะสันพิทยา ให้ความเห็นคล้ายกับนายดวง โดยระบุว่า อยากให้เปลี่ยนหลักสูตรการสอนวิชาลูกเสือ เป็นการพาผู้เรียนออกไปเรียนรู้นอกสถานที่บ้าง

"เขาน่าจะเอาเวลาที่อบรม มาสอนให้เราสามารถมีวิธีการเรียนรู้ชีวิตประจำวันได้ดีกว่านี้อะค่ะ ก็อย่างเช่น ถ้าทุกอาทิตย์มันจะมี (วิชาลูกเสือ-เนตรนารี) อาทิตย์ละคาบ ก็อยากให้เปลี่ยนเป็น (เรียน) ทั้งวันเลย ออกไปข้างนอกบ้าง หรือว่าอยู่ในโรงเรียนก็ได้ แล้วก็เอาหลักสูตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ มาสอนให้มากกว่านี้" นางสาวชลธิชา กล่าว

เช่นเดียวกับครูผู้สอน อย่าง นายสรากร บุญกิจเจริญ ครูสอนวิชาลูกเสือโรงเรียนมักกะสันพิทยา ซึ่งให้ความเห็นว่า ควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรลูกเสือ เพราะคิดว่ายังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกหลายวิชาแต่ไม่ได้นำมาสอน เนื่องจากต้องสอนตามหลักสูตร นอกจากนี้ ระบบบังคับเรียนยังสร้างปัญหาเรื่องจำนวนครูผู้สอนที่อาจมีไม่เพียงพออีกด้วย

"มันเป็นวิชาที่นักเรียนจะต้องเรียน แล้วบังคับที่จะต้องผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็คือไม่จบ ตัวหลักสูตรอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้าง เพื่อให้มันเหมาะกับสภาพปัจจุบัน ควรเสริมพวกวิชาพิเศษเกี่ยวกับทักษะชีวิตที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงๆ มากกว่านี้" ผู้สอนวิชาลูกเสือ กล่าว

เมื่อนำความเห็นจากของผู้เรียนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี และอาจารย์ผู้สอน ไปนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เผยว่า การนำวิชาลูกเสือบรรจุเข้าไปในหลักสูตรโรงเรียนนั้น เริ่มต้นเมื่อปี 2516 เพราะกระทรวงศึกษาธิการมองว่าเป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อเด็ก

แต่เมื่อเวลาผ่านไป ยุคสมัยเปลี่ยน ก็ต้องยอมรับว่าหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับยุคสมัย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเชิงอนุรักษนิยม ไม่สอดคล้องกับประชาคมลูกเสือ ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งลูกเสือเหมือนสมัยก่อน

"เด็กไม่ได้อยากเป็นลูกเสือเพราะเห็นภาพของการบำเพ็ญประโยชน์ เด็กเป็นลูกเสือเพราะโรงเรียนบอกให้ทำ บอกให้เรียน คนทั่วไปมองลูกเสือว่าเอ๊ะลูกเสือไปทำอะไรกัน ไปร้องรำทำเพลงกันหรือเปล่า คนไม่ได้เห็นลูกเสือทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ นี่คือคำถามที่คนถามกับลูกเสือ" เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าว

ดร.ชัยยศ เผยต่อว่า ที่ผ่านมาไม่มีคนเข้าไปดูแลประเด็นนี้อย่างจริงจัง จึงทำให้เกิดด้านมืดภายในวงการลูกเสือขึ้นมา โดยมีบางคนแสวงหาประโยชน์จากลูกเสืออย่างที่ไม่ควรจะทำ

จากการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตในการจัดอบรมครูผู้สอนวิชาลูกเสือ (เพื่อให้เพียงพอต่อการสอนวิชาบังคับตามหลักสูตร) จริง เพราะไม่ได้รับการอนุมัติ และไม่มีการแต่งตั้งผู้ตรวจการประเมิน

เนื่องจากการจัดการฝึกอบรมลูกเสือต้องได้รับการอนุมัติและมีการแต่งตั้งผู้ตรวจการประเมินจากเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติก่อน อีกทั้งยังตรวจพบว่ามีการจัดเก็บค่าฝึกอบรมลูกเสือเกินความจำเป็น

"คือแรกๆ อาจจะไม่ตั้งใจ แต่เอ๊ะพอทำได้ก็ไม่มีใครว่า ไม่มีใครจับได้ ค่อนข้างจะเกรงใจกัน ก็เลยทำเสียจนเป็นเรื่องปกติ เขาก็อ้างว่าเป็นค่าอาหาร ก็โอเคไม่ว่าอะไร แต่ว่ามันไม่ควรจะมาก บางรายเล่าให้ฟังว่าเสียไปเป็นคนละหมื่น หมื่นกว่า ครูจะเอาเงินจากไหน ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินมา ทั้งๆ ที่เรื่องของลูกเสือเป็นการเสียสละ การดูแลซึ่งกันและกัน" เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าว

สำหรับการตรวจพบการทุจริตในวงการลูกเสือครั้งนี้ ดร.ชัยยศ เผยว่า กำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งหนึ่ง หากพบว่ามีความผิดจริง ผู้ทำผิดจะต้องรับโทษตามกฎหมาย

ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการเริ่มดำเนินการปฏิรูปงานลูกเสือแล้ว โดยจะปรับโครงสร้างสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ รื้อหลักสูตรอบรมลูกเสือทุกรุ่นที่ใช้มานานกว่า 20 ปีเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

โดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เพิ่งเซ็นคำสั่งแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จำนวน 15 คน หลังจากกรรมการชุดเดิมหมดวาระลงเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

การแต่งตั้งครั้งนี้ก็เพื่อให้คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติสามารถดำเนินการขับเคลื่อนงานลูกเสือ ตามนโยบายของ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้

สำหรับหลักสูตรลูกเสือใหม่ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงนั้นใช้ชื่อว่า "หลักสูตรทักษะชีวิต" โดยได้รับความร่วมมือจาก สสส. และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ในการจัดทำ เพื่อพัฒนาให้วงการลูกเสือไทยก้าวหน้ายิ่งขึ้น

หลักสูตรใหม่จะเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตครบถ้วนตามหลักสูตร พ.ศ.2510 คือ 1.การดูแลตัวเอง 2.การดูแลสุขภาพอนามัย 3.เสริมทักษะพิเศษ และ 4.การช่วยเหลือผู้อื่น

ขณะนี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ส่งมอบหลักสูตรลูกเสือใหม่ไปยังทุกโรงเรียนในสังกัดแล้ว โดยสามารถดาวน์โหลดหลักสูตรจากเว็บไซต์หน่วยงานการศึกษาของรัฐบาล คาดว่าจะปรับใช้ทั่วประเทศภายในปี 2560

ท้ายสุด ดร.ชัยยศ ยังเผยด้วยว่า ในปี 2560 จะเตรียมทำประชาพิจารณ์เปลี่ยนชุดลูกเสือที่ใช้มานานถึง 105 ปี เพื่อให้ผู้เรียนเลือกสิ่งที่ตัวเองชอบที่สุด

เนื่องจากชุดลูกเสือมีหลากหลายรูปแบบ หากนำมาปรับใช้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผลของการประชาพิจารณ์จะออกมาในรูปแบบใด? เพราะต้องสำรวจความเห็นของเด็กนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง

 

ขอบคุณที่มาจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559

 


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปฏิรูปผู้บริหารสถานศึกษาก่อน ผลจะย้อนมาถึงคุณภาพครู

ปฏิรูปผู้บริหารสถานศึกษาก่อน ผลจะย้อนมาถึงคุณภาพครู
เปิดอ่าน 8,345 ครั้ง
ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี

ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี
เปิดอ่าน 19,189 ครั้ง
ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ

ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
เปิดอ่าน 18,566 ครั้ง
ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!

ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!
เปิดอ่าน 10,179 ครั้ง
7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน
เปิดอ่าน 9,437 ครั้ง
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0

ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
เปิดอ่าน 73,838 ครั้ง
ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น

ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 10,240 ครั้ง
การศึกษา สู่สนามแข่งขันเวทีอาเซียน ให้จับตาเวียดนาม

การศึกษา สู่สนามแข่งขันเวทีอาเซียน ให้จับตาเวียดนาม
เปิดอ่าน 9,838 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
เปิดอ่าน 8,337 ครั้ง
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
เปิดอ่าน 14,510 ครั้ง
4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน

4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน
เปิดอ่าน 9,284 ครั้ง
ศธ.ให้ความสำคัญครูคนแรกดึงพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งวันครู

ศธ.ให้ความสำคัญครูคนแรกดึงพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งวันครู
เปิดอ่าน 8,151 ครั้ง
ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : จับตามองครูในศตวรรษที่ 21 "ครูหัวใจสะเต็ม"

ตามไปดูการศึกษานอกหลักสูตร : จับตามองครูในศตวรรษที่ 21 "ครูหัวใจสะเต็ม"
เปิดอ่าน 19,302 ครั้ง
กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย

กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 9,068 ครั้ง
มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)

มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
เปิดอ่าน 9,452 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
เปิดอ่าน 10,719 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59
เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59
เปิดอ่าน 14,886 ☕ คลิกอ่านเลย

"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป
คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป
เปิดอ่าน 8,829 ☕ คลิกอ่านเลย

ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน
ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน
เปิดอ่าน 12,002 ☕ คลิกอ่านเลย

Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
เปิดอ่าน 25,678 ☕ คลิกอ่านเลย

Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
เปิดอ่าน 8,485 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"มิเชล โอบามา" สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอเมริกา มีวันนี้ได้เพราะความเสียสละของแม่
"มิเชล โอบามา" สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอเมริกา มีวันนี้ได้เพราะความเสียสละของแม่
เปิดอ่าน 9,253 ครั้ง

ถามหาการศึกษา4.0 จะเริ่มต้นเมื่อใด?
ถามหาการศึกษา4.0 จะเริ่มต้นเมื่อใด?
เปิดอ่าน 10,242 ครั้ง

ดนตรีไทย
ดนตรีไทย
เปิดอ่าน 153,707 ครั้ง

สีบนจอภาพคอมพิวเตอร์
สีบนจอภาพคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 12,426 ครั้ง

เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เปิดอ่าน 14,631 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ