ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิทินศิลปวัฒนธรรมในรอบปี 2552


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 13,156 ครั้ง
ปฏิทินศิลปวัฒนธรรมในรอบปี 2552

Advertisement

ปฏิทินวัฒนธรรม

เนติ โชติช่วงนิธิ

 

วันศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม บุคคล

ล่วงเข้าปีใหม่สากล พุทธศักราช 2552 อย่างเต็มตัว หลายคนมีช่วงวันหยุดสังสรรค์เฮฮาปาร์ตี้ตามประสาของสังคมนั้นๆ ต่อเนื่องไปอีกสองวัน ก่อนจะเริ่มงานวันจันทร์ที่ 5 มกราคม

ไหนๆ ก็พูดถึงวันหยุดกันแล้ว ก็เลยมีเกร็ดเล็กน้อยมาฟากท่านผู้อ่าน ว่าเมืองไทยเรานี้มีวันหยุดกับชาวบ้านชาวเมืองอื่นๆ กี่มากน้อยเท่าใด ลองมานั่งนับคำนวณกันเล่นๆ ดู ปีหนึ่งมี 365 วัน หรือ 366 วัน สุดแต่ว่าเดือนกุมภาพันธ์ในปีนั้นจะมี 28 หรือ 29 วัน

ถ้าหากนับวันหยุดตามปกติของราชการ คือเสาร์-อาทิตย์ ปีหนึ่งจะมีวันหยุดไม่ต่ำ 104 วัน ในเดือนหนึ่งๆ มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 8-10 วันต่อเดือน ขึ้นอยู่กับเดือนนั้นมี 28 วัน 29 วันอย่างเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนนั้นลงท้ายด้วย ยน 30 วัน และ คม 31 วัน

แล้วหันมาดูวันหยุดสำคัญๆ วันนักขัตฤกษ์ทางพุทธศาสนาและประเพณี วันบุคคลสำคัญ วันทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ ในปีหนึ่งมีวันหยุดประมาณ 17 วัน

หากวันหยุดสำคัญวันนั้นตรงกับวันหยุดทางราชการ ก็ต้องชดเชยเพิ่มอีก 1 วัน อันนอกเหนือปีใดที่มีพระราชพิธีสำคัญๆ จะต้องมีวันหยุดเพิ่มขึ้น ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นพิเศษขึ้นมา เมื่อคิดโดยรวมหยุดปกติกับวัน หยุดสำคัญแล้วมีวันหยุดในปีหนึ่งๆ 111 วันประมาณนั้น

เหลือวันให้ราชการทำงานในปีหนึ่งแค่ 254 วัน หรือ 255 วัน ส่วนภาคเอกชนนั้นบวกวันเสาร์เข้าไปของแต่ละเดือนก็จะทำงานในปีหนึ่งๆ 306 วัน หรือ 307 วันเป็นประมาณนั้น ทั้งนี้ไม่รวมวันพักร้อน 7-10 วัน

วันหยุดในเมืองไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่ามีวันหยุดมากแห่งหนึ่งในนานาประเทศของโลกก็ว่าได้!!

 ที่นี้มาดูกันว่าวันสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับทางศาสนาและประเพณีของไทยมีอะไรบ้าง นอกเหนือไปจากวันหยุดราชการ ซึ่งจะทำให้ประชาชนและเยาวชนได้รู้จักวันสำคัญต่างๆ ทั้งที่เป็นวันหยุดและไม่หยุดไปในตัวด้วย ตรงนี้ขอเรียกว่า ปฏิทินศิลปวัฒนธรรม

เริ่มที่ เดือนมกราคม 1 มกราฯ วันขึ้นปีใหม่ วันเริ่มต้นศักราชใหม่ตามสากลนิยม

วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราฯ วันเด็กแห่งชาติ เริ่มจัดครั้งแรกในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม ในปี พ .ศ. 2498 ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นเสาร์ที่สองของเดือนมกราฯ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ความคิดในการจัดงานวันเด็ก ก็เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตน และส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กด้วย

วันที่ 16 วันครู จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราฯ พ.ศ. 2500 เพื่อระลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะ ผู้เสียสละและประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติ

วันที่ 18 วันกองทัพไทย เป็นวันระลึกถึงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี 

กุมภาพันธ์ วันที่ 24 วันศิลปินแห่งชาติ ประกาศยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูที่ได้รับการคัด เลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็น " ศิลปินแห่งชาติ " โดยยึดถือเอาวันพระราชสมภพของรัช กาลที่ 2 ผู้ทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญศิลปะทุกแขนงอย่างกว้างขวางลึกซึ้งเป็นวันศิลปินแห่งชาติ

มีนาคม วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้จำนวน 1, 250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ในวันนี้เรียกชื่ออีกอย่าง "วันจาตุรงคสันนิบาต"

วันที่ 31 วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมือง ทั้งในด้านศาสนาและการค้าต่อบ้านเมือง คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำ หนดให้วันนี้เป็น วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

เมษายน วันที่ 2 วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และผู้ทรงเป็นแบบอย่างในด้านอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในสาขาต่างๆ รัฐบาลมีมติให้วันนี้เป็นวัน "อนุรักษ์มรดกไทย" ทรงได้รับถวายพระสมัญญา เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย และ วิศิษฏ ศิลปิน อันหมายถึงผู้เป็นเลิศทางศิลปะ ทรงเป็นเมธีทางวัฒนธรรม ทรงมีคุณูปการต่องานศิลปวัฒนธรรม

วันที่ 6 วันจักรี วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

วันที่ 13 วันปีใหม่แบบไทย หมายถึงวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีใหม่

วันที่ 14 วันสงกรานต์ คือราศีเมษ อันถือเป็นราศีเริ่มต้นปีใหม่ หรือวันเนา

วันที่ 15 เรียกวันมหาสงกรานต์ วันเถลิงศก คือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ และเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไปในตัว

วันที่ 28 วันนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการช่างของไทย

พฤษภาคม วันที่ 1 วันแรงงานแห่งชาติ

วันที่ 5 วันฉัตรมงคล วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จขึ้นครองราชย์

วันที่ 10 วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณ เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกรของชาติ

วันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระ พุทธเจ้า และวันนี้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

มิถุนายน วันที่ 26 วันคล้ายวันเกิดพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่ ) กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก

กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก และพระพุทธเจ้าได้แสดงปฐมเทศนา คือธรรมจักกัปปวัตนสูตร ทำให้มีผู้เปรียบวันนี้ว่าเป็น วันพระสงฆ์

วันที่ 29 วันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2505 รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2542

วันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี วันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอธิษฐาน จำพรรษาอยู่กับที่ไม่เที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือน จึงมีประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน แห่และถวายเทียนพรรษา

วันที่ 18 วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สิงหาคม วันที่ 7 วันรพี วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรก

ฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"

วันที่ 12 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 18 วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อันเป็นปรากฏการณ์ที่รัชกาลที่ 4 ทรง คำนวณทำนายไว้ก่อนอย่างแม่นยำว่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้าถึง 2 ปี และได้เสด็จไปทอดพระเนตร ต. หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันดังกล่าว เมื่อปี พ. ศ. 2411

กันยายน วันที่ 19 วันพิพิธภัณฑ์ไทย เป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด "พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับประชาชน" เป็นครั้งแรกเมื่อ 19 ก.ย. 2417 ณ ศาลาสหทัยสมาคมหรือ "หอคองคอเดีย" ในพระบรมมหาราชวัง

วันที่ 15 วันศิลป์ พีระศรี ผู้จุดประกายวงการศิลปะร่วมสมัยในไทย ทั้งสร้างงานประติมากรรมบุคคลสำคัญไว้มากมาย  

วันที่ 20 วันเยาวชนแห่งชาติ โดยถือว่าเป็นวันสิริมงคล เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึง 2 พระองค์ ที่ทรงครองราชสมบัติ ขณะยังทรงพระเยาว์ คือรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 8

วันที่ 24 วันมหิดล วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีคุณุปการต่อวงการแพทย์สมัยใหม่ของไทย

ตุลาคม วันสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เทศกาลทำบุญเดือน10 ของไทย

วันที่ 23 วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 คือวันที่พระภิกษุสงฆ์พ้นข้อกำหนดทางวินัย ที่จะอยู่จำพรรษาและสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

วันตักบาตรเทโวโรหนะ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หมายถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษา เพื่อโปรดพระพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และมาประทับอยู่เมืองสังกัสสะ ประชาชนไปเฝ้าทำบุญตักบาตรกันอย่างเนืองแน่น พุทธศาสนิกชนจึงนิยมตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้

เทศกาลกฐิน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นช่วงเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ

พฤศจิกายน วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ หรือเพื่อขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์

วันที่ 25 วันวชิราวุธ วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  

ธันวาคม วันที่ 1 วันดำรงราชานุภาพ วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณของพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง

วันที่ 5 วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ และ "วันชาติ"

วันที่ 10 วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ให้แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2475

วันที่ 16 วันกีฬาแห่งชาติ วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค. ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2510

วันที่ 28 วันตากสินมหาราช วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า "พระเจ้าตากสิน"

วันที่ 31 วันสิ้นปีศักราช

ที่มา สยามรัฐ วันที่ 3 มกราคม 2552


ปฏิทินศิลปวัฒนธรรมในรอบปี 2552ปฏิทินศิลปวัฒนธรรมในรอบปี2552

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เติมน้ำมันให้คุ้มที่สุด

เติมน้ำมันให้คุ้มที่สุด


เปิดอ่าน 9,888 ครั้ง
8 วิธี ฟื้นฟูจิตใจ

8 วิธี ฟื้นฟูจิตใจ


เปิดอ่าน 15,755 ครั้ง
5 พฤติกรรมทำร้ายดวงตา

5 พฤติกรรมทำร้ายดวงตา


เปิดอ่าน 11,481 ครั้ง
ผักสีสดช่วยคุณฟิตได้

ผักสีสดช่วยคุณฟิตได้


เปิดอ่าน 12,277 ครั้ง
ข่า...ยาดีคู่ครัวไทย

ข่า...ยาดีคู่ครัวไทย


เปิดอ่าน 13,563 ครั้ง
10 อันดับ ปริศนาของโลก

10 อันดับ ปริศนาของโลก


เปิดอ่าน 18,326 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

10 วิธีการเป็นพ่อแม่ที่สุดยอด

10 วิธีการเป็นพ่อแม่ที่สุดยอด

เปิดอ่าน 15,070 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แค่กินอาหารด้วยตะเกียบ ก็ลดน้ำหนักได้ผลชะงัด !
แค่กินอาหารด้วยตะเกียบ ก็ลดน้ำหนักได้ผลชะงัด !
เปิดอ่าน 12,233 ☕ คลิกอ่านเลย

10 วิธีดูแลมือ เท้า และเล็บ
10 วิธีดูแลมือ เท้า และเล็บ
เปิดอ่าน 14,568 ☕ คลิกอ่านเลย

ความต่างของ 3จี กับ 3.9จี
ความต่างของ 3จี กับ 3.9จี
เปิดอ่าน 11,440 ☕ คลิกอ่านเลย

ส่ง"เอสเอ็มเอส"บ่อยไม่ดี
ส่ง"เอสเอ็มเอส"บ่อยไม่ดี
เปิดอ่าน 8,827 ☕ คลิกอ่านเลย

นมวัว กับ นมถั่วเหลือง.. นมไหนดีกว่ากัน
นมวัว กับ นมถั่วเหลือง.. นมไหนดีกว่ากัน
เปิดอ่าน 26,988 ☕ คลิกอ่านเลย

ตะลึง!!! 90% ของอีเมล์เป็น "สแปม"
ตะลึง!!! 90% ของอีเมล์เป็น "สแปม"
เปิดอ่าน 9,178 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
เปิดอ่าน 10,032 ครั้ง

"โตเกียว" ค่าครองชีพแพงสุดในเอเชีย
"โตเกียว" ค่าครองชีพแพงสุดในเอเชีย
เปิดอ่าน 10,122 ครั้ง

คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 สพฐ.
คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 สพฐ.
เปิดอ่าน 35,262 ครั้ง

รู้ไว้ใช่เสียหาย "กัญชง" ต่างจาก "กัญชา" อย่างไร?
รู้ไว้ใช่เสียหาย "กัญชง" ต่างจาก "กัญชา" อย่างไร?
เปิดอ่าน 19,979 ครั้ง

สะเทือนอารมณ์...พ่อร้องเพลงกล่อมลูก ก่อนเด็กน้อยลาโลกตามแม่
สะเทือนอารมณ์...พ่อร้องเพลงกล่อมลูก ก่อนเด็กน้อยลาโลกตามแม่
เปิดอ่าน 27,090 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ